ความงามในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องความงามในพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า แม้พระพุทธศาสนาจะมีคำสอนไม่ให้ยึดติดในรูปร่างหรือความงามของรูปร่าง ในทางกลับกัน ให้พิจารณารูปร่างนี้เป็นของสกปรก เน่าเหม็น เป็นที่อาศัยของสิ่งปฏิกูล โดยนำเอาความไม่งามของรูปร่างนี้มาเป็นกรรมฐานชนิดหนึ่งเรียกว่า อสุภกรรมฐาน อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความงามของรูปร่างว่าเป็นอานิสงส์มาจากการประกอบกุศลธรรม บุคคลที่มีความงดงามเป็นผลมาจากการรักษาศีล มีตัวอย่างความงามในพระพุทธศาสนา เช่น ความงามของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า มหาบุรุษลักษณะ ความงามของสตรีที่เรียกว่า เบญจกัลยาณี นอกจากนั้นยังมีคำสอนเกี่ยวกับหลักธรรมที่ทำให้งามอีก เช่น กรรมที่ทำให้งาม ได้แก่ กุศลธรรม, ธรรมที่ทำให้งาน ได้แก่ ขันติ (ความอดทน) และโสรัจจะ (ความสงบเสงี่ยม)
บรรณานุกรม
เด่น รักซ้อน. (2545). “โสเภณี”. วิทยานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผิณ ชุณหะวัน. (2503). “แม่ศรีภรรยา”. ใน หนังสือชุมนุมแม่ศรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรบริการ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพิรุณ วุฑฺฒิธมฺโม (ตะเนาว์). (2545). “การพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ (ใจหาญ). (2553). “การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มณีพรรณ เสกธีระ. (2553). “การศึกษาหลักธรรมเรื่องความงามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น จำกัด.
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2531). ทศบารมีทศพิธราชธรรม. กรุงเทพมหานคร: วัดบวรนิเวศวิหาร.
สมศรี สุกุมลนันท์. (2517). คิดอย่างผู้หญิง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรวิทยา.