https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/issue/feed Journal of Dhamma Sana 2024-06-27T14:06:50+00:00 พระครูสิริสุตานุยุต,รศ.ดร. saman.ta@mcu.ac.th Open Journal Systems เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนากับปรัชญา พุทธศาสนากับคัมภีร์ใบลาน พระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมท้องถิ่น บทความตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประเภทของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านพระพุทธศาสนากับปรัชญา พุทธศาสนากับคัมภีร์ใบลาน พระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมท้องถิ่น 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ 3) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1319 การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระมหาธนวุฒิ ญาณโสภโณ thanawutyanasobhano66@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1.เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 และ 2.เพื่อประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 เป็นวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาจิตด้านกายภาวนาคือ การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ประกอบไปด้วย อิริยาบถปัพพะ สัมปชัญญปัพพะ ธาตุปัพพะ มาตามลำดับ เป็นการมุ่งพิจารณาในกายของตนเองเป็นหลัก การพัฒนาจิตด้านศีลภาวนา เป็นการพัฒนาพฤติกรรมที่มุ่งถึงการฝึกอบรมกาย วาจา ให้เป็นฐานในการพัฒนาจิต การพัฒนาจิตด้านจิตภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิต ข่มอารมณ์ความรู้สึกได้เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์และความรู้สึก สิ่งสำคัญคือมีสติที่พร้อมไปด้วยความไม่ประมาท สมาธิที่จดจ่อต่อการเกิดสภาวะของจิต ความเพียรที่จะต้องหมั่นฝึกพิจารณาเหตุผล การพัฒนาจิตด้วยปัญญาภาวนา สามารถปฏิบัติได้ด้วยการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของตนเองให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง</li> <li>2. การพัฒนาจิตตามหลักภาวนา 4 พบว่า การพัฒนาร่างกาย คือ การเข้าใจสภาพร่างกาย การสร้างสุขภาพที่ดีด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารอย่างเหมาะสม รักษาสุขภาพร่างกายให้ปราศจากโรคภัย และการพัฒนาจิตใจให้สัมพันธ์กับร่างกายที่จะช่วยเกิดความมั่นคงทางด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อร่างกาย การพัฒนาพฤติกรรม คือ การรับรู้ผลของพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการพิจารณาเลือกปฏิบัติตน สร้างศรัทธาให้เกิดในการยึดถือหลักปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และการปฏิบัติตาม การพัฒนาจิตใจ คือ ควบคุมสติให้เกิดความมั่นคงเพื่อการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ประมาท หมั่นฝึกสมาธิให้เกิดสภาวะความเข้มแข็งทางจิตใจที่ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ และการคิดอย่างมีเหตุผลตามสภาวะความเป็นจริงที่จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพตามมา การพัฒนาปัญญา คือ การแลกเปลี่ยนที่เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการเกิดปัญญาจากการฟัง การคิดพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการ</li> </ol> 2024-06-26T00:00:00+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1318 หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระอธิการขวัญชัย ปภากโร 2561Kwanchai@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบริบทชุมชนบ้านผาช่อ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนบ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>บริบทชุมชนบ้านผาช่อ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ชุมชนนี้อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านผาช่อมีป่าชุมชน จำนวน 600 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน มีน้ำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่าต่าง ๆ อาศัยอยู่ ป่ามีความชุ่มชื้น และอุดมสมบูรณ์มาก การใช้ทรัพยากรธรรมป่าไม้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ป่าชุมชน และป่าใช้สอย มีคณะกรรมการบริหารป่าชุมชน มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยของป่าอนุรักษ์ป้องกันรักษาป่าชุมชน และทำประชาคมในชุมชนในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านผาช่ออาศัยความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการป่า เช่น พิธีกรรมบวชป่า เป็นต้น</p> <p>วิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน บ้านผาช่อ จังหวัดลำปาง ได้แก่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมีมากมาย เพราะธรรมะ คือ ธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ล้วนแต่เป็นธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง แล้วนำมาเผยแผ่ให้ผู้อื่นได้รู้ได้เข้าใจและอยู่กับธรรมชาติเหล่านั้นอย่างมีสติ รู้คุณค่า รู้ประมาณ&nbsp; หลักสังคหวัตถุ 4 สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันด้วยการให้วัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนซึ่งกันและกัน ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูต่อแหล่งน้ำ อริยสัจ 4 ใช้หลักแห่งความจริงเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-26T00:00:00+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1317 ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีลอยโขมดในจังหวัดลำพูน 2024-06-27T14:06:49+00:00 ธวัชชัย พัฒนปาลี thawatchai.p2508@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีโขมดในจังหวัดลำพูน และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานประเพณีการลอยโขมดของจังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>วิเคราะห์ประวัติความเป็นมาประเพณีโขมดในจังหวัดลำพูนเป็นวันเพ็ญเดือนยี่ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของภาคกลาง ตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวีวงศ์มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปีจึงเดินทางกลับมายัง บ้านเมืองเดิม เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านเมืองไปจึงได้มีการนำเครื่องสักการบูชา ธูป เทียน นำปล่อยลงในน้ำเพื่อแสดงถึงความคิดถึงกันแสงไฟกระทบกับน้ำ เกิดเป็นเงาแสงเสมือนแสงพะเนียงไฟเป็นระยะดูเหมือนผีโขมดที่ออกหากินในเวลากลางคืนชาวล้านนาจึงเรียกตามตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ว่า “ประเพณีลอยโขมด”</li> <li>วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานประเพณีการลอยโขมดหลักพุทธธรรมในประเพณีลอยโขมดในจังหวัดลำพูน ที่ปรากฏได้แก่ หลักบูชาหลักศรัทธาธรรม หลักกัลยาณมิตรธรรม หลักสามัคคีธรรม หลักความกตัญญูกตเวทิตาที่มีคุณค่าและความสำคัญของต่อชุมชนวิถีชีวิตและจิตใจ หลักพุทธธรรมเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อความสงบสุขและรักษาประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม สนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นสืบไป</li> </ol> 2024-06-26T14:01:49+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1316 ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปาในจังหวัดลำปาง 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระครูโสภณวีรบัณฑิต ภูริวฑฺฒโน supanat.kam@mcu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสะเปา และ 2) ศึกษา วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>พิธีกรรมถวายสะเปามีความหมายและความเชื่อของชาวลำปางว่า เป็นการส่งเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ผู้ล่วงลับผ่านพิธีกรรมถวายทานให้พระสงฆ์ โดยใช้เรือสำเภาเป็นไทยทานถวาย เสมือนเป็นพาหนะเดินทางไกลในสัมปรายภพ เพื่อข้ามโอฆะวัฏฏะสงสารสู่นิพพาน</li> <li>สำหรับหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมถวายสะเปา ประกอบด้วย หลักธรรมที่ 1 คือ ความศรัทธา ซึ่งเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล 4 อย่าง คือ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา ตถาคตโพธิสัทธา หลักธรรมที่ 2 หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ที่ตั้งแห่งการทำความดี 3 ประการ ประกอบด้วย ทาน การรักษาศีล และภาวนา หลักธรรมที่ 3 หลักความกตัญญู และหลักสาราณียธรรม 6 ซึ่งประกอบด้วย 1) เมตตาทางกาย (กายกรรม) 2) เมตตาทางวาจา (วจีกรรม) 3) เมตตาทางใจ (มโนกรรม) 4) ทาน (สาธารณโภคี) 5) ศีล (สีลสามัญญตา) 6) ปัญญา (ทิฎฐิสามัญญตา) ซึ่งหลักพุทธธรรมนี้ จะเสริมสร้าง รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม กรุณธรรม และสามัคคีธรรมให้บังเกิดขึ้นในคนอยู่กันในสังคมอย่างสันติสุข<a name="_Toc943434"></a><a name="_Toc945424"></a><a name="_Toc958778"></a><a name="_Toc966146"></a></li> </ol> 2024-06-26T14:13:21+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1315 ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของฆราวาสที่บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระคำน้อย จนฺทสาโร kumnoimcu@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของฆราวาสที่บรรลุธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัย พบว่า การบรรลุธรรมเป็นกระบวนการเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจ 4 และตรัสรู้ธรรม ประเภทของการบรรลุธรรม แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล มีฆราวาสที่บรรลุธรรมดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อาทิ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา จิตตคหบดี และอุคคตเศรษฐีฆราวาส แต่ละบุคคลมีลักษณะการบรรลุธรรมแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามบุญบารมีที่สั่งสมมาแต่อดีตชาติและปัจจุบันชาติที่บรรลุธรรมส่วนหลักธรรมที่ทำให้บรรลุธรรม ประกอบด้วยหลักอริยสัจ 4 และหลักสังโยชน์</p> <p>สำหรับวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา พบว่า สภาพแวดล้อมภายใน คือฆราวาสที่บรรลุธรรมได้ต้องไม่มีกรรมหนัก ไม่มีกิเลส ไม่มีวิบาก และต้องมีศรัทธา มีฉันทะ และมีปัญญา ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรม คือ ด้านการเมืองและกฎหมายนั้น ในสมัยพุทธกาล ไม่มีกฎหมายในการห้ามการนับถือศาสนา จึงเป็นการง่ายที่ฆราวาสจะเข้าถึงพุทธศาสนา