การบริหารจัดการชุมชนสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการชุมชนสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนสงฆ์คณะแรกที่เข้ามาสู่พระพุทธศาสนาคือกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ พัฒนาการของชุมชนสงฆ์สามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็นงานหลัก ลักษณะงานที่จัดเป็นแผนก และลักษณะงานที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน สำหรับในปัจจุบัน ชุมชุนสงฆ์มีการจัดโครงสร้างองค์กรการปกครองคณะสงฆ์จากบนลงล่าง มีพระธรรมวินัยและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาใช้ในการปกครองและการบริหารจัดการชุมชนสงฆ์ ใน ด้านแนวคิดการบริหารจัดการชุมชนสงฆ์ ประกอบด้วยการบริหารจัดการโดยพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงให้ถือสังฆะเป็นใหญ่ โดยปรารภธรรมเป็นใหญ่ ใช้ธรรมาธิปไตยในการปกครอง ทรงมอบอำนาจให้สงฆ์ดำเนินการทุกอย่าง โดยสามารถแบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารจัดการในมัชฌิมชนบทหรือส่วนกลาง และการบริหารจัดการในปัจจันตชนบทหรือส่วนรอบนอก
บรรณานุกรม
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ความหลากหลายของชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สายธาร.
พระครูปลัดอาทิตย์ อตฺณวที. (2546). “การศึกษาแนวคิดและวิธีการปกครองคณะสงฆ์ของพระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตโต) : ศึกษาเฉพาะกรณีพระสังฆาธิการในเขตปกครองภาค 2”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2550). สังฆาธิปไตย: ระบบการปกครองสงฆ์. พะเยา: กองทุนเพื่อเอกสารตำราทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเมืองพะเยา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). นิติศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
พระมหาวรชัย กลิ่งโพธิ. (2539). “การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2484”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาสมเดช ศรีลางัด. (2544). “การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดทางการปกครองของพระพุทธศาสนาและของอริสโตเติล”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: จูน พับลิชชิ่ง.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2501). วินัยมุข เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุวรรณ เพชรนิล. (2536). พุทธปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสถียร โพธินันทะ. (2541). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.