แนวคิดเรื่องการครองใจคนในมุมมองของพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการครองใจคนในมุมมองของพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะและต่างก็ต้องการเป็นที่ยอมรับเคารพนับถือ มีศรัทธาต่อกัน เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้นมีการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้มากมาย แนวคิดเรื่องการครองใจคนเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยที่เกิดจากแนวคิดของผู้นำ ผู้ร่วมงานสภาพแวดล้อม หรือปัจจัยที่เกิดจากความสัมพันธ์ภายนอก การครองใจคน จึงหมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ เข้าใจ สามารถปฏิบัติตนเพื่อความสุขของตนเองและผู้อื่น มนุษย์จึงมองหาสิ่งยึดเหนี่ยวเพื่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่สามารถนำมาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งมีธรรมชาติเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันตลอดเวลา มีความเกี่ยวพันกันทั้งทางตรงและทางอ้อม การครองใจจึงมีหลักการและเคล็ดลับ ที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นมาได้
บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรทัย เทพวิจิตร. (2543). บุคลิกภาพครองใจคน. นครปฐม: สำนักพิมพ์บันลือกิจ.