ความเชื่อและวิถีปฏิบัติต่อต้นโพธิ์ในสังคมล้านนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความเชื่อและวิถีปฏิบัติต่อต้นโพธิ์ในประเทศไทย และ 2. เพื่อศึกษาความเชื่อและวิถีปฏิบัติต่อต้นโพธิ์ในสังคมล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ต้นโพธิ์ในประเทศไทยนั้นมีการปลูกในสมัยทราวดี ประมาณ พ.ศ.1432 โดยพระมหาเถรไหล่ลายได้นำมาพันธุ์มาจากศรีลังกา ในสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการนำพันธุ์ต้นโพธิ์มาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียมาปลูกและขยายพันธ์ไปทั่วประเทศ ในสังคมล้านนาเรียกต้นโพธิ์ว่า “ต้นศรี” หรือ “ต้นสะหรี” ชาวล้านนาถือว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ห้ามตัดหรือทำลายโดยเด็ดขาด ผู้ที่ตัดมีโทษเช่นเดียวกับการทำอนันตริยกรรม ต้นโพธิ์มีอิทธิพลต่อชาวล้านนาในประเพณี เช่น การถวายไม้ค้ำโพธิ์ การถวายนมสดรดต้นโพธิ์ เป็นต้น เรื่องราวของต้นโพธิ์ได้รับการจารึกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและหลักศิลาจารึกเป็นจำนวนมาก ส่วนมากกล่าวถึงอานิสงส์ ความสำคัญและข้อห้ามสำหรับต้นโพธิ์ ส่วนอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมล้านนา ชาวล้านนานิยมนำกิ่งของต้นโพธิ์ไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป
บรรณานุกรม
กรรณิการ์ พันชนะ. (2537). ภาษาวัฒนธรรม. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
ฉัตรชัย แซ่ฉั่ว. (2548). “วัดศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมโหสด จังหวัดปราจีนบุรี”. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). “โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว”. วารสาร มฉก.วิชาการ. 14 (27) : 69-84.
นวกฤด เหงกระโทก. “การศึกษาคุณค่า และคติธรรมของต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย..
เผ่าทอง ทองเจือ. (2546). พระศรีมหาโพธิ์จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิไลรัตน์ ยังรอด และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. (2551). คู่มือท่องเที่ยว –เรียนรู้ : สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพมหานคร: มิวเซี่ยมเพลส.
ศิริพงษ์ ศักดิ์สิทธิ์. (2554). “คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2550). “เชียงใหม่” ในตามเส้นทางงานช่างโบราณ ประวัติศาสตร์ศิลปะกับการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2503). เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป. พระนคร: กรมศิลปากร.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์.
สุรชัย จงจิตงาม. (2549). ท่องเที่ยว เรียนรู้ : ล้านนา เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง. กรุงเทพมหานคร: มิวเซี่ยมเพลส.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535). ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง. สถาบันไทยศึกษา: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยร.
สุรีย์ ภูมิอมร. (2546). พระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ที่มีคนกราบไหว้มากที่สุดในโลกในพระศรีมหาโพธิ์จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย.
อภิญญา เงินดี. (2554). “การศึกษาความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมของพระพุทธศาสนาในฐานะทุนทางสังคมวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนชายแดนไทย-พม่า สองฝั่งแม่น้ำเมย”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิญญา นนท์นาท. (2554). “แนวคิดและความสำคัญของต้นพระศรีมหาโพธิ์สมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์. คณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัครพงษ์ ค่ำคูณ. (2546). โพธิ์ : เรื่องที่เรายังไม่รู้ในพระศรีมหาโพธิ์จากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย.
แม่ชีจันทร์ธิภา แสวงทรัพย์. (2557). “การศึกษาความสำคัญของโพธิมณฑลในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.