แนวทางการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม สู่การแบ่งปันตามหลักพุทธธรรม ของร้านของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์

  • สิริรักษ์ เพชรรัตน์กุลธนา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูประวิตรวรานุยุต ธมฺมวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: แนวทางการส่งเสริม, ธุรกิจเพื่อสังคม, หลักพุทธธรรม, ร้านปันกัน, มูลนิธิยุวพัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  3 ประการ ดังนี้ 1)  เพื่อศึกษาแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน  มูลนิธิยุวพัฒน์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการทำธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบข้อมูลเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า

1) แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพุทธธรรมนั้น  ธุรกิจเพื่อสังคม เป็น กิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กลไกการบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงินจากรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค และมีการนำผลกำไรที่เกิดขึ้นไปลงทุนซ้ำเพื่อขยายผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น ในการทำธุรกิจรูปแบบนี้ มีหลักพุทธธรรมที่เป็นฐาน เช่น ปาปณิกธรรม 3 สังคหวัตถุ 4   โภควิภาค 4 มิจฉาวณิชชา 5 เป็นต้น 

2) แนวคิดและการบริหารจัดการธุรกิจของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ ร้านปันกันเกิดขึ้นมาตามกรอบแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม โดยมูลนิธิยุวพัฒน์  มีภารกิจด้วยการอาสาเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา หยิบยื่นโอกาสให้ได้มีความรู้ ค้นพบศักยภาพของตัวเอง มีโอกาสที่จะได้รับการขัดเกลาด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้รู้จักคิด ยึดมั่นในคุณความดีและมีวินัยในการดำรงชีวิตที่ดีงาม สร้างจิตสำนึกและสังคมแห่งการแบ่งปันและเกื้อกูล สนับสนุนภาคีเครือข่ายเพื่อสังคม สร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังของความร่วมมือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทำงานด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่นตามหลักพุทธธรรมคือมีอิทธิบาท 4 เป็นตัวขับเคลื่อนงานจนสำเร็จ แนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน – มูลนิธิยุวพัฒน์ ตามหลักพุทธธรรม ได้แก่การส่งเสริมผ่านเสาร์หลัก M 5 ต้น คือ Man(มนุษย์), Money (เงินทุน) Material(วัสดุ) Management(การจัดการ) และMorality(ศีลธรรม) นั่นคือ "มูลนิธิยุวพัฒน์" สร้างประโยชน์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่สังคมในด้านต่างๆ ด้วยหลักของ สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น ให้มีความเจริญงอกงามด้านพฤติกรรม ที่แสดงออก ทางกาย วาจา ด้านจิตใจและปัญญา และให้เกิดความศรัทธาแก่องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆที่ระดมทุน “ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี”และของผู้พบเห็น ร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ ได้ทำประโยชน์เป็นต้นแบบของ ธุรกิจเพื่อสังคม สู่การแบ่งปันตามหลักพุทธธรรม อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

กาญจนาท เรืองรจิตปกรณ์ และ คณะ. (2532). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐาปณีย์ สินาดโยธารักษ์. (2563). ผู้อำนวยการร้านปันกันโดยมูลนิธิยุวพัฒน์. สัมภาษณ์ 9 สิหาคม.
วิเชียร พงศธร. (2563). ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง – มูลนิธิยุวพัฒน์, สัมภาษณ์ 8 สิหาคม.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (15 มีนาคม2562). กิจการเพื่อสังคม. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กิจการเพื่อสังคม
วิรัช นิภาวรรณ (2549). การบริหารจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร : ทรัพย์เพิ่มการพิมพ์.
เผยแพร่แล้ว
2022-12-13