พระเขษมศิลก์ ภทฺทธมฺโม (เนื่องจำ วิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิสรภาพของ ประมวล เพ็งจันทร์

  • พระเขษมศิลก์ เขษมศิลก์ (เนื่องจำนงค์) มจร.วข. เชียงใหม่
  • สมหวัง แก้วสุฟอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: อิสรภาพ, ประมวล เพ็งจันทร์,, วิเคราะห์เชิงปรัชญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดเรื่องอิสรภาพและวิเคราะห์แนวคิดเชิงปรัชญาของ ประมวล เพ็งจันทร์ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องอิสรภาพของนักปรัชญาทางฝั่งตะวันตกนั้นจะเกี่ยวกับ เสรีภาพทั้งในเชิงปัจเจกชนที่มีต่อสังคม หรือความคิด การพูดหรือแม้แต่การมีหรือไม่มีเสรีภาพต่อพระผู้เป็นเจ้า ส่วนในทางฝั่งปรัชญาตะวันออกนั้น ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพื่อแสวงหาความต้องการมีอิสระในเชิงของชีวิตและจิตใจเพื่อออกจากวัฏสงสาร ส่วนแนวคิดเรื่องอิสรภาพของ ประมวล เพ็งจันทร์นั้น ได้แสดงถึงความต้องการจะค้นพบตัวเอง เพื่อเป็นอิสระจากเหตุผลต่างๆ ที่ศึกษามา เพื่อเข้าถึงความเป็นอิสรภาพที่แท้จริง ด้วยการทดลองผ่านประสบการณ์ของท่านเอง  เมื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิสรภาพของ ประมวล เพ็งจันทร์ นั้นพบว่า ได้รับอิทธิพลมาจากทางศาสนาและปรัชญา โดยลักษณะความเป็นอิสรภาพของท่าน คือ การเข้าใจในสรรพสิ่งทั้งหลาย และการอยู่ร่วมกับสรรพทั้งหลายโดยไม่มีการแบ่งแยก ดุจดังปริศนาธรรมของชาวธิเบตที่ถามว่า “จะทำน้ำหยดหนึ่งมิให้เหือดแห้งได้อย่างไร” และคำตอบ คือ “จงทำน้ำหยดหนึ่งนั้นให้เป็นทะเล” ซึ่งหมายถึงการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสรรพสิ่ง

บรรณานุกรม

กนกวรรณ สุทธัง. (2562) “อิสรภาพที่มีเงื่อนไข”. ปริญญาศิลปะบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรงเทพมหานคร: สํานักพิมพไทยวัฒนาพานิช.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(18 มีนาคม 2554). เสรีภาพ. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายหมายชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุค ต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
ประมวล เพ็งจันทร์. (2563). เดินสู่อิสรภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ พี เอ็ เค แอนด์สกายพริ้นติ้งส์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2520) “การศึกษาจริยศาสตร์สังคมไทยพุทธศาสนาในเชิงวิจารณ์”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า. (2541) อภิธานัปปทีปีกา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์. (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2537). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์ พริ้นติ้ง จํากัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สุนทร ณ รังษี. (2545). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
John Stuart Mill. On Liberty. (2530). แปลโดย ภัทรพร สิริกาญจน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Jean-Paul Sartre. (1976). Being and Nothingness.translated by Hazel E. Barnes Northamton : John Dickens & Co.Ltd.
เผยแพร่แล้ว
2022-12-10