ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจุลกฐินในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของกฐินในพระพุทธศาสนา และ 2. เพื่อศึกษาความเป็นมาของจุลกฐินในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า กฐิน มีความหมายที่ครอบคลุมถึงเครื่องมือ (สะดึง) พิธีกรรม ผ้า และสังฆกรรม ในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้นปรากฏเฉพาะพระพุทธานุญาตเรื่องกฐิน ส่วนจุลกฐินนนั้นไม่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎก แต่มีหลักฐานในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา จุลกฐิน คือ กฐินเร่งด่วนที่จะต้องทำให้เสร็จภายใน 1 วัน มีเค้าเรื่องจากการที่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ร่วมกันเย็บผ้าจีวรถวายแก่พระอนุรุทธให้ทันเวลาในช่วงวันสิ้นสุดของเทศกาลกฐิน และสอดคล้องกับตำนานเชียงตุง ซึ่งกล่าวตรงกันว่า ผ้าจุลกฐินนั้นจะต้องทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ด้วยความที่ต้องจำกัดด้วยเวลา ต้องใช้คนจำนวนมากช่วยกันทำผ้ากฐิน และทำในวันสุดท้ายของเทศกาลทอดกฐิน ทำให้มีความเชื่อว่า การทอดจุลกฐินมีอานิสงส์มากกว่ากฐินทั่วไป
บรรณานุกรม
คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. (2536). วิชา วินัยมุข เล่ม 3 ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
จิตร สมบัติบริบูรณ์. (2548). กฐินทาน. กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสงการพิมพ์.
พระกรวุฒิ ธมฺมทสฺสี. (2558). “ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าจุลกฐินในสังคมล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดพิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต. (2554). “ศึกษาวิเคราะห์ประเพณีจุลกฐินของชาวพุทธล้านนา: กรณีศึกษาวัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). กฐินสู่ธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). กฐิน : บทฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย บนฐานแห่งการให้และการร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: วัดญาณเวศกวัน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระมหาบุญชิต ญาณสํวโร. (2532). กฐิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ.
พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี. (2565). “จุลกฐิน : วิถีพุทธ วิถีเส้นฝ้าย และวิถีแห่งชีวิต”. ในงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.
พระยาอนุมานราชธน. (2531). วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทย. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา.
พระสุพจนมุนี ผินธรรมประทีป. (2538). กฐินกถา. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณี 1๒ เดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: ส ทรัพย์การพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2528). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒5๒5. กรุงเทพมหานคร: แพร่วิทยา.
สมทรง ปุญญฤทธิ์. (2525). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมบูชา.
หลวงวิจิตรวาทการ. (2479). ตำนานกฐิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร.
หลวงวิจิตรวาทการ. (2523). ศาสนาสากล (เล่ม 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี.
อานนท์ อาภาภิรมย์. (2525). สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.