แนวทางการบริหารจัดการวัดร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการวัดร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า วัดร้างเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การย้ายถิ่นที่ทำกินของชาวบ้าน การไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา การย้ายสถานที่ตั้งวัดเป็นต้น จังหวัดแม่ฮ่องสอนถูกจัดเป็นพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จึงยากต่อการขอระบบอุปโภคขั้นพื้นฐาน การดำเนินการออกเอกสิทธิ์ในที่ดินของวัดทำให้มีวัดร้างเป็นจำนวนมาก การบริหารจัดการวัดร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน มีการดำเนินการตามแนวทางที่มหาเถรสมาคมและตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกำหนด คือ มีการดำเนินการขอเอกสารสิทธิ์เพื่อให้สามารถดำเนินการขอบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างและยกวัดร้างเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาต่อไป แนวทางการบริหารจัดการวัดร้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ การจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด ระดับอำเภอและท้องที่ เพื่อดูแลและบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างให้เป็นวัดมีพระสงฆ์ หรือเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาวบ้านในพื้นที่ สร้างความเข้าใจที่ตรงกันและร่วมกันดูแลพัฒนาวัดร้าง
บรรณานุกรม
ธนัญชัย ศักดิ์เกียรติกำธร และ ธนภูมิ สุวรรณวีณากุล”. (2566). บริหารจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟู “วัดร้าง”เพื่อการพัฒนาเมือง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://webportal. bangkok.go.th/upload/user/00000305/internship/3.pdf [๘ กันยายน ๒๕๖๖].
พระครูปลัดคำรณ แก้วเกลี้ยง และคณะ. (2565). “การจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9 (6) : ๒๓๙-๒๕๓.
พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์. (2559). “พุทธวิธีพัฒนาวัดร้างในประเทศไทยให้เป็นวัดที่รุ่งเรือง”,วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 1 (2) : ๙-๑๙
วรวิทย์ วศินสรากร. (2566). วัด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ejournals.swu.ac.th/index. php/ENEDU/article/download/6296/5915/19801 [๘ กันยายน ๒๕๖๖].
สุรชัย จงจิตงาม. (2564). “วัดในสมัยพุทธกาล”, วารสารปณิธาน, 17 (1) : 1-24.