แนวทางการพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของการพัฒนาปัญญา และ 2. เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาปัญญาในทางพระพุทธศาสนามีแนวทาง 2 ประการ คือ 1) การพัฒนาปัญญาตามหลักปัญญาวุฒิธรรม เริ่มต้นจากการคบหาบัณฑิตผู้มีความรู้ มีความเป็นกัลยาณมิตร ฟังพระสัทธรรมของท่าน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แล้วนำมารู้ที่ได้เล่าเรียนมานั้นมาพิจารณาอย่างแยบคาย สิ่งไหนเป็นประโยชน์ สิ่งไหนมิใช่ประโยชน์แล้วนำมาใช้ตามความสมควรแห่งธรรม 2) การพัฒนาปัญญาตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยมีแนวทางคือมรรคอันเป็นทางสายกลางเป็นหนทางให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ด้วยตนเอง อันได้แก่ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ ส่วนอุปสรรคในการพัฒนาปัญญาซึ่งผู้ปฏิบัติควรหลีกเลี่ยงระวังตนไม่ให้ตัวอุปสรรคเกิดขึ้น เพราะจะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้เกิดปัญญา ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ นิวรณ์ และอโยนิโสมนสิการ
บรรณานุกรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). “หัวใจพระพุทธศาสนา”. พุทธจักร. 61 (4) : 10.
พระมหาชัยยุทธ์ กิตฺติญาโณ (คำแก้ว). (2554). “ศึกษาการพัฒนาปัญญาตามวิสุทธิมรรคเพื่อการศึกษาไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). พุทธศาสนาคืออะไร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) และ จำลอง สารพัดนึก. (2538). พจนานุกรม บาลี – ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
บรรจบ บรรณรุจิ. (2549). ปฏิจจสมุปบาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทธิ). (2547). วิปัสสนาญาณโสภณ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด.
จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด เชียงใหม่.
ธรรมวลี ศรีแช่ม. (2553). “การศึกษาปปัญจธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวรวรรธน์ นภภูริสิริ (อัตถาพร). (2554). “การศึกษาวิเคราะห์วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการของตัวละครที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.