ภาษาบาลีกับการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นของภาษาบาลี และความสำคัญของภาษาบาลี เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่า ภาษาบาลีหรือภาษามคธเป็นภาษาของชาวมคธโบราณ ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร เป็นภาษาพูดทักทายติดต่อสื่อสารกัน ภาษาบาลีนั้นถือว่าเป็นภาษาสำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีประกาศพระศาสนา ภาษาบาลีจึงเป็นภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น ผู้ใคร่การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงควรอย่างยิ่งที่ต้องใส่ใจในการเรียนรู้ภาษาบาลี ภาษาบาลีนับว่าสำคัญยิ่งเพราะเป็นที่ดำรงอยู่ และความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา พระสัทธรรมจะปฏิรูป แปรเปลี่ยนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ให้ถ่องแท้ในภาษาบาลี และภาษาลีนั้นจึงเป็นกุณแจสำคัญยิ่งที่จะนำผู้ศึกษาได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง
บรรณานุกรม
พระมหาปราโมทย์ ปโมทิโต. (2540). “ประสบการณ์ในการประกอบศาสนกิจ”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 44. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย.
พระมหาเทวัญ วิสุทฺธิจารี. (2545). “ปัจจัยที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาบาลีระดับเปรียญตรี”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2531). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธแท้. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสถียร โพธินันทะ. (2543). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อบรม สินภิบาล และคณะ. (2522). พื้นฐานการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียร์.
Wilhelm Geiger. Pali Literature and Language. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Ltd.