ลูกประคำ : เครื่องมือของการปฏิบัติธรรมในล้านนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของลูกประคำ และ 2. เพื่อศึกษาลูกประคำในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติกัมมัฏฐานในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ประคำ หมายถึง ลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนา ไม่มีปรากฏในสมัยพุทธกาลและในพระไตรปิฎก สำหรับในล้านนานั้น ไม่มีหลักฐานว่าประคำเกิดขึ้นในสมัยใดหรือใครเป็นผู้สร้างขึ้นครั้งแรก แต่มีการใช้แพร่หลายในสมัยของพระเจ้ากาวิละ พระสงฆ์ล้านนาใช้ประคำในการเจริญภาวนา เพื่อฝึกให้จิตมีกำลังอดทนต่อการก่อกวนของกิเลส วิธีการนับลูกประคำให้น้อมใจระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ใช้นิ้วหัวแม่มือนิ้วกลางข้างขวาเท่านั้น การนับนั้นจะนับจนครบ 108 ลูก แล้วนับย้อนกลับใหม่ ลูกประคำใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน 4 ฐานะ คือ 1) ปริกัมมนัยยะ ในฐานะเป็นเครื่องมือในการบริกรรม 2) คณนาปริกัมมนัยยะ ในฐานะเป็นเครื่องมือในการนับ 3) อนุสสรณานัยยะ ในฐานะเป็นเครื่องมือในการระลึกตาม และ 4) ในฐานะเป็นเครื่องสร้างความหลุดพ้น
บรรณานุกรม
นพวรรณ จงวัฒนาและคณะ. (2542). ข้อมูลผู้สูงอายุที่น่าสนใจ (Database on Ageing Population). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2555). “บทบรรณาธิการ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ หนึ่งกระบวนการ สามองค์ประกอบของการศึกษาพุทธวิชชา”. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 19 (1) : 4.
พระครูกัลยาณปริยัติกิจ (อำนาจ กลฺยาณธโร). (2561). “ศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: ช่อระกา.
พระบุญทรง หมีดำ (ปุญฺญธโร). (2549). “ปัญหาและทางออกของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์ลักษณ์.