กรรมฐานในล้านนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในล้านนา เป็นการศึกษาเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบและวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานในล้านนา มีอยู่ 5 สาย ได้แก่ 1) สายธุดงค์ (พุทโธ) 2) สายอานาปานสติ 3) สายวิปัสสนากัมมัฏฐานแบบสติปัฏฐาน (ยุบหนอ พองหนอ) 4) สายวิชชาธรรมกาย (สัมมาอรหัง) และ 5) สายประยุกต์ แต่ของล้านนาได้ยึดแบบคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้เพิ่มเติมการใช้ลูกประคำเข้ามา วิธีปฏิบัติกรรมฐานล้านนาเริ่มจากการกล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย การขอขมาแก้ว 5 โกฐาก การตัดความห่วง การสลัดนิวรณ์ การเลือกสถานที่อันเหมาะสมในการปฏิบัติ รูปมีการภาวนา ได้แก่ วิธีภาวนาอสุภะ วิธีภาวนาอนุสติ การภาวนาอานาปานสติ การภาวนาพรหมวิหาร การภาวนาอาหาเรปฏิกุลสัญญากัมมัฏฐาน การภาวนาจตุธาตุววัตถานกัมมัฏฐาน การภาวนาปถมอรูปฌาน การเจริญภาวนาพรหมวิหารธรรม มีการเจริญภาวนาทิฏฐิวิสุทธิ การเจริญกังขาวิตรณวิสุทธิญาณ และวิปัสสนาญาณกัมมัฏฐาน การภาวนาวิปัสสนาอุทยวยญาณ แต่มีความพิเศษแตกต่างไปจากคัมภีร์กัมมัฏฐานอื่นๆ คือ มีการเสริมด้วยบทสวดบริกรรมยาวๆ การเดินจงกรม และยังมีการบริกรรมภาวนาในขณะบิณฑบาตและคำภาวนาเบ็ดเตล็ด
บรรณานุกรม
ณอภัย พวงมะลิ. (2561). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำพระผาคอก อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พระครูภาวนากิจสุนทร. (2562). “ศึกษารูปแบบและกระบวนการสอนวิปัสสนากัมมัฎฐาน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (3) : 1590.
พระครูเมธานันทกิจ และ ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2562). “กัมมัฏฐานล้านนา: กระบวนการสั่งสมบุญบารมีและพัฒนาตน”. วารสารไทยศึกษา. 15 (1) : 39.
พระโพธิรังสี. (2495). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญชัย. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจเทรดดิ้ง.
พระยาประชากิจกรจักร. (2516). พงศาวดารโยนก. พิมพ์ครั้งที่ 7. พระนคร: คลังวิทยา.
วิโรจน์ อินทนนท์. (2559). “กัมมัฏฐานล้านนา : รูปแบบ วิธีปฏิบัติและการสืบทอด”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, พระครูธีรสุตพจน์ และ ธณิกานต์ วรธรรมานนท์. (2559). “กัมมัฏฐานโบราณล้านนา”. รายงานการวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม: กระทรวงวัฒนธรรม.
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, พระครูธีรสุตพจน์ และ ธณิกานต์ วรธรรมานนท์. (2560). “กัมมัฏฐานโบราณล้านนา : ที่มา ลักษณะ และการเสื่อมสูญ”. วารสารพื้นถิ่น โขง ชี มูล. 3 (2) : 184 - 187.
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี และ ธณิกานต์ วรธรรมานนท์. (2561). “ลักษณะกัมมัฏฐานสมัยครูบาศรีวิชัย”. วารสารพุทธศิลปกรรม. 1(2) : 11-12.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2545). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.