การขับเคลื่อนนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาสู่สากลด้วยยุทธศาสตร์ SOFT POWER https://firstojs.com/index.php/MBU <p>ประชุมสัมมนาทางวิชาระดับชาติ ครั้งที่ 2 และนานาชาติ ครั้งที่ 1 วันที่ 19 เมษายน 2567</p> <p><img src="/public/site/images/boonnam/429331517_944824050027570_5138656658032401544_n.png"></p> th-TH Khunten2002@yahoo.com (ผศ.ดร.อุเทน ลาพิงค์) Wed, 29 May 2024 08:38:26 +0000 OJS 3.1.1.2 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 Buddhist Philosophy for Developing the Good Citizenship of Thailand https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1279 <p><span style="font-weight: 400;">The harmonious and peaceful society creating in Thailand that involves every citizen behaving as responsible members of a democratic monarchy under the reign of the King. The principles of good citizenship by Buddhist concepts are living by rules and discipline, being responsible, non-violence, kindness, and generosity, focusing on the common interest, truth speaking, abiding by </span><span style="font-weight: 400;">Iddhipāda</span><span style="font-weight: 400;"> (The Four Paths of Accomplishment),</span><span style="font-weight: 400;"> Saṅgahavatthu</span><span style="font-weight: 400;"> (Principle of kindly treatment), </span><span style="font-weight: 400;">Brahmavihāra</span><span style="font-weight: 400;"> (The Four Noble Sentiments), </span><span style="font-weight: 400;">Sāraṇīyadhamma </span><span style="font-weight: 400;">(States of conciliation) and the Five Precepts. These Dhamma principles are fundamental for societal coexistence and contribute to the development of a better Thai citizenry. Citizenship development must start in the individual mind before and become the good citizen. The individual must develop themselves integrally and following</span><span style="font-weight: 400;"> Sikkhāttaya</span><span style="font-weight: 400;"> (The Threefold Training): morality, concentration, and wisdom. There are the developing steps by</span><span style="font-weight: 400;"> Bhāvanā</span><span style="font-weight: 400;"> (The Four Principles of Practice): physical development, behavioral improvement, emotional growth, and intellectual enhancement to prepare individuals to become good citizens according to Buddhist philosophy. </span></p> chantarat chan Tapuling, Matchima Vachirapho, Somwang Kaewsufong, Narunee Srisuk ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1279 Wed, 29 May 2024 08:21:15 +0000 คุณค่าของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1287 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มุ่งนำเสนอคุณค่าของผลงานวรรณกรรมบาลีของพระสิริมังคลาจารย์ผู้มีผลงานโดดเด่นในยุคทองของพระพุทธศาสนาในล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 21) โดยปรากฎผลงาน 4 เรื่อง กล่าวคือ 1) เวสสันตรทีปนี 2) จักกวาฬทีปนี 3) สังขยาปกาสกฎีกา และ 4) มังคลัตถทีปนี จากการศึกษาคุณค่าของผลงาน พบคุณค่า ๓ ด้าน คือ 1) ด้านภาษา 2) ด้านสาระทางธรรม&nbsp; และ 3) ด้านสังคม ด้านภาษา เวสสันตรทีปนี มีคุณค่าในฐานะคู่มือคำศัพท์ในการศึกษาเวสสันตรชาดก จักกวาฬทีปนี มีคุณค่าในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านภูมิวิทยาของจักรวาลจากคัมภีร์ต่างๆ มังคลัตถทีปนี มีคุณค่าทางภาษาอย่างสูง จนถูกนำมาเป็นวรรณกรรมต้นแบบของบาลีในประเทศไทย โดยใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย และสังขยาปกาสกฎีกา มีคุณค่าในฐานะคู่มือในการศึกษาเกี่ยวกับมาตราชั่ง ตวง วัด ส่วนด้านสาระทางธรรม เวสสันตรทีปนีมุ่งแสดงหลักธรรมของการบำเพ็ญทานบารมีในชุดปัญจมหาบริจาค จักกวาฬทีปนี มุ่งแสดงหลักธรรมเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมและภาพรวมของไตรภูมิ มังคลัตถทีปนี มุ่งแสดงสารัตถะของพระมงคลสูตรอย่างละเอียดลึกซึ้ง จนถูกนำมาใช้เป็นคัมภีร์ต้นฉบับในการแสดงธรรม สังขยาปกาสกฎีกา แม้มิได้ปรากฏคุณค่าด้านสาระทางธรรมโดยตรง แต่ก็ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระของจักกวาฬทีปนีที่ว่าด้วยภาพรวมของไตรภูมิ จากคุณค่าทางด้านภาษาและสาระทางธรรมดังกล่าวมา ส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านสังคมอย่างประจักษ์ชัด วรรณกรรมเหล่านี้เป็นเสมือนครูที่ผู้ศึกษาได้ยึดเป็นแบบแผนในการเรียนรู้ทั้งในแง่ของภาษาและเนื้อหาสาระ รวมถึงวิถีอัตลักษณ์ของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาจากประวัติของผู้รจนา คุณค่าของผลงานดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงคุณูปการของผู้สร้างผลงาน กล่าวคือพระสิริมังคลาจารย์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งล้านนา ผู้มีผลงานที่ทรงคุณูปการต่อการศึกษา การเผยแผ่ และการดํารงอยู่แห่ง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระศาสนา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน</p> จุมพล สุยะต๊ะ, จตุภูมิ แสนคํา, พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล) ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1287 Wed, 29 May 2024 08:23:55 +0000 ข้างหลังโปสการ์ด : การบันทึกโลกที่พบเห็นในมุมมองผู้หญิง ตามแนวการศึกษาวรรณกรรมการเดินทาง https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1282 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบันทึกโลกที่พบเห็นในต่างแดนในมุมมองผู้หญิงผ่านสารคดีข้างหลังโปสการ์ดของหลานเสรีไทย (136) ในฐานะวรรณกรรมการเดินทาง ด้วยกรอบแนวคิดวรรณกรรมการเดินทาง &nbsp;โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารในสารคดีท่องเที่ยว เรื่อง ข้างหลังโปสการ์ด ของหลานเสรีไทย (136) และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าประเด็นประสบการณ์เกี่ยวกับผู้คนในต่างแดน ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงมีให้เห็นในสังคมที่เขาเดินทางไป และภายในสังคมนั้น ๆ มีการยอมรับในความเป็นพหุวัฒนธรรม ส่วนประเด็นประสบการณ์เกี่ยวกับสถานที่ในต่างแดน&nbsp; ค้นพบว่ามีประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมักมีภูมิประเทศหรือสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว ความเป็นเมืองท่องเที่ยวทำให้มีสถานที่เปลี่ยนไปจากสภาพดั้งเดิม และประวัติความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ต้องการนำเสนอสถานที่ในแต่ละพื้นที่&nbsp; และในส่วนสุดท้ายประสบการณ์เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม ในต่างแดน ได้แก่ ประเพณี ความเชื่อ ที่สืบทอดมายาวนาน การนับถือศาสนาและเทพต่าง ๆ และการใช้ภาษาในการสื่อสาร ทั้งหมดนี้สื่อให้เห็นถึงการค้นพบมุมมองใหม่ ๆ และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย&nbsp; ผ่านเลนส์ของนักเดินทางผู้หญิง</p> อทิวรา คำเมือง, ภาคภูมิ สุขเจริญ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1282 Wed, 29 May 2024 00:00:00 +0000 การวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในเพลงของเทย์เลอร์สวิฟต์ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1236 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้โวหารภาพพจน์ในเพลงของเทยเลอร์ สวิฟต์มุ่งเน้นการวิเคราะห์การใช้โวหารภาพพจน์ในเพลงของเทยเลอร์ สวิฟต์ เพื่อเข้าใจรูปแบบและลักษณะการใช้ภาษาในเพลงของเธอ โดยการกำหนดขอบเขตของการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากแอพลิเคชั่น Youtube ในช่อง Taylor Swift จำนวน 15 เพลง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าโวหารภาพพจน์ที่เจอมากที่สุดในเพลงของเทยเลอร์ สวิฟต์ คือ Hyperbole ซึ่งเป็นการใช้ภาษาเพื่อเสริมความเข้มข้นและสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ในเพลงของเธอ นอกจากนี้ยังพบว่าโวหารภาพพจน์อื่นๆ เช่น Simile, Metaphor, Allusion, Metonymy, และ Paradox ก็ถูกใช้อย่างสม่ำเสมอในเพลงของเธอ เป็นการสร้างความสนใจและความหลากหลายในเนื้อหาของเพลง ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ผู้วิจัยได้ใช้เป็นอ้างอิงโดยชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างการวิเคราะห์เนื้อหาของเพลงและโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏในเพลงของ Taylor Swift ทั้งหมด โดยสรุปแล้ว งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นได้ว่าเทยเลอร์ สวิฟต์ใช้โวหารภาพพจน์อย่างหลากหลายเพื่อสื่อความหมาย อารมณ์ และความรู้สึกในเพลงของเธอ ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาและนำเสนอประเด็นในเพลงอย่างน่าสนใจ</p> วารุณี ใจแก้ว, พระพชรพงศ์ แผ่นทอง, ภราดร