โหราศาสตร์ในพระไตรปิฎก

  • พระครูอาทรสุตวิธาน สายวงศ์คำ
คำสำคัญ: โหรศาสตร์, พระไตรปิฎก, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์โหราศาสตร์ในพระไตรปิฎก เป็นการศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการพยากรณ์ซึ่งมาประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องมือหลักในการพยากรณ์ โหราศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การทำนายด้วยลางบอกเหตุ (Omen) เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2) การทำนายโดยอาศัยอำนาจจิตหรืออ้างอำนาจเทพเจ้า 3) การทำนายด้วยสัญลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคล และ 4) การทำนายด้วยการเสี่ยงทาย

ในพระไตรปิฎก ได้ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้งนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การได้รับการพยากรณ์จากบุคคลอื่น เช่น การได้รับพยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า การได้รับพยากรณ์ในกรณีพระพุทธมารดาทรงสุบินเห็นช้างเผือก การได้รับคำทำนายพระลักษณะจากพราหมณ์ 108 เป็นต้น 2. การได้พยากรณ์ด้วยตนเอง เช่น การทำนายความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล การพยากรณ์ความฝันของพระองค์เอง เป็นต้น 3. การเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ เช่น ทรงศึกษาวิชา โชติสศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการดูดาว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงมีท่าทีปฏิเสธต่อวิชาโหราศาสตร์ โดยถือว่าเป็นเดรัจฉานวิชา เพราะไม่ใช่วิชาที่มุ่งตรงต่อพระนิพพานโดยตรง จึงทรงมีพระวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุเรียนวิชาโหราศาสตร์ แต่ทรงอนุญาตให้เรียนวิชาการดูดาวเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การเดินทางและการกำหนดฤดูกาลเท่านั้น

บรรณานุกรม

จักรเทพ รำพึงกิจ. (2551). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน”. สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ทวารัช (นามปากกา). (2526). โหราศาสตร์เทคนิค. กรุงเทพมหานคร: โชคชัยเทเวศร์.

ธันยา นาคบุตร. (2556). “ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านโหราศาสตร์กับความสุขในที่ทำงานของพนักงาน บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ สายงานปฏิบัติการ”. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณฐณัช แก้วผลึก. (2561). “การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฦาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณิชมน สาริพันธ์, (2564). “โหราศาสตร์กับการดำเนินชีวิต”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8 (4) : 57-68.

พระยาบริรักษ์เวชการ. (2535). หลักโหราศาสตร์ทั่วไป มูลฐานของโหราศาสตร์และประโยชน์ของ การศึกษาโหราศาสตร์ มรดกแห่งโหรสยาม สมาคมโหรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มิตรสยามการพิมพ์.

พิทูร มลิวัลย์. (2528). คู่มือการศึกษาพระปฐมสมโพธิกถา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา

สรชัย ศรีนิศาสนต์สกุล. (2563). “อิทธิพลของโหราศาสตร์ในสังคมและการเมืองไทย”. รายงานการวิจัย. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิงห์โต สุริยาอารักษ์. (2521). โหราศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร: ดวงดีการพิมพ์.

สุนึก ทวิวนานันท์. (2535). “บทบาทของหมอดูกับการแก้ปัญหาวัยรุ่น”. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา. คณะโบราณคดี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอื้อน มณเฑียรทอง. (2516). พระคัมภีร์โหราศาสตร์ศิลปาคม ภาค 1. พระนคร: กรุงสยามการพิมพ์.

Anthony Philip Stone. (1981). Hindu Astrology; Myth, Symbols and Realities. India Select Book.

Edwin Arnold. (1891). Light of Asia. Roberts Brothers: Boston.

เผยแพร่แล้ว
2024-06-27