การรักษาอุโบสถศีลในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิจัย มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการรักษาอุโบสถศีลในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาอานิสงส์การรักษาอุโบสถศีลในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า
การรักษาอุโบสถศีล คือ การรักษาศีล 8 ในวันธัมมัสสวนะ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 3 เดือน ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลนั้นจะมาพักค้างแรมที่วัดหรือสมาทานรักษาที่บ้านของตนก็ได้ การรักษาอุโบสถศีลนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงตัวอย่างของการรักษาอุโบสถศีลของพระเจ้ามฆเทวะ พระเจ้านิมิราช พระเจ้าเนมิราช พระเจ้าสาธินราช เป็นต้น สำหรับอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีลนั้นสามารถจำแนกเป็น 3 ประการ คือ ประโยชน์ของปัจจุบัน ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างสูง คือ พระนิพพาน นอกจากนั้น อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีลยังวิเคราะห์ลงในบทสรุปของศีล คือ ศีลนำไปสู่สุคติ ศีลนำไปสู่ความมั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ และศีลนำไปสู่พระนิพพาน
บรรณานุกรม
พระครูวชิรธรรมาภิรม (วิเชียร ชินทตฺโต). (2555). “ศึกษารูปแบบและคุณค่าของอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธีระศักดิ์ อธิปุญฺโญ (เที่ยงธรรม). (2561). “การศึกษาวิเคราะห์ผลการรักษาอุโบสถศีลของพุทธศาสนิกวัดตลาดใต้ จังหวัดปทุมธานี ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุณยเกียรติ วรธมฺโม (พลเยี่ยม). (2548). “การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่เกื้อหนุนต่อการรักษาอุโบสถศีลของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณี พะยอมยงค์. (2537). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิริพร ทาชาติ. (2550). “การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ : กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุวัดป่าหนองแซงจังหวัดอุดรธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.