การฆ่าตัวตายในมุมมองทางพระพุทธศาสนา

  • จันทรัสมิ์ ตาปูลิง วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: การฆ่าตัวตาย, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฆ่าตัวตายในมุมมองทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า การฆ่าตัวตาย (Suicide) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ในด้านจิตวิทยาถือว่าเป็นไปตามสัญชาตญาณแห่งความตาย (death instinct) และความรู้สึกผิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งอื่น แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการมีชีวิตอยู่และความคุ้มค่าทางด้านทรัพยากรบุคคล พระพุทธศาสนาถือว่าการฆ่าบุคคลอื่นหรือการฆ่าตนเองนั้นเป็นบาป ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงการฆ่าตัวตายของภิกษุ  เช่น พระฉันนะ พระโคธิกะ และพระวักกลิ เป็นต้น ส่วนมากมีสาเหตุมาจากการต้องการพ้นทุกข์ที่เกิดจากการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและพ้นจากทุกข์ที่อยู่ในวัฏสงสาร แต่ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้นถือว่าการฆ่าตัวตาย เป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง เพื่อการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง

บรรณานุกรม

ชวนีย์ พงศาพิชญ์. (2542). “การฆ่าตัวตาย: ปัญหาในยุคสังคมวิกฤต”. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 11 (29) : 24-29.

พระธิติวุฒิ จนฺทโสภโณ (หมั่นมี). (2549). “การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาอัตวินิบาตกรรมตามแนวพุทธจริยศาสตร์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬากรณราชวิทยาลัย.

พระสัทธัมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2525). ปรมัตถะโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริเฉท 5 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุทธิการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). “คุณภาพชีวิตของคนไทย: นัยจากสถิติการฆ่าตัวตาย”. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2 (2) : 50-65.

อนุพงศ์ คำมา. (2556). “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย”. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58 (1) : 3-16.
เผยแพร่แล้ว
2023-12-29