รูปแบบการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่

  • พระสุรัศ สุรปญฺโญ (สุขขุนทด) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ (คิดอ่าน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระธีรพล วรคุโณ (คำสิงห์ใส) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: สติ, คุณภาพชีวิต, โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “รูปแบบการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ  โดยใช้การจัดกิจกรรมกลุ่มในรูปแบบการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอายุระหว่าง 16-18 ปี จำนวน 20 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน

พฤติกรรมและความคิดเห็นด้านการมีสติ ก่อนการฝึกพัฒนาสติ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.31 เมื่อได้รับการพัฒนาสติแล้ว หลังการฝึกพัฒนาสติ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ 4.34 ส่วนคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (= 3.34, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ในภาพรวม ไม่รวมในรายด้าน เป็นอันดับ 1 อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.53, S.D. = 0.68) รองลงมาคือ ด้านสัมพันธ์ภาพทางสังคม (= 3.47, S.D. = 0.59) และลำดับสุดท้ายคือ ด้านสิ่งแวดล้อม (=3.23, S.D. = 0.57)

การพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ โดยมีความสอดคล้องกับหลักการพัฒนาสติทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ (1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ กับการพัฒนาสติโดยใช้จิตภาวนา (2) ร่างกาย กับการพัฒนาสติโดยใช้กายภาวนา (3) ความสัมพันธ์ทางสังคม กับการพัฒนาสติโดยใช้ศีลภาวนา และ (4) สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาสติโดยใช้ปัญญาภาวนา

รูปแบบและกระบวนการพัฒนาสติ โดยใช้การบูรณาการใน 3 รูปแบบ คือ (1) กำหนดการรับรู้การเคลื่อนไหวทางกายในชีวิตประจำวัน (2) การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของโรงเรียน และ (3) อานาปานสติ ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน คือ ครูผู้สอน รุ่นพี่และเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร ส่วนอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน คือ ความพิการทางร่างกายหรือสมอง และวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลและช่วยเหลือ วิธีการประเมินผลการใช้สติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ประกอบด้วย เครื่องมือวัดในเชิงปริมาณ และเครื่องมือวัดในเชิงคุณภาพ มีเป้าหมายสำคัญ คือ ผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลให้นักเรียนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข

บรรณานุกรม

ฌาน ตรรกวิจารณ์. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 32. พุทธธรรมประดิษฐาน 26 ศตวรรษกาล พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). “ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสมาธิ ต่อพหุปัญญาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ วารสารพยาบาลทหารบก”. Journal of The Royal Thai Army Nurses. (ปีที่ 17 ฉบับที่ 13 กันยายน-ธันวาคม): 25-59.
โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่. (2564). “เกี่ยวกับ โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.facebook.com/SrisangwanChiangmai/ [15 กรกฎาคม 2564].
____________. (2564). “วิสัยทัศน์”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.swcm.ac.th/ index.php#module=vision [15 กรกฎาคม 2564].
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2541). “คุณภาพชีวิตของคนไทยในภาวะเศรษฐกิจ”. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
Bishop SR.. (2004). “Mindfulness: a proposed operational definition”. Clin Psychol: Science and Practice. (2004; 11):230 - 241.
Hanh, TN.. (1998). The heart of the Buddha’s teachings: Transforming suffering into peace, joy, and liberation. New York: Broadway.
Kabat-Zinn J.. (1994). Wherever you go there you are: Mindfulness meditations in everyday life. New York: Hyperion.
สัมภาษณ์ ณัฐกฤษฎ์ กาญจนาธิวัฒน์. รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนศรีสังวาลเชียงใหม่. 24 สิงหาคม 2564.
สัมภาษณ์ ณัฐกฤษฎ์ กาญจนาธิวัฒน์. รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่. 16 กันยายน 2564.
เผยแพร่แล้ว
2022-12-10