บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์เชิงพุทธ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ และ 2. เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์เชิงพุทธ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ในพระพุทธศาสนา เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายให้ภิกษุ 60 รูป ได้เที่ยวจาริกไปเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันเป็นปฐมบทแห่งการสาธารณสงเคราะห์ที่เป็นการทำงานร่วมกันของพระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป และยังมีบทบาทด้านการสงเคราะห์บุคคล อาทิ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมให้การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้สูงอายุ การบริจาคปัจจัย ข้าวสารอาหารแห้ง และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแก่ผู้ที่ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ บทบาทของพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์เชิงพุทธ พบว่า มีการบูรณาการหลักพุทธธรรมคือ หลักเมตตาธรรมและหลักกรุณาธรรม อันเป็นการแสดงความรักในสิ่งที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น มีความเมตตาในทุกด้าน ไม่เกียจคร้านช่วยเหลือชุมชน พร้อมที่จะพัฒนาตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง และมีการทำงานด้วยจิตที่คิดสงสารผู้ที่เดือดร้อน ซึ่งจะมีลักษณะคือ ทำงานด้วยจิตอาสา ปรารถนาให้พ้นจากทุกข์ พร้อมสร้างความสุขอย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม
กัลยกร ลาภเดโช และ สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2565). “บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย”. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 5 (1) : 1.
คนึงนิตย์ จันทบุตร และสุบรรณ จันทบุตร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดป่านานาชาติ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
จิรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2536). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง), พระศรีสมโพธิ และ ศิริโรจน์ นามเสนา. (2565). “การศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม”. วารสารวิจยวิชาการ. 5 (2) : 27.
พระไพศาล วิสาโล (วงศ์วรวิสิทธิ์). (2546). พุทธศาสนาในอนาคตแนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
พระมหาสันติ ฐานวโร (ประสพสุข). (2560). “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอัครเดชา อคฺคเตโช (พรหมเสนา). (2553). “พระพุทธศาสนากับศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลนำพา สังคมปลอดภัยและสันติสุข”. พุทธจักร. 46 (5) : 60.
พระสุภาพ สุภาโว (บัวบรรจง). (2561). “บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวัชระ สีลสุทฺโธ. (2563). “บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ของพระภาวนาธรรมาภิรักษ์ (หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่. 6 (1) : 74 – 75.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). การบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. กรุงเทพมหานคร: กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2535). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2535. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สวนดุสิตโพล. (2550). โครงการศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.