ความเชื่อเรื่องการถวายประทีปในพระพุทธศาสนา

  • พระณัฐกิจ อิมัง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ: ประทีป, ลอยกระทง, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องการถวายทานประทีปในพระพุทธศาสนา และ 2. เพื่อวิเคราะห์อานิสงส์ของการถวายทานประทีปในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อเรื่องการถวายประทีปในพระพุทธศาสนานั้นเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการบูชา ที่เรียก อามิสบูชา จุดประสงค์ของการถวายประทีปนั้นคือการถวายแสงสว่าง ในปัจจุบันการถวายประทีปนิยมทำกันในเทศกาลลอยกระทง โดยได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากตำนานกาเผือกและการบูชารอยพระพุทธบาท ส่วนในล้านนานั้นมีความเชื่อเรื่องการถวายประทีปจากวรรณกรรมที่จารึกไว้บนใบลาน 2 คัมภีร์ คือ 1) ธัมม์กาเผือก ที่มีคติความเชื่อเรื่องการบูชาความกตัญญู และ 2) ธัมม์อานิสงส์การถวายทานผางประทีป ที่มีคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์จะทำให้มีผิวพรรณที่แจ่มแจ้งดุจแสงของประทีป จะเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีทรัพย์มาก นอกจากนี้  การบูชาผางประทีปยังมีเชื่อว่าเป็นการบูชาตามธัมม์คาถาพันที่ปรากฏในการจัดตั้งธัมม์หลวงอีกด้วย

บรรณานุกรม

พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). (2534). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

ยศ สันตสมบัติ. (2537). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ. (2558). ลอยกระทง เรือพระราชพิธี วัฒนธรรมน้ำร่วมราก. กรุงเทพมหานคร: ห.จ.ก. โรงพิมพ์อักษรไทย.

อุดม รุ่งเรื่องศรี. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). ลอยกระทง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ทองดี ลำต้น. (2559). “การศึกษาประเพณีเข้าพรรษาในสังคมไทยภาคอีสาน”. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 1 (1) : 27.

พระครูพิสณฑ์กิจจาทร (เทิดทูน เชื้อเงินเดือน). (2554). “ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีลอยกระทง”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไกสร กิตฺตติเวที (วรา). (2560). “ศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ในล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2022-06-30