ถีนมิทธะ : เครื่องกั้นจิตในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขถีนมิทธะที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก ผลการศึกษา พบว่า ถีนมิทธะเป็น 1 ในนิวรณ์ 5 ประการ ที่เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรม เป็นอุปสรรคแก่ทำสมาธิ ถีนมิทธะหมายถึงความเศร้าซึม ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ผู้ที่ถูกถีนมิทธะครอบงำเปรียบเหมือนคนที่ถูกจองจำในคุก ไม่มีโอกาสได้พบกับความรื่นเริงได้ ถีนมิทธะเกิดจากอโยนิโสมนสิการ คือ การไม่ทำใจให้มั่นคง และเกิดจากสาเหตุ 5 ประการ ได้แก่ 1. อรติ ความไม่ยินดี 2. ตันทิ ความเกียจคร้าน 3. วิชัมภิตา ความอ่อนเพลีย 4. ภัตตสัมมทะ การเมาอาหาร และ 5. เจตโส ลีนัตตัง ความหดหู่ไม่ชื่นบาน การแก้ถีนมิทธะ คือ การไตร่ตรองพิจารณาอย่างแคบคายด้วยความเพียร 3 ลำดับ คือ การเริ่มต้นอย่างจริงจัง (อารัมภธาตุ) การดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง (นิกกมธาตุ) และ การพยายามอย่างบากบั่น (ปรักกมธาตุ) พร้อมทั้งการประยุกต์ใช้อุบายแก้ง่วง 8 ประการ คือ 1) ไม่นึกถึงความง่วง 2) ไตร่ตรองพิจารณาธรรมะ 3) สวดมนต์หรือสาธยายธรรม 4) บีบนวดตัว 5) ใช้น้ำลูบหน้า 6) ลืมตาดูความสว่าง 7) ลุกเดินตงกรม และ 8) นอนสมาธิ
บรรณานุกรม
พระคันธสาราภิวงศ์. (2548). วิปัสสนามัย เล่ม ๑. นครปฐม: ซีเอไอ เซนต์เตอร์.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร : ทางสู้พระนิพพาน. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวัน.
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2543). การพัฒนาจิตภาคหนึ่ง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร). (2550). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๑ ว่าด้วย วิปัสสนากรรมฐานทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.
พระมหาวชิรางกร วชิรญาณเมธี (จันทะเกตุ). (2548). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องนิวรณ์ในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาวิเชียร โชติธมฺโม (จันทะมั่น). (2554). “การศึกษาสภาวะของนิวรณ์ในวัมมิกสูตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร. (2567). นิวรณ์ข้อถีนมิทธะ. ออนไลน์: https://www.openbase.in.th/node/2983 (20 มิถุนายน 2567)