การดูแลผู้สูงอายุเชิงพุทธ

  • พระชาญณรงค์ อตฺตทนฺโต เสาร์รัตน์ไพร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, พุทธบูรณาการ, การดูแล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี 2574 โดยวัดจากจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด การเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งทางภาครัฐ ภาคสังคม รวมทั้งศาสนาด้วย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของสังคมไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุนี้ อนึ่ง มีคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากที่กล่าวถึงการดูแลผู้สูงอายุ เช่น หลักภาวนา 4 หลักสังคหวัตถุ 4 ตลอดถึงแนวทางการเจริญสมาธิ ที่สามารถนำมาประยุกต์เป็นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นหลักธรรมที่สร้างความสมดุลให้แก่บุคคลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

บรรณานุกรม

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรสูงอายุไทย : ปัจจุบันและอนาคต. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

บุษยมาศ สินธุประมา. (2539). สังคมวิทยาความสูงอายุ. เชียงใหม่: สมพรการพิมพ์.

พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ์. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพมหานคร: กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 82. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระมหาบุญเพียร ปุญวิริโย (แก้ววงศ์น้อย). (2544). “แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

สุทธิพงศ์ ปานเพ็ชร์. (2550). “การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับวิถีชีวิตของชุมชน”. รายงานการวิจัยอิสระ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สุภาลักษณ์ เขียวขำ. (2534). การสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรศิริ เกตุศรีพงษ์. (2550). “สังคหวัตถุ 4 : วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้”. วารสาร Productivity World เพื่อการเพิ่มผลผลิต. 12 (28) : 43-46.

Havighurst, R.J. (1963). Studies in Adolescence. New York: The Macmillan Company.
เผยแพร่แล้ว
2022-06-30