ภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะตื่นรู้ในพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ภาวะตื่นรู้เป็นภาวะที่บุคคลมีความสมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ รู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่หลงในอดีตและอนาคต ไม่ลุ่มหลงในอบายมุขหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเพราะเป็นการพัฒนาทั้งกาย จิต และปัญญา การพัฒนาภาวะตื่นรู้สามารถพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ การพัฒนาศีล เป็นการพัฒนาความพร้อมทางด้านกายภาพ การพัฒนาสมาธิ เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ และการพัฒนาปัญญา เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยปรโตโฆสะและโยนโสมนสิการ
บรรณานุกรม
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. “จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 29 (4): 188-208.
ฑีฆายุวัฒก์ สวัสดิ์ลออ. (2551). “การวิเคราะห์การเจริญสติตามแนวทางของ ติช นัท ฮันห์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ติช นัท ฮันห์. (2548). ความโกรธ: ปัญญาตัวดับเปลวไฟแห่งโทสะ. แปลโดย ธารา รินศานต์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2538). พจนานุกรมเพื่อศึกษาพุทธศาสน์ ชุด “คำวัด”. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระมหาดิเรก พุทฺธยานนฺโท. (2559). ตื่นรู้และเบิกบานคือเป้าหมาย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://buddhayanando.com/wordpress/?p=8832
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). สติในชีวิตประจำวัน คติธรรมสอนใจเพื่อใช้เตือนตน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สาริศา สัสสินทร. (2558). “พุทธจิตวิทยาบูรณาการ : แนวคิด หลักการและการเสริมสร้างภาวะตื่นรู้”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. (2540). ธรรมบรรยาย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์.