ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ของชาวพุทธในล้านนา

  • พระปลัดอาทิตย์ อิทฺธิโชโต ก้อนแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: โหราศาสตร์, ล้านนา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ของชาวพุทธล้านนา พบว่า ชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์เพราะได้อิทธิพลทางด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธรวมกัน ทำให้เกิดพิธีกรรมที่แตกต่างไปจากพระพุทธศาสนาทั่วไป เช่น พิธีสืบชะตาสะเดาะเคราะห์ พิธีถอนอัปมงคล (ขึด) เป็นต้น โดยพระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธีหรือทำหน้าที่เป็นโหราจารย์ โหราศาสตร์ในสังคมล้านนามีการนำมาใช้กันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของฤกษ์ยาม ตำราพรหมชาติ ทำให้เกิดประเพณีฟังธรรมตามปีเกิด การตั้งชื่อตามวันเกิด การบูชาผี เป็นต้น โดยพิธีกรรมนั้นมีการประยุกต์ผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว นอกจากนั้น โหราศาสตร์ยังมีผลกระทบทั้งในเชิงบวก คือ ทำให้เกิดความสบายใจ ส่งเสริมให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของการกระทำ และใช้ชีวิตโดยมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทางจิตใจ มีศีลเป็นกรอบที่ควบคุมการกระทำ เป็นต้น ส่วนผลกระทบในเชิงลบ ทำให้เกิดความประมาท เกิดความงมงาย เป็นต้น

บรรณานุกรม

ประพันธ์ เตละกุล. (2543). ดาราศาสตร์และอวกาศ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. เอส อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระประเสริฐ ชุตินฺธโร (สุนทรวัฒน์). (2542). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เรื่อง ไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์ ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุนทร เฉลยชัย. (2550). “ปรากฏการณ์ความเชื่อไสยศาสตร์ในวัยรุ่นชาวไทยพุทธ: กรณีศึกษานักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และหลักสูตรศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รอบทิศ ไวยสุศรี. (2551). “การศึกษาวิเคราะห์พระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายในการปฏิบัติธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑ (เชียงใหม่). (2559). สุขภาพจิตดี..ด้วยวิถีล้านนา. เชียงใหม่: หจก. นันทการต์ กราฟฟิค/การพิมพ์.

แสงสวาท วงค์ใหญ่ และคณะ. (2547). “การศึกษาและการวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในคัมภีร์ใบลานล้านนา”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Anthony Philip Stone. (1981). Hindu Astrology : Myths, Symbols and Realities. India: Select Books.

R.C. Majumdar. (1977). Ancient India. India : Motilal Banarsidass.
เผยแพร่แล้ว
2022-12-30