https://firstojs.com/index.php/SB/issue/feed วารสารศาสตร์แห่งพุทธ (Science of Buddhism Journal) 2024-06-28T11:42:01+00:00 พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี, ดร. inthawong_iss@hotmail.com Open Journal Systems วารสารศาสตร์แห่งพุทธ https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1311 หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 2024-06-28T11:42:00+00:00 พระสมุห์กิตติพงษ์ กิตฺฺติวํโส (สมณะ) 6310205001@mcu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ 3. เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ การสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ ได้แก่ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2. การรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ 3. บทบาทในฐานะตัวแทนภาครัฐในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และ 4. บทบาทในฐานะประชาชน</p> <p>หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ หลักสาราณียธรรม ประกอบด้วย 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ 4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชีเคารพนับถือท่านเหล่านั้นเห็นถ้อยคำของท่าน ว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ 6. การเคารพสักการะบูชาเจดีย์ 7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่บรรพชิตผู้ดำรงธรรม</p> <p>ประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน สามารถประยุกต์ใช้หลักสาราณณียธรรมได้ 7 หลัก ได้แก่ 1. หลักการประชุมแบบสม่ำเสมอ&nbsp; 2. หลักความพร้อมเพรียงของการจัดกิจกรรม 3. หลักการออกกฎระเบียบและกฎหมาย 4. หลักการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 5. หลักการมีส่วนร่วมของสตรี&nbsp; 6. หลักการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ 7. หลักการมีส่วนร่วมของผู้นำทางศาสนา</p> 2024-06-27T14:47:49+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1323 หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจามเทวีวงศ์ 2024-06-28T11:42:00+00:00 อภิสิทธิ์ จิรสัณจิต hemmaraj888@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาสาระสำคัญของคัมภีร์จามเทวีวงศ์ และ 3) วิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลักธรรมาภิบาล หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อที่ภาคต่างๆ ของสังคมพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบ 6 อย่าง คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า</p> <p>จามเทวีวงศ์เป็นผลงานประพันธ์ของพระโพธิรังสี แต่งขึ้นราวปี พ.ศ. 1950-2000 ลักษณะการประพันธ์คือประพันธ์เป็นฉันท์ โดยใช้ภาษาบาลี จามเทวีวงศ์เป็นเอกสารเชิงประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมประเภทตำนาน มีเนื้อหา 14 ปริเฉท เริ่มจากพระพุทธเจ้าเสด็จมายังพยากรณ์พื้นที่สำหรับสร้างนครและการอุบัติของฤาษี 4 ตน ผู้ที่สร้างเมืองหริภุญชัยและเมืองเขลางค์นคร นอกจากนั้นยังกล่าวถึงประวัติของพระนางจามเทวี ลำดับกษัตริย์ในล้านนาและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ</p> <p>จามเทวีวงศ์ได้มีการกล่าวถึงข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการปกครอง เช่น หลักทศพิธราชธรรม หลักความกตัญญู หลักการใช้ความถูกต้องยุติธรรมในการปกครองบ้านเมือง พร้อมทั้งมีหลักคำสอนสำหรับพระราชาในปกครองบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีความรุ่งเรือง ซึ่งหลักการต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล</p> 2024-06-27T00:00:00+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1325 ศึกษาวิเคราะห์สัมมาวายามะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2024-06-28T11:42:00+00:00 พระครูใบฎีกาธนวัฒน์ ปญฺญาวุโธ champ20079@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสัมมาวายามะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 2) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้สัมมาวายามะในการพัฒนาชีวิต การวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>สัมมาวายามะ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรค 8 หมายถึง เพียรชอบหรือพยายามชอบ 1. พยายามระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น 2. พยายามละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ยังเกิดขึ้นแล้ว 3. พยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรชอบ 4. เจริญกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้น สัมมาวายามะหรือ ความพยายามชอบตามหลักพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายอยู่ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านอัตถประโยชน์ ด้านปรัตถประโยชน์ และด้านอุภยัตถประโยชน์</p> <p>สำหรับการประยุกต์ใช้สัมมาวายามะ เพื่อการพัฒนาชีวิต จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านการศึกษา ต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายคือปฏิเวธ 2. ด้านการทำงาน&nbsp; ต้องส่งเสริมให้เกิดหิริโอตตัปปะและวิริยะในการทำงาน มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ และไม่ทุจริตต่อหน้าที่ที่รับมอบหมาย 3. ด้านการพัฒนาตัวเอง การพัฒนาต้องพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ตามหลักภาวนา 4 และ 4. ด้านการปฏิบัติธรรม นำหลักสัมมาวายะ มาเป็นหลักในการการทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว ต้องอาศัยหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป และ 2. ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น</p> 2024-06-27T14:55:12+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1324 การจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม 2024-06-28T11:42:00+00:00 เขม เมืองมา kemmueangma1993@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม ผลการศึกษาพบว่า ความเครียด คือ การสนองตอบที่ระบุชัดเจนไม่ได้ของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์บางอย่าง ซึ่งคุกคามต่อความปลอดภัยของชีวิต เป็นผลให้บุคคลมีการปรับตัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีสาเหตุมาจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอกและจากปฏิกิริยาตอบสนอง เช่น ความกังวล ความเสียใจ ความตื่นกลัว เป็นต้น ซึ่งส่งผล 3 ทาง คือ ทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางพฤติกรรม การบริหารจิตเป็นวิธีการจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม เพราะพุทธศาสนาถือว่าจิตที่ไม่สามารถรู้ทันอารมณ์ย่อมแปรปรวน มีสภาพเป็นทุกข์ การบริหารจิตอย่างถูกต้องปรากฏอยู่ในคำสอนเรื่องสติปัฏฐาน โดยเฉพาะในข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกำหนดรู้จิตของตนเองด้วยกำลังของสมาธิ นอกจากนั้นยังมีหลักการจัดการความเครียดตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา ซึ่งถือเป็นหลักของการแก้ความเครียดแบบองค์รวม</p> 2024-06-27T14:56:49+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1326 การบรรลุธรรมของฆราวาสในพระพุทธศาสนา 2024-06-28T11:42:01+00:00 สุทัศน์ ภาณิสสรวงค์ monggoog555@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมของฆราวาสในพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>การบรรลุธรรมคือการเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ โสดาบัน (ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน) สกทาคามี (ผู้จะกลับมาเกิดในโลกอีกเพียง 1 ครั้ง) อนาคามี (ผู้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก) และอรหันต์ (ผู้ผู้หักซึ่งวงล้อแห่งสังสารวัฏได้แล้ว) ผู้ที่บรรลุธรรม 4 ระดับอาศัยเกณฑ์การละสังโยชน์เป็นเครื่องพิจารณา เรียกว่าคนที่บรรลุธรรมนี้ว่า อริยบุคคล</p> <p>การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นการเข้าถึงสภาวธรรมอันประเสริฐ โดยไม่จำแนกเพศ อายุ ความเป็นนักบวชหรือฆราวาส ทำให้พบว่า มีฆราวาสที่บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก สถานะหลังจากการบรรลุธรรมของฆราวาสจะมีความแตกต่างกันไปตามระดับชั้นของการบรรลุธรรม กล่าวคือ ระดับโสดาบัน จะมีชีวิตเหมือนคนทั่วไป มีความรัก ความโศกเศร้าเสียใจ ประกอบอาชีพได้เช่นเดิม แต่จะมีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และยึดมั่นในศีล ทาน ภาวนา ระดับสกทาคามี จะมีชีวิตเหมือนระดับโสดาบัน แต่ราคะ โทสะ และโมหะ จะเบาบางลง ระดับอนาคามี เป็นระดับที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะสามารถกำจัดราคะ โทสะ และโมหะได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว ระดับอรหันต์เป็นระดับสูงสุด ผู้บรรลุระดับนี้ควรออกบวชในทันทีเพื่อให้สมควรแก่ภาวะของตน</p> 2024-06-27T14:58:23+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1327 