แนวคิดเรื่องการเตรียมพร้อมรับมือกับความตายของพุทธบริษัทในสมัยพุทธกาล
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมกับมือกับความตายของพุทธบริษัทในสมัยพุทธกาล เป็นการศึกษาจากเอกสารพระไตรปิฎก ผลการศึกษาพบว่า ความตายเป็นเรื่องปกติธรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด เมื่อไม่สามารถจะเลี่ยงความตายได้ การเตรียมความพร้อมรับมือกับความตายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ ในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างของบุคคลที่เตรียมพร้อมรับมือกับความตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พระพุทธเจ้าทรงวางแผนล่วงหน้า 3 เดือน โดยทรงกำหนดแนวทางปฏิบัติหลังความตายของพระองค์และการวางแผนในกิจการคณะสงฆ์ไว้อย่างครบถ้วน หรือในกรณีของพระสารีบุตร พระอานนท์ พระมหาปชาบดีเถรี และอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้วางแผนการตายของตนไว้อย่างแยบคาย ไม่ให้เป็นภาระของบุคคลที่อยู่ในภายหลัง อนึ่ง จากการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับความตายได้ดีนั้นล้วนเป็นอริยบุคคลทั้งนั้น จึงทำให้มีสติไม่หลงในเวลาตาย
บรรณานุกรม
จำเนียร ทรงฤกษ์. (2523). ชีวประวัติพุทธสาวก เล่ม 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสมัย.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฎเสน. (2545). สตรีในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทส่องศยาม จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ระลึกถึงความตายและวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม (ปวงกลาง). (2557). “ศึกษาวิเคราะห์การเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบตามหลักมรณสติในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
NYANAPONNIKA THERA. (1966). The Life of Sariputt. Buddhist Publication Society.
Stephen P. Eliott. (1990). Webster’s New World Encyclopedia. New York: Prentice Hall.