การจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม

  • เขม เมืองมา
คำสำคัญ: การจัดการความเครียด, หลักพุทธธรรม, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม ผลการศึกษาพบว่า ความเครียด คือ การสนองตอบที่ระบุชัดเจนไม่ได้ของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์บางอย่าง ซึ่งคุกคามต่อความปลอดภัยของชีวิต เป็นผลให้บุคคลมีการปรับตัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีสาเหตุมาจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอกและจากปฏิกิริยาตอบสนอง เช่น ความกังวล ความเสียใจ ความตื่นกลัว เป็นต้น ซึ่งส่งผล 3 ทาง คือ ทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางพฤติกรรม การบริหารจิตเป็นวิธีการจัดการความเครียดตามหลักพุทธธรรม เพราะพุทธศาสนาถือว่าจิตที่ไม่สามารถรู้ทันอารมณ์ย่อมแปรปรวน มีสภาพเป็นทุกข์ การบริหารจิตอย่างถูกต้องปรากฏอยู่ในคำสอนเรื่องสติปัฏฐาน โดยเฉพาะในข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกำหนดรู้จิตของตนเองด้วยกำลังของสมาธิ นอกจากนั้นยังมีหลักการจัดการความเครียดตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา ซึ่งถือเป็นหลักของการแก้ความเครียดแบบองค์รวม

บรรณานุกรม

เจษฎา คูงามมาก. (2555). “ความเครียดในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสถิติประยุกต์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณรงค์ ใจเที่ยง. (2559). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก”.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกริก.

พระครูใบฎีกาหัสดี กิตตินนฺโท. (2560). “การพัฒนาจิตตามหลักพระพุทธศาสนา”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิริพัชรากร (พงศกร ลาคำ). (2556). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอารมณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ดวงแก้ว.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวณีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2527). แนวคิดพื้นฐานการพยาบาลจิตเวช. กรุงเทพมหานคร : ปอง.

Goodell, H., Wolf. S.R. Rogers. (1986). F.B Historical Perspectives. Chapter 2. in Occupational Stress. Health and Performance at Work S Wolf and A.J Fine Stone (eds).Littlelan, Massachusetts : PSG Inc.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-27