การปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวทางพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา เป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษาดำเนินการทางศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสมเหตุสมผล การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวความคิดที่ต้องการนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการให้เข้ากับระบบการศึกษาของไทย เพื่อต้องการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะที่สมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ความประพฤติ และคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลในการดำเนินชีวิต การพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพุทธให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนานโยบาย จนเกิดเป็นนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชนนั้นเป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ มีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข มีคุณสมบัติพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหา และมีส่วนร่วมสร้างสรรค์พัฒนาสังคมไทยให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บรรณานุกรม
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2541). แง่คิดข้อสังเกต เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ. (2546). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากับการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน (บุดดาวงษ์). (2557). “การวิเคราะห์แนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิญโญ สาธร. (2525). ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มส.การพิมพ์.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2524). “การศึกษากับการพัฒนา” ในพัฒนาการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักดา ปรางค์ประทานพร. (2526). ปรัชญาการศึกษา ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ และคณะ. (2555). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม.ที.เพรส.
สาโรจ บัวศรี. “ปรัชญาการศึกษาในประเทศไทย” ในจุดยืนและทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ., 2518.
สุมิตร คุณานุกร. หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์, 2523.
Etymonline.com. Educate. Online. Retrieved on 2011-10-21.
Christopher J. Lucas. (1970). What is Philosophy of Education. New York: The Mc Millan Company.
_________. (1970). “Some Second Thoughts about Metaphysics in Educational Theory”. Educational Theory. Volume 20. Issue 2 April.
Dewey, J. (1944). Democracy and education: An introduction to the philosophy of education. New York, NY: The Free Press.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
George F. Kneller. (1971). An Introduction to the Philosophy of Education, New York: John Willey and Sons Inc.
James E. McClellan. (1976). “The Roots of Reference”. Educational Theory. Volume 26, Issue 3 July.