การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4

  • พระมหาธนวุฒิ ญาณโสภโณ
คำสำคัญ: การพัฒนาจิต, หลักภาวนา 4, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1.เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 และ 2.เพื่อประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 เป็นวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาจิตด้านกายภาวนาคือ การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ประกอบไปด้วย อิริยาบถปัพพะ สัมปชัญญปัพพะ ธาตุปัพพะ มาตามลำดับ เป็นการมุ่งพิจารณาในกายของตนเองเป็นหลัก การพัฒนาจิตด้านศีลภาวนา เป็นการพัฒนาพฤติกรรมที่มุ่งถึงการฝึกอบรมกาย วาจา ให้เป็นฐานในการพัฒนาจิต การพัฒนาจิตด้านจิตภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิต ข่มอารมณ์ความรู้สึกได้เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์และความรู้สึก สิ่งสำคัญคือมีสติที่พร้อมไปด้วยความไม่ประมาท สมาธิที่จดจ่อต่อการเกิดสภาวะของจิต ความเพียรที่จะต้องหมั่นฝึกพิจารณาเหตุผล การพัฒนาจิตด้วยปัญญาภาวนา สามารถปฏิบัติได้ด้วยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของตนเองให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง
  2. 2. การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาร่างกาย คือ การเข้าใจสภาพร่างกาย การสร้างสุขภาพที่ดีด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารอย่างเหมาะสม รักษาสุขภาพร่างกายให้ปราศจากโรคภัย และการพัฒนาจิตใจให้สัมพันธ์กับร่างกายที่จะช่วยเกิดความมั่นคงทางด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อร่างกาย การพัฒนาพฤติกรรม คือ การรับรู้ผลของพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการพิจารณาเลือกปฏิบัติตน สร้างศรัทธาให้เกิดในการยึดถือหลักปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และการปฏิบัติตาม การพัฒนาจิตใจ คือ ควบคุมสติให้เกิดความมั่นคงเพื่อการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ประมาท หมั่นฝึกสมาธิให้เกิดสภาวะความเข้มแข็งทางจิตใจที่ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ และการคิดอย่างมีเหตุผลตามสภาวะความเป็นจริงที่จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพตามมา การพัฒนาปัญญา คือ การแลกเปลี่ยนที่เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการเกิดปัญญาจากการฟัง การคิดพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ

บรรณานุกรม

ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

พ.ศ.255-2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พุทธทาสภิกขุ. (2544). ธรรมทัศน์ของพุทธทาสอยู่อย่างพุทธ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

ประเวศ วะสี. (2544). การพัฒนาขบวนการเรียนรู้แบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิรมย์ สีดาคำ. (2550). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-26