ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปาในจังหวัดลำปาง

  • พระครูโสภณวีรบัณฑิต ภูริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสะเปา และ 2) ศึกษา วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ผลการศึกษาพบว่า

  1. พิธีกรรมถวายสะเปามีความหมายและความเชื่อของชาวลำปางว่า เป็นการส่งเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ผู้ล่วงลับผ่านพิธีกรรมถวายทานให้พระสงฆ์ โดยใช้เรือสำเภาเป็นไทยทานถวาย เสมือนเป็นพาหนะเดินทางไกลในสัมปรายภพ เพื่อข้ามโอฆะวัฏฏะสงสารสู่นิพพาน
  2. สำหรับหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา ประกอบด้วย หลักธรรมที่ 1 คือ ความศรัทธา ซึ่งเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 อย่าง คือ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธา หลักธรรมที่ 2 หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ที่ตั้งแห่งการทำความดี 3 ประการ ประกอบด้วย ทาน การรักษาศีล และภาวนา หลักธรรมที่ 3 หลักความกตัญญู และหลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งประกอบด้วย 1) เมตตาทางกาย (กายกรรม) 2) เมตตาทางวาจา (วจีกรรม) 3) เมตตาทางใจ (มโนกรรม) 4) ทาน (สาธารณโภคี) 5) ศีล (สีลสามัญญตา) 6) ปัญญา (ทิฎฐิสามัญญตา) ซึ่งหลักพุทธธรรมนี้ จะเสริมสร้าง รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม กรุณธรรม และสามัคคีธรรมให้บังเกิดขึ้นในคนอยู่กันในสังคมอย่างสันติสุข

บรรณานุกรม

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (มปป.), ล่องสะเพา : ร่องรอยของประเพณีในอดีต. ลำปาง: เมื่อห้วงหนึ่งศตวรรษ.

ระวี ภาวิไล. (2527). การศึกษาเพื่ออยู่เย็นเป็นสุข และบทความอื่นๆ. เชียงใหม่: ทิพย์เนตรการพิมพ์.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2563). “การใช้หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตน: กรณีศึกษานักศึกษาที่เข้าเรียนวิชา

พระพุทธศาสนาเบื้องต้น มหาวิทยาลัยรามคำแหง”. วารสารวิจัยรามคำแหง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23 (2): 33-44.

ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย และคณะ. “สถานีสาราณียธรรม: พื้นที่บ่มเพาะความรู้ชุมชน”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (1): 183-195.

สุวรรณฐา ลึม และ พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). (2562). “แนวทางส่งเสริมกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย”.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (2): 424.

หน๋านเต๋จา. (2517). ประเพณีล้านนาไทยและพิธีกรรมต่างๆ. เชียงใหม่: ประเทืองวิทยา.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-26