การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา

  • พระอานนท์ อานนฺโท ทองอินทร์ วัดป่าเหว จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ: การพัฒนาสุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา เพราะคำนึงถึงผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มักจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ จากสภาพความเปลี่ยนแปลงของเวลาที่ได้เสื่อมลงลดถอยตามธรรมชาติ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา ทำให้ผู้สูงอายุเป็นจำนวมากที่ใช้บริการสุขภาพและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นในทุกปี การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดีและมีความมั่นคง การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาสุขภาวะทางพุทธศาสนา คือ การมีสภาพชีวิตที่เป็นผลมาจากความสามารถในการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิตในโลกหรือสังคมปัจจุบันนั้นเอง แนวทางการการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุในทางพระพุทธศาสนาและนำไปสู่การพัฒนา ประกอบด้วย 1. การกำหนดนโยบายด้านการบริหารสุขภาวะอย่างชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง 2. พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะตามแนวพุทธศาสนาต่าง ๆ ให้มีการปรับปรุงอยู่เสมอ 3. วางระบบกระบวนการหลักธรรมที่เกี่ยวกับสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพต่อผู้สูงอายุในการพัฒนา

บรรณานุกรม

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เจ. เอส. การพิมพ์.

กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย .(2530). ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนดินแดง. กรุงเทพมหานคร: กองสวัสดิการสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). “สังคมผู้อายุ (อย่างสมบูรณ์) ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”. วารสาร กึ่งวิชาการ. 38 (1) : 6-28

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและ สุขภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เผยแพร่แล้ว
2023-06-30