ศึกษารูปแบบการปฏิกรรมฐานของครูบาเจ้าผ้าลาย วัดขุ่ม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • พระอนุสรณ์ รักติประกรฐานวุฑฺโฒ รักติประกร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: รูปแบบการปฏิบัติกรรมฐาน, ครูบาเจ้าผ้าลาย, แม่ฮ่องสอน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานของครูบาเจ้าผ้าลาย วัดขุ่ม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติกรรมฐานของครูบาเจ้าผ้าลาย ภัททิโย แห่งวัดขุ่ม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการฝึกเจริญอานาปานสติ และ สติปัฏฐาน 4 วัตรปฏิบัติด้านแนวทางสติปัฏฐาน 4 หรือการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมในขณะปัจจุบัน โดยไม่มีการสมมติถึงการเป็นของเขาและเรา การชอบหรือชัง และให้เห็นถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสภาวะทั้งสี่ ชาวบ้านเชื่อถือว่า ท่านหลุดพ้นจากการติดข้องในรูปนามและพระวินัย โดยเฉพาะอุปนิสัยเป็นผู้ที่อยู่ในพระธรรมวินัยทางศาสนา เป็นผู้ประพฤติดี สมถะ อ่อนโยน ไม่แสดงตนต่อสายตาบุคคลภายนอกมากนัก ครูบาผ้าลายจะไม่สอนธรรมะด้วยคำพูด แต่จะสอนด้วยการปฏิบัติให้เป็นปริศนาธรรม ท่านยังเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าหยั่งรู้สภาวะจิตของคนได้ ท่านมีญาติโยมลูกศิษย์เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรูปแบบการปฏิบัติธรรมเป็นเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นเขาถึงพุทธศาสนิกชนได้โดยง่าย

บรรณานุกรม

กลุ่มศรัทธาหลวงปู่ครูบาผ้าลาย ภัททิโย วัดขุ่ม. (2566). บอกขานตำนานพระอริยสงฆ์เดินดินถิ่นบัวตอง จ.แม่ฮ่องสอน. [ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://forum.uamulet.com/view_topic. aspx?bid=4&qid=52932 [13 พฤศจิกายน 2566].

พระญาณธชเถระ (แลดีสยาดอ). (2539). อานาปานทีปนี. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร : วัดราชโอรสาราม, 2551.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2545). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2548). วิปัสสนานัย เล่ม 1 แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอ เซ็นเตอร์ จำกัด.

พุทธทาสภิกขุ. (2538). วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม : ปาฐกถาพิเศษ วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: พุทธสมาคม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. (2567). วันใหม่ นิยม : ครูบาบุ่นจางหมาย“เจ้าผ้าลาย” ตนบุญแห่งขุนยวม (1 ม.ค. 2554). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://lek-prapai.org/home/ view.php?id=553 (1 มิ.ย. 2567)
เผยแพร่แล้ว
2023-12-29