หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ 3. เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ การสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่างๆ ได้แก่ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2. การรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ 3. บทบาทในฐานะตัวแทนภาครัฐในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และ 4. บทบาทในฐานะประชาชน
หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ หลักสาราณียธรรม ประกอบด้วย 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ 4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชีเคารพนับถือท่านเหล่านั้นเห็นถ้อยคำของท่าน ว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ 6. การเคารพสักการะบูชาเจดีย์ 7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่บรรพชิตผู้ดำรงธรรม
ประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกำนันผู้ใหญ่บ้าน สามารถประยุกต์ใช้หลักสาราณณียธรรมได้ 7 หลัก ได้แก่ 1. หลักการประชุมแบบสม่ำเสมอ 2. หลักความพร้อมเพรียงของการจัดกิจกรรม 3. หลักการออกกฎระเบียบและกฎหมาย 4. หลักการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 5. หลักการมีส่วนร่วมของสตรี 6. หลักการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ 7. หลักการมีส่วนร่วมของผู้นำทางศาสนา
บรรณานุกรม
ฉลวย พ่วงพลับ. (2548). “บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน: ศึกษากรณีอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา”. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2546). “โครงการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและองค์กรอิสระ”. ชุดโครงการวิจัยเรื่อง การติดตามและประเมินผลบังคับใช้รัฐธรรมนูญ. รายงานการวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ไททัศน์ มาลา. (2559). “การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2557). “กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน: การวิเคราะห์บทบาทและภาวะความเป็นผู้นำกับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อผู้นำชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่”. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยบริหารศาสตร์: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ประยงค์ พรมมา. (2557). “การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์จํากัด.
พระสมหมาย อตฺถสิทฺธิและคณะ. (2559). “รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด”. ธรรมทรรศน์. 16(1): 101-113.
วัชรพงษ์ หนูชัย. (2558). “การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เทศบาลเมืองต้นเปากับประธานชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้”. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 4(3): 85-95.
อุดร จันทวัน. (2547). “พระพุทธศาสนากับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย.
Barber J. David. (1972). Citizen Politics. Chicago: Markham.
Samuel Huntington and Joan Nelson. (1982). Participation and Political Study. Cambridge: Cambridge University Press.