วิธีการสร้างศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาของครูบาศรีวิชัย
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาความเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างศรัทธาตามความเลื่อมใสของครูบาศรีวิชัย ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อที่อยู่บนพื้นฐานของปัญญาย่อมเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง ความเชื่อที่ถูกต้องย่อมนำผู้ที่มีความเชื่อให้ทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง ส่วนความเชื่อในสิ่งที่ผิดย่อมนำผู้ที่เชื่อให้ปฏิบัติในทางที่ผิด ศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น เป็นศรัทธาที่มีวิวัฒนาการกันขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มนุษยชาติได้มีประสบการณ์และความรู้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยหลักของเหตุและผล ให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามหลักความจริงทุกประการ เช่น หลักของอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ส่วนวิธีการสร้างศรัทธาตามความเลื่อมใสของครูบาศรีวิชัย นั้น ชาวพุทธล้านนานับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้เกิดมีครูบาศรีวิชัยที่ประชาชนในเขตล้านนา (ภาคเหนือ) มีความศรัทธา เลื่อมใส ในตัวของครูบาศรีวิชัย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น “นักบุญ” หรือ “ตนบุญ” ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนบ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นผู้ที่มีศีลจริยาวัตรที่งดงามและเคร่งครัด มีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมอันสูงสุด และนอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งถาวรวัตถุอันเป็นสมบัติแห่งพระพุทธศาสนาถือเป็นแนวทางหนึ่งแห่งผลของการสร้างศรัทธาของครูบาศรีวิชัย
บรรณานุกรม
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมชาย ธมฺมสาโร (พรมมา). (2556). “บทบาทพระครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ในฐานะนักบุญล้านนา กรณีศึกษาการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานในล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2533). ศาสนาทั้งหลายนับถืออะไร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ภักดิกุล รัตนาและไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (2566). “คุณลักษณะของครูบาเจ้าศรีวิชัยในฐานะต้นแบบพลเมืองโลกด้านจริยธรรมและคุณธรรม”. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 10 (1) : 127-157.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2522). วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๓ ตอน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี (ผู้แปล). (2527). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค. กรุงเทพมหานคร: ธเนศวรการพิมพ์.
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. (2542). สืบสานล้านนา สืบต่อลมหายใจของแผ่นดิน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ เชียงใหม่.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2515). ธรรมานุกรม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สามารถ แจ่มจันทร์. (2539). “ค่าวประวัติครูบาศรีวิชัย”. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. 17 (7) : ๑๗-๒๓.
สิงฆะ วรรณสัย. (2522). สารประวัติครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2535). ขนมธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวทางการปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์. (2518). ธาตุปฺปทีปิกา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ลิขิต บุญละคร (2563). “วิเคราะห์พัฒนาการแห่งพลังศรัทธาของชาวพุทธในสังคมไทย”. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 2 (1) : 40-46.