ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของฆราวาสที่บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของฆราวาสที่บรรลุธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัย พบว่า การบรรลุธรรมเป็นกระบวนการเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 และตรัสรู้ธรรม ประเภทของการบรรลุธรรม แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล มีฆราวาสที่บรรลุธรรมดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อาทิ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา จิตตคหบดี และอุคคตเศรษฐีฆราวาส แต่ละบุคคลมีลักษณะการบรรลุธรรมแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามบุญบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีตชาติและปัจจุบันชาติที่บรรลุธรรมส่วนหลักธรรมที่ทำให้บรรลุธรรม ประกอบด้วยหลักอริยสัจ 4 และหลักสังโยชน์
สำหรับวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา พบว่า สภาพแวดล้อมภายใน คือฆราวาสที่บรรลุธรรมได้ต้องไม่มีกรรมหนัก ไม่มีกิเลส ไม่มีวิบาก และต้องมีศรัทธา มีฉันทะ และมีปัญญา ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรม คือ ด้านการเมืองและกฎหมายนั้น ในสมัยพุทธกาล ไม่มีกฎหมายในการห้ามการนับถือศาสนา จึงเป็นการง่ายที่ฆราวาสจะเข้าถึงพุทธศาสนา และด้วยมีเศรษฐกิจที่ดีที่ช่วยส่งเสริมให้มีเวลาแสวงหาทางแห่งปัญญารวมถึงสังคมและวัฒนธรรม แม้จะถูกอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ครอบงำ แต่พระพุทธองค์พยายามที่จะปฏิวัติและปฏิรูปและมุ่งเน้นด้านความรู้และความประพฤติที่จะเป็นตัวกำหนดวรรณะบุคคล ไม่ใช่เพราะชาติตระกูลหรือถิ่นกำเนิด และความรู้ความประพฤติ วิถีปฏิบัติของบุคคลเท่านั้นที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมได้
บรรณานุกรม
ธมกร แซ่ฟอง. (2560). “ศึกษาการบรรลุธรรมของผู้อุบัติในเทวภูมิ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิ่น มุทุกันต์. (2535). พุทธศาสตร์ ภาค ๒. กรุงเทพมหานคร: มหามุกฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมเจต สมจารี. (2559). “ศึกษาบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรมขั้นสูงในพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 4 (2): 151-165.
พระมหาสมเจต สมจารี. (2561). “เยาวชนกับการบรรลุธรรมในมุมมองของพุทธปรัชญาเถรวาท”. วารสารพุทธมัคค์. 3 (1): 43.
พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร (อันวิเศษ). (2564). “กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท”, วิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 3 (1): 124-126.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สินชัย วงษ์จำนง. (2548). “การศึกษาคติภพของคฤหัสถ์ผู้เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.