แนวคิดว่าด้วยพิธีกรรมขอฝนในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยพิธีกรรมการขอฝน และ 2. เพื่อวิเคราะห์พิธีกรรมของฝนในพระพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมการขอฝนเป็นพิธีที่ปรากฏในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน พบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่เดิมนั้นเป็นพิธีกรรมตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น จนเมื่อประเทศไทยได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนา พิธีกรรมการขอฝนจึงมีพิธีทางพระพุทธศาสนาร่วมด้วย พิธีกรรมการขอฝนที่ปรากฏในสังคมไทย เช่น การแสดงธรรมมัจฉา การแห่พระเจ้าไม้แก่นจันทน์ การจุดบั้งไฟ การแห่ช้างเผือก เป็นต้น พิธีกรรมการขอฝนไม่ปรากฏในพระพุทธศาสนา แต่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสาเหตุของฝนตกและในไม่ตกไว้ คือ 1. สาเหตุที่ทำให้ฝนตก ได้แก่ พระราชาทรงธรรม อำนาจของพระอินทร์ อำนาจของเทวดา และอำนาจของสัตว์มงคล 2. สาเหตุที่ทำให้ฝนแล้ว ได้แก่ พระราชาไม่ทรงธรรม พระราชาพูดเท็จ และมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
บรรณานุกรม
พงษ์จันทร์ คล้ายสุบรรณ์. (2541). ตำนานการขอฝน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระครูนันทเจติยาภิบาล (สักขี ไชยา). (2560). การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมและคุณค่าของพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมพญามัจฉาปลาช่อน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิริสุตานุยุต. (2565). “พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่”. ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. (2547). สารานุกรมไทยสำหรับเยาชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 18. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
พระปันแก้ว อินฺทปญฺโญ (วัทไล). (2564). “การศึกษาพิธีกรรมการขอฝนในล้านนา โดยศึกษาพิธีแห่พระเจ้าไม้แก่นจันทน์ วัดป่าตันหลวง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตรี สิระโรจนานันท์. (2561). “พระอินทร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 5 (1) : 44-63.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สานุ มหัทธนาดุล. (2558). “คำตอบของพระพุทธศาสนาเรื่องความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบนิยาม 5”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุทธิรักษ์ โกช่วย. (2559). “สัญลักษณ์ บทบาทหน้าที่และคุณค่าของพิธีกรรมการขอฝน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
หลวงประจักษร์สัชฌุการ (อุดม ทัตตานนท์). (2505). นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์, ธนบุรี: โรงพิมพ์ส่งเสริมอาชีพ.
อนุชน หวลทรง และคณะ. (2558). “พระเจ้าในแสนห่าและมอมกับพิธีกรรมขอฝนให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม”. รายงานการวิจัย. กระทรวงวัฒนธรรม.