วิเคราะห์หลักมรณสติในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษามรณสติในคัมภีร์พระไตรปิฎก และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักมรณสติในพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า มรณสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน ในทัศนะของนักปราชญ์ไทยหมายเอาการระลึกถึงความตายที่ขาดลงของชีวิตบุคคลหนึ่งๆ โดยระลึกเอาความตายนั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ความตายที่ใช้ยึดเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติมรณสติมี 2 ประเภท คือ 1) ความตายตามอายุ และ 2) ความตายด้วยอุบัติเหตุต่างๆ วิธีปฏิบัติมรณสติมีการตั้งสติระลึกถึงความตาย การพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความตาย และการระลึกถึงความตายให้เกิดปัญญา จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติมรณสติ คือ การปฏิบัติด้วยความศรัทธา ด้วยความเพียร ด้วยความอดทนด้วยสติปัญญา มรณสติแต่ละอย่างจะสัมพันธ์กับจริตของบุคคลแตกต่างกันออกไป ส่วนประโยชน์มรณสติ คือ จิตใจเกิดเป็นสมาธิได้เร็ว รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังขาร ตระหนักรู้หลักความจริงในชีวิต รู้จักเตรียมตัวก่อนตาย และการประยุกต์มรณสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ คติเตือนจิตใจไม่ให้ประมาท อุบายระงับกิเลส แนวทางในการเจริญสติ แนวทางที่ยกระดับจิตใจเข้าสู่การปฏิบัติวิปัสสนา
บรรณานุกรม
พระครูโกศลสุตากร (ตรียกูล). (2554). “การศึกษาความเข้าใจและวิธีการปฏิบัติธรรมตามหลักมรณานุสสติของผู้ปฏิบัติธรรม สำนักปฏิบัติธรรม วัดเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2548). พุทธทาสธรรม ( 14 ) ความตาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุภาพใจ.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ กุ๊ดมอร์นิ่ง.
พระณัฐกิตติ อนารโท (ผุยเหง้า). (2551). “ศึกษาหลักมรณสติในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระมหาวันชัย ธมฺมชโย (ช่วงสำโรง). (2548). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความตาย ตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2510). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 2 ตอน 1. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวงค์ ชาญบาลี. (2535). วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: อำนวยสาส์น.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). (2546). วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.
สีวลี ศีริไล. (2545). รวมบทความวิชาการจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะ สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.