วิเคราะห์แนวคิดการสร้างวัดของกลุ่มชาติพันธ์ไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาการสร้างวัดของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดการสร้างวัดในพระพุทธศาสนา คือ สร้างวัดเพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยอยู่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและเป็นศูนย์กลางการศึกษา แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณี กับทั้งเป็นศูนย์กลางหรือสถานที่อบรมศีลธรรม จริยธรรม พัฒนาทางด้านจิตใจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน สำหรับการสร้างวัดของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ชาวไทใหญ่ในอดีตตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 เกิดการแบ่งเขตแดนในช่วงล่าอาณานิคมโดยชาวตะวันตก ทำให้ผู้คนอพยพกระจัดกระจายไปหลายประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทย มีการอพยพและการเคลื่อนย้ายของกลุ่มไทใหญ่เข้าสู่หลายจังหวัด รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากทำให้ชาวไทใหญ่สร้างวัดขึ้นในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่นั้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมชาวไทใหญ่และประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา วัดของไทใหญ่นั้นยังคงอัตลักษณ์และศิลปกรรมที่เป็นรูปแบบของชนชาติพันธุ์ได้อย่างชัดเจน
บรรณานุกรม
โชคนิธินันต์ คุณยศยิ่ง. (2557). “องค์ความรู้ ของการจัดการปอยส่างลองวัดป่าเป้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทวี สว่างปัญญางกูล. (2529). ตำนานเมืองเชียงตุง ปริวรรตจากต้นฉบับอักษรไทยเขิน. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
ธรรศ ศรีรัตนบัลล์. (2560). “ตำแหน่งทางศาสนา : การสร้างความหมายใหม่ในสังคมไทใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน”. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นฤมล ตุงคะโหตร. (2547). “การตั้งชื่อวัดในพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร”. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เนาวรักษ์ แสนสุพรรณ. (2545). “บทบาทของวัดต่อชุมชนในปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณิดา ขันธพัทธ์. (2557). “อัตลักษณ์กับการปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อของชาว ไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ จำกัด.
วิถี พานิชพันธ์. (2548). วิถีล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สมโชติ อ๋องสกุล. (2552). ชุมชนวัดป่าเป้า. จัดพิมพ์ในโอกาส 60 ปี พระอินดา อินทวีโร เจ้าอาวาสวัดป่าเป้า. เชียงใหม่, ม.ป.พ.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2545). ประวัติศาสตร์ไทใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2552). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
สุทัศน์ กันทมา. (2542). “การคงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทใหญ่”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนว มานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานนท์ อาภาภิรมย์. (2521). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: บำรุงนุกูลกิจการพิมพ์.