หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

  • พระพัฒนา ปญฺญาสาโร พุทธามาส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: เศรษฐกิจพอเพียง, พระพุทธศาสนา, ปรัชญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2. เพื่อศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงความสุข ความเจริญแห่งชีวิตและสังคม มีปรากฏในพระไตรปิฎกคือการปฏิบัติตามหลักทิฎฐธัมมิกัตถสังวัต ตนิกธรรม หลักโภควิภาคธรรม ในการใช้จ่ายแบ่งทรัพย์ หลักสันโดษ การมีภูมิคุ้นกันตัวเองที่ดี เป็นไปตามหลักการพึ่งตนเอง หลักในกุลจิรัฏฐิติธรรม และหลักสัปปุริสธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมไทย เกิดขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงดำริขึ้น มีองค์ประกอบอยู่ 5 ส่วน เรียกว่า สามห่วง สองเงื่อนไข การประยุกต์ใช้ให้ได้ผลในการดำเนินชีวิต เริ่มจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเหตุและผล เป็นคนใฝ่รู้ รู้จักตนเอง เสียสละเพื่อส่วนรวม มองการณ์ไกลไม่ประมาทและมีศีลธรรม

บรรณานุกรม

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

บุญชู ศรีเคลือบ. (2554). “การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของบุคลากรทาง การศึกษา ในสังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2551). การวิเคราะห์การก่อเกิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยปฏิฐานนิยมและ หลังปฏิฐานนิยม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2548). กรณีศึกษาชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียง. กรุงเทพมหานคร: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2547). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.
เผยแพร่แล้ว
2022-12-30