และด้วยมีเศรษฐกิจที่ดีที่ช่วยส่งเสริมให้มีเวลาแสวงหาทางแห่งปัญญารวมถึงสังคมและวัฒนธรรม แม้จะถูกอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ครอบงำ แต่พระพุทธองค์พยายามที่จะปฏิวัติและปฏิรูปและมุ่งเน้นด้านความรู้และความประพฤติที่จะเป็นตัวกำหนดวรรณะบุคคล ไม่ใช่เพราะชาติตระกูลหรือถิ่นกำเนิด และความรู้ความประพฤติ วิถีปฏิบัติของบุคคลเท่านั้นที่ทำให้ฆราวาสบรรลุธรรมได้</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-26T14:21:54+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1314 ศึกษาและวิเคราะห์รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา 2024-06-27T14:06:49+00:00 ร้อยตำรวจตรีกฤชนนท์ พุทธะ doctorkrit1@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษารุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส องค์คุณของผู้จำกัดกิเลส ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่พระสงฆ์รูปใดจะสมัครใจปฏิบัติ ถือเป็นอุบายวิธีกำจัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษ รุกขมูลิกังคธุดงควัตรในพระพุทธศาสนาถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมธุดงค์ ข้อ 4 ในธุดงค์ 13 การปฏิบัติรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนานั้น นิยมเข้ากันในช่วงฤดูหนาว เพราะไม่ต้องมีความกังวลเรื่องฟ้าฝนและรูปแบบที่นิยมกันก็คือในฌาปนสถานหรือป่าช้า ที่นิยมทำในป่าช้า เพราะจะได้ปฏิบัติธุดงคกรรมข้ออื่นๆ ควบคู่ไปด้วย และเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์อย่างอื่น เช่น การสร้างเมรุเผาศพและศาลา เป็นต้น</p> <p>สำหรับคุณค่าของรุกขมูลิกังคธุดงควัตรในล้านนา ในด้านจิตใจในฐานะเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตตามหลักของศาสนา และเพื่อพัฒนาจิตใจของตนเองให้ดีขึ้น ทำให้จิตใจเกิดความเบิกบาน แจ่มใสขึ้น อีกทั้งขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วและสูงส่งยิ่งขึ้น ในด้านสังคมทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับประโยชน์ในระดับเบื้องต้น ประโยชน์ระดับกลางและประโยชน์ระดับสูงสุด และในคุณค่าด้านการพัฒนาสาธารณประโยชน์ เช่น การสร้างศาลาในป่าช้า การสร้างถนน การสร้างห้องน้ำ เชิงตะกอน และกำแพง เป็นต้น</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-26T14:31:32+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1313 วิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระปลัดศิวนัฐ เมธีปชฺโชโต phasiwanatt@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำของพระอุรุเวลกัสสปะเถระ เป็นวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษา พบว่า ผู้นำ หมายถึง หัวหน้า คือ บุคคลที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มหรือองค์กร ภาวะผู้นำ หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่จะต้องสร้างความปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เพื่อให้บุคลากรในองค์การนั้นร่วมแนวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้นำเชิงพุทธ หมายถึง มีความหมายที่คล้ายคลึงกับผู้นำตามตำราวิชาการ แต่จะประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมเป็นเครื่องประกอบ เช่น ผู้นำแบบสัปปุริสธรรม ผู้นำตามหลักพรหมวิหาร เป็นต้น พระอุรุเวลกัสสปะเถระเป็นผู้นำในการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กร สามารถมอบหมายหน้าที่ในการปกครองบริหารจัดการบุคลากรเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการใช้อำนาจในการปกครองในองค์การ เป็นผู้นำทางสังคม ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 และท่านยังเป็นผู้นำในด้านการเผยแผ่ศาสนาอย่างเข้มแข็ง</p> <p>&nbsp;</p> 2024-06-26T00:00:00+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/jpa/issue/view/https:/so09.tci-thaijo.org/index.php/sana/article/view/1312 การบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม 2024-06-27T14:06:49+00:00 พระครูสุวรรณปัญญาพิสุทธิ์ สุทฺธปญฺโ suwanpanya2024@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหลักการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม และ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>หลักการบริหารงานบุคคล ประกอบไปด้วย หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง หลักการพัฒนา หลักแห่งความเหมาะสม หลักความยุติธรรม หลักสวัสดิการ และหลักมนุษยสัมพันธ์และสิทธิมนุษยชน</li> <li>หลักอปริหานิยธรรม 7 ได้แก่ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่ข่มเหงสตรี เคารพบูชาเจดียสถาน และให้การคุ้มครองผู้มีศีลธรรม</li> <li>รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธบูรณาการตามหลักอปริหานิยธรรม ได้แก่ การสรรหาและการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งและการปฐมนิเทศ การพัฒนาและการธำรงรักษา การสิ้นสุดการทำงาน โดยจะต้องหมั่นประชุมกัน พร้อมกันประชุม สร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ เคารพความคิดเห็น ให้เกียรติกันและกัน เคารพกฎกติกาองค์กร และรักษาความยุติธรรม</li> </ol> <p>&nbsp;</p> 2024-06-26T14:49:50+00:00 ##submission.copyrightStatement##