ศึกษาวิเคราะห์สัมมาวายามะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสัมมาวายามะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 2) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้สัมมาวายามะในการพัฒนาชีวิต การวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า
สัมมาวายามะ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรค 8 หมายถึง เพียรชอบหรือพยายามชอบ 1. พยายามระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น 2. พยายามละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ยังเกิดขึ้นแล้ว 3. พยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรชอบ 4. เจริญกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้น สัมมาวายามะหรือ ความพยายามชอบตามหลักพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายอยู่ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านอัตถประโยชน์ ด้านปรัตถประโยชน์ และด้านอุภยัตถประโยชน์
สำหรับการประยุกต์ใช้สัมมาวายามะ เพื่อการพัฒนาชีวิต จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านการศึกษา ต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายคือปฏิเวธ 2. ด้านการทำงาน ต้องส่งเสริมให้เกิดหิริโอตตัปปะและวิริยะในการทำงาน มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ และไม่ทุจริตต่อหน้าที่ที่รับมอบหมาย 3. ด้านการพัฒนาตัวเอง การพัฒนาต้องพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ตามหลักภาวนา 4 และ 4. ด้านการปฏิบัติธรรม นำหลักสัมมาวายะ มาเป็นหลักในการการทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว ต้องอาศัยหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป และ 2. ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น
บรรณานุกรม
ประเสริฐ อุทัยเฉลิม. (2554). กลัวเกิดไม่กลัวตาย. สมุทรปราการ : ชมรมกัลป์ยาณธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระวิจิตร มหาวิริโย พูนสุข มาศรังสรรค์ และพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ. (2560). “แนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเพื่อการเข้าถึงสันติสุขตามหลักมรรค 8 : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาศาสนาแคมปสน จังหวัดเพชรบูรณ์”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5 (พิเศษ) : 216-226.
พระสมุห์พรเลิศ วิสุทฺธสีโล (ไกรจรัส). (2556). “การศึกษามรรคมีองค์ ๘ เพื่อการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวรรณ เพชรนิล. (2539). พุทธปรัชญาเบื้องต้น. ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.