ศึกษาและวิเคราะห์รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา

  • ร้อยตำรวจตรีกฤชนนท์ พุทธะ
คำสำคัญ: ธุดงควัตร, พระพุทธศาสนา, รุกขมูล, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษารุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส องค์คุณของผู้จำกัดกิเลส ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่พระสงฆ์รูปใดจะสมัครใจปฏิบัติ ถือเป็นอุบายวิธีกำจัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษ รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนาถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมธุดงค์ ข้อ 4 ในธุดงค์ 13 การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนานั้น นิยมเข้ากันในช่วงฤดูหนาว เพราะไม่ต้องมีความกังวลเรื่องฟ้าฝนและรูปแบบที่นิยมกันก็คือในฌาปนสถานหรือป่าช้า ที่นิยมทำในป่าช้า เพราะจะได้ปฏิบัติธุดงคกรรมข้ออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย และเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์อย่างอื่น เช่น การสร้างเมรุเผาศพและศาลา เป็นต้น

สำหรับคุณค่าของรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา ในด้านจิตใจในฐานะเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตตามหลักของศาสนา และเพื่อพัฒนาจิตใจของตนเองให้ดีขึ้น ทำให้จิตใจเกิดความเบิกบาน แจ่มใสขึ้น อีกทั้งขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วและสูงส่งยิ่งขึ้น ในด้านสังคมทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับประโยชน์ในระดับเบื้องต้น ประโยชน์ระดับกลางและประโยชน์ระดับสูงสุด และในคุณค่าด้านการพัฒนาสาธารณประโยชน์ เช่น การสร้างศาลาในป่าช้า การสร้างถนน การสร้างห้องน้ำ เชิงตะกอน และกำแพง เป็นต้น

 

บรรณานุกรม

พระครูวีรศาสน์โสภณ (สุรินทร์ วิสุทธจิตฺโต). (2553). “ศึกษาการเข้ากรรมในล้านนา”. วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2538). วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม. ปาฐกถาพิเศษ วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: พุทธสมาคม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2551). มิลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สัมภาษณ์ พระอธิการวีรยุทธ ยุทฺธวีโร. เจ้าอาวาสวัดหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน, ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖.

สัมภาษณ์ พระใบกีฏาถนอม ถิรสวํโส. เจ้าอาวาสวัดแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน, ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๖.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-26