พระพุทธบาท 4 รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ : อิทธิพลต่อพระพุทธศาสนาในล้านนา
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิจัย มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวรอยพระพุทธบาทในล้านนา และ 2. เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของรอยพระพุทธบาท 4 รอยที่มีต่อชาวล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า
ชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวรอยพระพุทธบาทเพราะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศศรีลังกา โดยมีความเชื่อโยงกับรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมณากูฏ และมีความเชื่อว่ารอยพระพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ผู้ที่เคารพสักการะรอยพระพุทธบาทเสมือนได้สักการะพระพุทธเจ้าโดยตรง รอยพระพุทธบาทในล้านนามีทั้งหมด 136 แห่ง แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือรอยพระพุทธบาทที่วัดพระบาท 4 รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าจำนวน 4 พระองค์ ที่ประทับซ้อนกันจากรอยใหญ่ไปหารอยเล็ก ความเชื่อและความเคารพต่อพระพุทธบาท 4 รอยทำให้เกิดประเพณีสักการะรอยพระพุทธบาทในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี และก่อให้เกิดอิทธิพลต่อชุมชน จำแนกได้ 3 ประการ คือ อิทธิพลด้านประเพณี ด้านศิลปกรรม และด้านเศรษฐกิจ
บรรณานุกรม
จวน คงแก้ว. (2559). “วิเคราะห์พุทธบาทลักษณะที่สัมพันธ์กับหลักพุทธธรรม”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธนพร แตงขาว. (2548). “การศึกษาวิถีชีวิตและความเชื่อของชาวล้านนาจากจารึกล้านนา”. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ: กระทรวงวัฒนธรรม.
นราธิป ทับทันและชินศักดิ์ ตัณฑิกุล. (2560). “ปริทัศน์การศึกษาว่าด้วยชาติพันธ์ไทยวน”, วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 34 (2) : 245-272.
นันทนา ชุติวงศ์. (2533). รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
พระศรีธรรมโสภณ บรรณาธิการ. (2557). ตำนานมูลศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุลมหาเถระ พ.ป., น.ธ.เอก) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร 23 มีนาคม 2557. เชียงใหม่: หสม.ณัฐพลการพิมพ์.
พระศรีปริยัติเวที (ลำไย สุวฑฺฒโน). (2552). “ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อในรอยพระพุทธบาทของคนไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่งชัย วิริยะบัณฑิตกุล บรรณาธิการ. (ม.ป.ป.). พระพุทธบาท 4 รอย พระธาตุเจ้าดอยเกิ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: กองทุนดอกบัวกลางน้ำ.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2554). ความคิดล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2511). ตำนานพระพุทธบาท อธิบายเรื่องพระบาท นิราศพระบาท และลิลิตทศพร. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ.
. (ม.ป.ป.). ตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก. เชียงใหม่: สมพรการพิมพ์.
โสภณ จาเลิศ. (2559). “การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธล้านนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อำพล คมขำ. (2548). “แนวคิดที่เหมือนคล้ายและแตกต่างของรอยพระพุทธบาทในงานจิตรกรรมฝาผนังกับงานประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.