การบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม

  • พระครูสุวรรณปัญญาพิสุทธิ์ สุทฺธปญฺโ
คำสำคัญ: การบริหารงานบุคคล, หลักอปริหานิยธรรม, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหลักการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม และ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลักการบริหารงานบุคคล ประกอบไปด้วย หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง หลักการพัฒนา หลักแห่งความเหมาะสม หลักความยุติธรรม หลักสวัสดิการ และหลักมนุษยสัมพันธ์และสิทธิมนุษยชน
  2. หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่ข่มเหงสตรี เคารพบูชาเจดียสถาน และให้การคุ้มครองผู้มีศีลธรรม
  3. รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม ได้แก่ การสรรหาและการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งและการปฐมนิเทศ การพัฒนาและการธำรงรักษา การสิ้นสุดการทำงาน โดยจะต้องหมั่นประชุมกัน พร้อมกันประชุม สร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ เคารพความคิดเห็น ให้เกียรติกันและกัน เคารพกฎกติกาองค์กร และรักษาความยุติธรรม

 

บรรณานุกรม

จำรัส จันทร์แสงศรี. (2554). หลักการบริหารงานสมัยใหม่กับหลักการบริหารงานเชิงพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย.

พระครูสุพลวุฒิกร (ทวนชัย สุภโร). (2558). “ระบอบสามัคคีธรรม: บทเรียนจากเจ้าลิจฉวีถึงสังคมไทย”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 2 (1): 48.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากิจการ โชติปฺโ. (2558). “การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”. วารสารบัณฑิตศาส์น มมร. 13 (2): 48.

พระมหาญัญญ์คุปต์ เขตต์สิริวรกุล และ นพดล เจนอักษร. (2558). “หลักการบริหารที่ปรากฏในมหานิบาตชาดก”. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (2): 2729- 2730.

พระมหาตัณฐวัฒน์ ธมฺมธีโร บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ. (2564). “แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย”. Journal of Modern Learning Development. 6(4): 255-256.

พระมหาอิสรกานต์ ิตปุญฺโ. (2558). “การบริหารงานบุคคลในองค์กรสมัยใหม่”. พุทธจักร. 69 (5): 18.

พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ (พืชสิงห์) และคณะ. (2559). “รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด”. ธรรมทัศน์. 16 (1): 101–102.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2556). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์ และ นิติกานต์ ธรรมหรรษากุล. (2564). “พุทธวิธีบริหารคนเก่งและคนดี เพื่อพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกไร้พรมแดน”. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4 (4): 99.

Drucker, P. F. (1973). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. New York: Harper & Row Publication.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-26