การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตามหลักพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตามหลักพระพุทธศาสนา และ 2. เพื่อศึกษาการใช้หลักอริยสัจในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตามหลักพระพุทธศาสนา เน้นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ออกระหว่างน้ำและการจัดการป่าไม้ เป้าหมายหลักของการอนุรักษ์น้ำตามหลักพระพุทธศาสนา คือ แก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรน้ำและปัญหาการอนุรักษ์น้ำ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์น้ำ เพื่อป้องกันปัญหาการทำลายทรัพยากรน้ำ และเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำให้คงอยู่ต่อไป การนำหลักอริยสัจ 4 มาเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ คือ การระบุปัญหาของน้ำ การกำหนดสาเหตุของปัญหาแหล่งน้ำ การสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้ยั่งยืน
บรรณานุกรม
นิติกรณ์ วงค์ชัย. (2553). “การจัดการน้ำของระบบเหมืองฝายท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิวัติ เรืองพานิช. (2547). หลักการจัดการลุ่มน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). คนไทยกับป่า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหกรรมิก.
พระมหาเจิม สุวโจ (สุกรรณ์). (2543). “บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ศึกษาเฉพาะกรณีพระอธิการพงษ์ศักดิ์ เตชธมฺโม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีระวุฒิ ธีรธมฺโม. (2543). “บทบาทของพระสงฆ์ สื่อบุคคลในการชี้นำและปลูกจิตสำนึกประชาชนบทเพื่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณีพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระหล้า ก๋าคำ. (2547). “บทบาทของพระสงฆ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. (2550). หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.
อำนาจ เจริญศิลป์. (2543). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.