ถีนมิทธะ : เครื่องกั้นจิตในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 2024-06-28T11:42:01+00:00 พระวันจักร มงฺคลปุญฺโญ lolayjung1995@outlook.co.th <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขถีนมิทธะที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก ผลการศึกษา พบว่า ถีนมิทธะเป็น 1 ในนิวรณ์ 5 ประการ ที่เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรม เป็นอุปสรรคแก่ทำสมาธิ ถีนมิทธะหมายถึงความเศร้าซึม ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ผู้ที่ถูกถีนมิทธะครอบงำเปรียบเหมือนคนที่ถูกจองจำในคุก ไม่มีโอกาสได้พบกับความรื่นเริงได้ ถีนมิทธะเกิดจากอโยนิโสมนสิการ คือ การไม่ทำใจให้มั่นคง และเกิดจากสาเหตุ 5 ประการ ได้แก่ 1. อรติ ความไม่ยินดี 2. ตันทิ ความเกียจคร้าน 3. วิชัมภิตา ความอ่อนเพลีย 4. ภัตตสัมมทะ การเมาอาหาร และ 5. เจตโส ลีนัตตัง ความหดหู่ไม่ชื่นบาน การแก้ถีนมิทธะ คือ การไตร่ตรองพิจารณาอย่างแคบคายด้วยความเพียร 3 ลำดับ คือ การเริ่มต้นอย่างจริงจัง (อารัมภธาตุ) การดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (นิกกมธาตุ) และ การพยายามอย่างบากบั่น (ปรักกมธาตุ) พร้อมทั้งการประยุกต์ใช้อุบายแก้ง่วง 8 ประการ คือ 1) ไม่นึกถึงความง่วง 2) ไตร่ตรองพิจารณาธรรมะ 3) สวดมนต์หรือสาธยายธรรม 4) บีบนวดตัว 5) ใช้น้ำลูบหน้า 6) ลืมตาดูความสว่าง 7) ลุกเดินตงกรม และ 8) นอนสมาธิ</p> 2024-06-27T15:00:27+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1310 ภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา 2024-06-28T11:42:01+00:00 เตชิน อิสระภาณุวงค์ wiwat_bigbang@hotmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ภาวะตื่นรู้เป็นภาวะที่บุคคลมีความสมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ รู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่หลงในอดีตและอนาคต ไม่ลุ่มหลงในอบายมุขหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเพราะเป็นการพัฒนาทั้งกาย จิต และปัญญา การพัฒนาภาวะตื่นรู้สามารถพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ การพัฒนาศีล เป็นการพัฒนาความพร้อมทางด้านกายภาพ การพัฒนาสมาธิ เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ และการพัฒนาปัญญา เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยปรโตโฆสะและโยนโสมนสิการ</p> 2024-06-27T00:00:00+00:00 ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/SB/article/view/1322 โหราศาสตร์ในพระไตรปิฎก 2024-06-28T11:42:01+00:00 พระครูอาทรสุตวิธาน สายวงศ์คำ Prapotsarat123@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์โหราศาสตร์ในพระไตรปิฎก เป็นการศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการพยากรณ์ซึ่งมาประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องมือหลักในการพยากรณ์ โหราศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การทำนายด้วยลางบอกเหตุ (Omen) เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2) การทำนายโดยอาศัยอำนาจจิตหรืออ้างอำนาจเทพเจ้า 3) การทำนายด้วยสัญลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคล และ 4) การทำนายด้วยการเสี่ยงทาย</p> <p>ในพระไตรปิฎก ได้ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การได้รับการพยากรณ์จากบุคคลอื่น เช่น การได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า การได้รับพยากรณ์ในกรณีพระพุทธมารดาทรงสุบินเห็นช้างเผือก การได้รับคำทำนายพระลักษณะจากพราหมณ์ 108 เป็นต้น 2. การได้พยากรณ์ด้วยตนเอง เช่น การทำนายความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล การพยากรณ์ความฝันของพระองค์เอง เป็นต้น 3. การเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ เช่น ทรงศึกษาวิชา โชติสศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการดูดาว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงมีท่าทีปฏิเสธต่อวิชาโหราศาสตร์ โดยถือว่าเป็นเดรัจฉานวิชา เพราะไม่ใช่วิชาที่มุ่งตรงต่อพระนิพพานโดยตรง จึงทรงมีพระวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุเรียนวิชาโหราศาสตร์ แต่ทรงอนุญาตให้เรียนวิชาการดูดาวเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การเดินทางและการกำหนดฤดูกาลเท่านั้น</p> 2024-06-27T15:05:01+00:00 ##submission.copyrightStatement##