หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจามเทวีวงศ์
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาสาระสำคัญของคัมภีร์จามเทวีวงศ์ และ 3) วิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่วางกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อที่ภาคต่างๆ ของสังคมพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบ 6 อย่าง คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
จามเทวีวงศ์เป็นผลงานประพันธ์ของพระโพธิรังสี แต่งขึ้นราวปี พ.ศ. 1950-2000 ลักษณะการประพันธ์คือประพันธ์เป็นฉันท์ โดยใช้ภาษาบาลี จามเทวีวงศ์เป็นเอกสารเชิงประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมประเภทตำนาน มีเนื้อหา 14 ปริเฉท เริ่มจากพระพุทธเจ้าเสด็จมายังพยากรณ์พื้นที่สำหรับสร้างนครและการอุบัติของฤาษี 4 ตน ผู้ที่สร้างเมืองหริภุญชัยและเมืองเขลางค์นคร นอกจากนั้นยังกล่าวถึงประวัติของพระนางจามเทวี ลำดับกษัตริย์ในล้านนาและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
จามเทวีวงศ์ได้มีการกล่าวถึงข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการปกครอง เช่น หลักทศพิธราชธรรม หลักความกตัญญู หลักการใช้ความถูกต้องยุติธรรมในการปกครองบ้านเมือง พร้อมทั้งมีหลักคำสอนสำหรับพระราชาในปกครองบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีความรุ่งเรือง ซึ่งหลักการต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์. (ม.ป.ป.). “หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร”. รายงานการอบรมหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่น 4. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ : สำนักงานสาลรัฐธรรมนูญ.
อำนาจ ยอดทอง. (2562). “วิเคราะห์เชิงวิพากษ์แนวคิดว่าด้วยทิศพิธราชธรรมในพระพุทธศาสนาคือธรรมาภิบาล”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (1), 1-19.
วริศรา อนันตโท. (2564). “แนวคิดการปกครองที่ปรากฏในอรรถกถาชาดกและจามเทวีวงศ์ : ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร”, วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม. 20 (1), 97-120.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ปัญญา ฉายะจินดาวงศ์และรัชนีภู่ตระกูล. (2549). ธรรมาภิบาล (Good Governance) กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒. ราชกิจจานุเบกษา.
ชุ่ม ณ บางช้าง. (2516). นำชมจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
พระโพธิรังสี. จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. กรุงเทพมหานคร :
พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี. (2565). “แนวคิดทางด้านพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์”, วารสารปัญญา. 29 (1), 37-46.
พระอรรนพ อคฺคปญฺโญ (ไวยวรณ์). (2564). “ศึกษาการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สินีนาถ ฉลาดล้น และคณะ. (2562). “การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา”. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal. 12 (4) : 900-914.
ธีรพัฒน์ พูลทอง. (2560). ราชธรรมในจามเทวีวงศ์ : ความสัมพันธ์กับการสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอินทร์. วารสารไทยศึกษา, 13 (2) : 99-122.