การบรรลุธรรมของฆราวาสในพระพุทธศาสนา

  • สุทัศน์ ภาณิสสรวงค์
คำสำคัญ: การบรรลุธรรม, ฆราวาส, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมของฆราวาสในพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า

การบรรลุธรรมคือการเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ โสดาบัน (ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน) สกทาคามี (ผู้จะกลับมาเกิดในโลกอีกเพียง 1 ครั้ง) อนาคามี (ผู้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก) และอรหันต์ (ผู้ผู้หักซึ่งวงล้อแห่งสังสารวัฏได้แล้ว) ผู้ที่บรรลุธรรม 4 ระดับอาศัยเกณฑ์การละสังโยชน์เป็นเครื่องพิจารณา เรียกว่าคนที่บรรลุธรรมนี้ว่า อริยบุคคล

การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นการเข้าถึงสภาวธรรมอันประเสริฐ โดยไม่จำแนกเพศ อายุ ความเป็นนักบวชหรือฆราวาส ทำให้พบว่า มีฆราวาสที่บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก สถานะหลังจากการบรรลุธรรมของฆราวาสจะมีความแตกต่างกันไปตามระดับชั้นของการบรรลุธรรม กล่าวคือ ระดับโสดาบัน จะมีชีวิตเหมือนคนทั่วไป มีความรัก ความโศกเศร้าเสียใจ ประกอบอาชีพได้เช่นเดิม แต่จะมีความมั่นคงในพระรัตนตรัย และยึดมั่นในศีล ทาน ภาวนา ระดับสกทาคามี จะมีชีวิตเหมือนระดับโสดาบัน แต่ราคะ โทสะ และโมหะ จะเบาบางลง ระดับอนาคามี เป็นระดับที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะสามารถกำจัดราคะ โทสะ และโมหะได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว ระดับอรหันต์เป็นระดับสูงสุด ผู้บรรลุระดับนี้ควรออกบวชในทันทีเพื่อให้สมควรแก่ภาวะของตน

บรรณานุกรม

เตชิน อิสระภาณุวงค์. (2561). “ศึกษาการบรรลุธรรมของฆราวาสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา.

ปรีชา นันตาภิวัฒน์. (2544). พจนานุกรมหลักธรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญช่วย ฐิตจิตฺโต (ยังสามารถ). (2565). “ความสัมพันธ์โพธิจิตพุทธเกษตร”. วารสารพุทธจิตวิทยา. 7 (1) : 29-37.

พระมหานรินทร์ สุธรรม. (2545). “สมณเพศกับเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหามีนา ถาวโร (ไชยอุด). (2558). “ศึกษาการบรรลุธรรมของพระวังคีสเถระ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมเจต สมจารี. (2559). “ศึกษาบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรมขั้นสูงในพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 4 (2) : 151-165.

พระมหาอดุลย์ ยโสธโร (บุตรตะเคียน). (2548). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอำนวย อานนฺโท (จันทร์เปล่ง). (2542). “การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สินชัย วงษ์จำนงศ์. (2548). “การศึกษาคติภพของคฤหัสถ์ผู้เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล. (2566). “การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องฆราวาสมุนี”. วารสารวิจยวิชาการ. 6 (3) : 377-389.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-27