วิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ

  • พระปลัดศิวนัฐ เมธีปชฺโชโต
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, พระอุรุเวลกัสสปะ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ เป็นวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษา พบว่า ผู้นำ หมายถึง หัวหน้า คือ บุคคลที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มหรือองค์กร ภาวะผู้นำ หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่จะต้องสร้างความปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เพื่อให้บุคลากรในองค์การนั้นร่วมแนวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้นำเชิงพุทธ หมายถึง มีความหมายที่คล้ายคลึงกับผู้นำตามตำราวิชาการ แต่จะประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องประกอบ เช่น ผู้นำแบบสัปปุริสธรรม ผู้นำตามหลักพรหมวิหาร เป็นต้น พระอุรุเวลกัสสปะเถระเป็นผู้นำในการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กร สามารถมอบหมายหน้าที่ในการปกครองบริหารจัดการบุคลากรเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการใช้อำนาจในการปกครองในองค์การ เป็นผู้นำทางสังคม ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 และท่านยังเป็นผู้นำในด้านการเผยแผ่ศาสนาอย่างเข้มแข็ง

 

บรรณานุกรม

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิติพล ภูตะโซติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). “พระพุทธศาสนากับการพัฒนาผู้นำ”. วารสารธรรมวัติ, 2 (2): 19-28.

พระมหาประวิน ปวโร (ศรีโย). (2554). “การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระอุรุเวลกัสสปะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฏฺฐเมธี (ศิริพันธ์). (2550). “การศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2561). “มิติการประยุกต์ใช้ภาวะผู้เชิงพุทธในการเสริมสร้างศักยภาพทางบริหารงานของผู้บริหารองค์การ: การสะท้อนมุมมองจากการทบทวนวรรณกรรม”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2 (1): 79-94.

เสฐียร พันธรังสี. (2549). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

อรุณ รักธรรม. (2540). การพัฒนาและฝึกอบรม: ศึกษาเชิงพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐประศาสนศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership. New York: The Free Press.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-26