สุขพันธ์, วิภาพร สุรินทร์ธรรม, จันทนี กันโฑ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1236 Wed, 29 May 2024 08:35:13 +0000 วัจนลีลาในหนังสือคำสอนสำหรับพระป่าอีสาน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1251 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัจนลีลาที่ปรากฏในหนังสือคำสอนสำหรับพระป่าอีสาน</p> <p>&nbsp;โดยมีหนังสือคำสอนที่ใช้ศึกษา 5 เล่ม ได้แก่ 1) กรรมฐาน 40 สมาธิแบบพระพุทธเจ้าจำนวน 55 เรื่อง<br> ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) วิปัสสนาสมาธิภาวนารักษาใจ จำนวน 50 เรื่องของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร &nbsp;3) รวมโอวาทหลังปาฏิโมกข์ จำนวน75 เรื่องของพระราชนิโรธรังสีปัญญาวิศิษฏิ์ (เทสก์ เทสรังสี) 4) 48 พระธรรมเทศนา จำนวน 25 เรื่องของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) 5) เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม จำนวน 31 เรื่อง ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) รวมจำนวนทั้งสิ้น 236 เรื่อง ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>หนังสือคำสอนสำหรับสอนพระสงฆ์ของพระป่าอีสานมีการใช้วัจนลีลามี 7 วัจน</p> <p>ลีลา ทั้งสิ้น 7 ลักษณะ เรียงลำดับความถี่ของข้อมูลที่ปรากฏจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้&nbsp; 1) วัจนลีลาแจ่มชัด <br> 2) วัจนลีลาถูกต้องแม่นยำ 3) วัจนลีลาชัดถ้อยชัดคำ 4) วัจนลีลาซับซ้อน 5) วัจนลีลาโน้มน้าว 6) วัจนลีลาบังคับ-ชี้นำ 7) วัจนลีลาเป็นปึกแผ่น ทั้งนี้ จากวัจนลีลาดังกล่าวหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน<br> สำหรับสอนพระสงฆ์จัดเป็นลักษณะ (characteristics)ของภาษาพุทธศาสนา</p> กุสุมา สุ่มมาตร์, กิตติคุณ ภูลายยาว ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1251 Wed, 29 May 2024 08:37:51 +0000 บุหงาบุญพา : การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากดอกกุหลาบเหลือทิ้งโดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมเป็นฐานของชมรม LPRU สืบสานปณิธานงานของพ่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1295 <p><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนวัดศรีล้อม (2) เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ (3) เพื่อลดปัญหาดอกกุหลาบเหลือทิ้งภายในบริเวณวัดศรีล้อม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมของชมรม LPRU สืบสานปณิธานงานของพ่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นฐาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจและมีการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมศักยภาพให้กับชาวบ้านในชุมชนวัดศรีล้อม&nbsp;</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์บุหงาบุญพาที่นำเอาดอกกุหลาบเหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นบุหงาบุญพาเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนวัดศรีล้อมโดยใช้ทักษะวิศวกรสังคมเป็นฐาน ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 104 คน&nbsp; ซึ่งมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินฯ</span> <span style="font-weight: 400;">ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในเรื่องสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน</span> <span style="font-weight: 400;">(ค่าเฉลี่ย </span><span style="font-weight: 400;">4.20</span><span style="font-weight: 400;">) รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับไปถ่ายทอด&nbsp; ขยายผลและเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ (ค่าเฉลี่ย </span><span style="font-weight: 400;">4.17 </span><span style="font-weight: 400;">และ </span><span style="font-weight: 400;">4.14) </span><span style="font-weight: 400;">ตามลำดับคนในชุมชนวัดศรีล้อมสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์บุหงาบุญพาสร้างรายได้ให้กับตนเองเยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์และดอกกุหลาบเหลือทิ้งภายในวัดศรีล้อมมีจำนวนที่ลดลง และพร้อมเป็นโมเดลต้นแบบด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป </span></p> ชุติมา ฤาชัย, รติมา บุตรชานนท์, ชมรม LPRU สืบสานปณิธานงานของพ่อ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1295 Wed, 29 May 2024 08:40:52 +0000 วิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราและของมึนเมาตามหลักพระพุทธศาสนา https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1264 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการเขียนเพื่อชี้ให้เห็นถึงวิธีการลด ละ เลิกการดื่มสุราและของมึนเมาตาม<br>หลักพระพุทธศาสนา ในสังคมของคนเราทุกวันนี้ ล้วนแต่มีสุราและของมึนเมามาเกี่ยวข้องกับชีวิต ทุก<br>เทศกาลไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ทําบุญวันเกิด แม้แต่งานศพ เรา<br>ก็มักจะเอาสุราและของมึนเมามาเลี้ยงในงานกันจนเกิดเป็นประเพณีนิยมไปแล้ว การแก้ปัญหาน้ําเมาต้อง<br>อาศัยการแก้ปัญหาในหลายส่วนร่วมกัน พระพุทธเจ้านั้น พระองค์เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะเมื่อไม่มี<br>เหตุเกิด ย่อมไม่มีผลที่จะตามมา ปัญหาน้ําเมานั้น ปัญหาสําคัญอยู่ที่ตัวบุคคลทั้งสิ้น บุคคลเป็นผู้ก่อเหตุ<br>บุคคลเป็นผู้ดื่มน้ําเมา ฉะนั้นแล้วการแก้ปัญหาจึงควรเริ่มจากตัวเราเป็นอันดับแรก แนวทางในการลด ละ<br>เลิกสุราตามหลักพุทธธรรมนั้น จึงเป็นการรู้จักใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพื่อแก้ปัญหาอันเกิดขึ้น<br>แก่ตัวบุคคลผู้ดื่มสุราเป็นเครื่องย้ําเตือนว่า ไม่มีใครเตือนสติเราได้มากกว่าเรา ตนเตือนตนให้พ้นผิด เป็น<br>หลักการที่จริงแท้ ปัญหาน้ําเมาจะหมดไปหากได้ทําการแก้ไขตรงจุด นั่นก็คือการพัฒนาจิตใจของตนเองให้<br>สูงขึ้น เพราะจิตใจที่ไม่เข้มเข็งพอย่อมอ่อนไหวต่อแรงกระตุ้นเร้าของกิเลส การนําหลักธรรมต่างๆ ของ<br>พระพุทธศาสนา เช่น หลักไตรสิกขา เบญจศีล-เบญจธรรม หลักสติสัมปชัญญะ และหลักธรรมอื่นๆ มา<br>ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราและของมึนเมาจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง</p> พระนพดล อตฺตทโม, พัลลภ หารุคําจา, ผศ.ดร.ปกรณ์ มหากันธา, พระครูปลัดกิตฺติพงษ์ กิตฺติโสภโณ (วงศ์สถาน), อาจ เมธารักษ์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1264 Wed, 29 May 2024 08:43:12 +0000 แนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวสติปัฏฐาน 4 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1266 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์การเขียนเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวสติปัฏฐาน 4 การเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาจิตใจ และเมื่อสติเกิดความตั้งมั่นจนเกิดปัญญาญาณ&nbsp; เป็นปัญญาที่หยั่งรู้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง กิเลสจะหมดไป โดยสิ้นเชิง สามารถที่จะพ้นทุกข์ และบรรลุมรรค ผลนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงหลักการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไว้หลายแห่งในพระสุตตันตปิฎก แต่พระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างเต็มรูปแบบเรียกว่า “มหาสติปัฏฐานสูตร” แนวคิดและหลักการการพัฒนาจิตและปัญญาในพระพุทธศาสนาตามแนวสติปัฏฐาน&nbsp; 4 1) การขึ้นกัมมัฏฐาน 2) แนวทางการปฏิบัติธรรม 3) การปฏิบัติตามแบบฝึกหัด &nbsp;การกราบสติปัฏฐาน &nbsp;แนวทางการเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การกำหนดอิริยาบถย่อย&nbsp; การกำหนดอิริยาบถนอน การกำหนดเวทนา การกำหนดจิต&nbsp; การกำหนดธรรม ด้านจิต ช่วยให้จิตใจสงบ มีสติ เพิ่มสมาธิ ความจำ และการคิดวิเคราะห์ ช่วยให้ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ลดความวิตกกังวล และความซึมเศร้า เพิ่มความสุข และความพึงพอใจในชีวิต และด้านปัญญา ช่วยให้มีทักษะในการตัดสินใจที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ช่วยให้เข้าใจตัวเอง และโลกรอบตัวมากขึ้น</p> แม่ชีวิไลพร ขอนพันธ์, ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ, ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์, พลสรรค์ สิริเดชนนท์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1266 Wed, 29 May 2024 08:45:55 +0000 วิถีใหม่ ชีวิตใหม่ บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1263 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงการแพร่ระบาดของโควิดด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ คนในสังคมจำเป็นต้องมีสติใช้ชีวิตอย่างมีสติ &nbsp;ต้องรู้จักพึ่งพาตนเองในยามที่วิกฤติ &nbsp;วิถีใหม่ชีวิตใหม่บนรากฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตที่ปรับเปลี่ยนจากเดิม เน้นการพึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ และรู้จักแบ่งปัน ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาตนเองให้มาก พัฒนาทักษะอาชีพ คุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงทางด้านการบริโภคและอุปโภคที่พอเหมาะแก่ความต้องการของร่างกาย การใช้ชีวิตอย่างพอประมาณรู้จักเก็บออม ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ไม่ประมาท รู้จักการแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น ร่วมด้วยช่วยกันในการพัฒนาครอบครัวชุมชน สร้างสังคม และประเทศชาติที่ยั่งยืน โดยยึดหลักแนวทางดำเนินชีวิต ดังนี้ 1. ยึดความประหยัด 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยควาถูกต้องสุจริต 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขาย 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป สิ่งนี้เกิดเป็นวิถีใหม่ในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อเราจำต้องปฏิบัติเป็นปกติต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งจนเกิดเป็นความพอใจ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็ได้กลายเป็น New Normal ในสังคมปัจจุบันนั่นเอง&nbsp;</p> พระมหาโจ กตโจโจ, พระสมนึก จรโณ, อาภากร ปัญโญ, พนม ศรีเผือด ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1263 Wed, 29 May 2024 00:00:00 +0000 แนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1299 <p><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุตามคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและผู้รู้ทั้งหลาย 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม&nbsp; เลือกกลุ่มศึกษา/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา จำนวน 10 รูป/คน เพื่อสอบถามสภาพสิ่งแวดล้อมและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย</span></p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">1.หลักสังหควัตถุเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานที่เชื่อมโยงหรือประสานโลกและคนในสังคมในการอยู่ร่วมกับสังคมมอย่างมีพื้นที่ความสุขและทำให้เป็นพลวัตสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่เหมาะสม</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">2.นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ส่วนมากได้ปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้อการให้ทานด้วยการเสียสละแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจผู้อื่น</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">3.แนวทางเสริมสร้างการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุนั้น ควรจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุธรรมด้วยการใช้กิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม อันจะสอดรับกับเนื้อหาและกิจกรรมในแต่ละวัย ซึ่งก็รวมถึงการทำอย่างต่อเนื่องและสร้างคนคุณธรรมต้นแบบด้วยในเวลาเดียวกันเพื่อให้เกิดการขยายอุปนิสัยที่ดีเหล่านี้ส่งต่อไปยังสังคมและคนรอบข้าง</span></p> พระมหาปุณณ์สมบัติ บุญเรือง, พระมหาเจริญ กระพิลา, พระทศพล โสภาอินทร์, สมิตไธร อภิวัฒนอมรกุล ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1299 Wed, 29 May 2024 08:50:13 +0000 กาลิงคโพธิชาดกที่มาของพฤกษเจติยะในฐานะสายดือทวีป https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1297 <p><strong>บทคัดย่อ&nbsp; </strong></p> <p>บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอแนวคิดการสร้าง สถาปนาพระสถูปเจดีย์ในพุทธศาสนา อันมีที่มาจากคติถูปาหารบุคคล คือบุคคลที่ควรแก่การสร้างสถูปบูชาแล้วยังมีสิ่งที่พระศาสดาให้ความสำคัญ ว่าสามารถเป็นเครื่องรำลึกแทนพระองค์ได้ คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ทรงประทับในคราตรัสรู้นั้นเอง&nbsp; จากความสำคัญของต้นโพธิ์ตรัสรู้ และสถานที่อันเป็นชัยภูมิคือโพธิมณฑลซึ่งเป็นสายดือทวีป และคติการแสวงบุญบูชาสังเวชนียสถาน ในกาลต่อมาคติดังกล่าวได้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสถาปนาพระเจดีย์ในพระศาสนาในยุคสมัยต่างๆ ในดินแดนล้านนาเองก็เช่นกันจากการศึกษาตำราการร้างธาตุเจดีย์ก็ล้วนระบุการจำลองโพธิมณฑลเป็นศนย์กลางของผังมณฑลตั้งแต่รับฐานราก&nbsp;&nbsp; โดยในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอ 1. คติโพธิบูชาในครั้งพุทธกาล ความหมาย คุณค่าและการตีความในแง่มณฑลจักรวาล 2. คติโพธิบูชา กับการสร้างสถาปนาพระธาตุเจดีย์ในอาณาจักรล้านนา จากพับสาตำราการสร้างเจดีย์อักษรธรรมล้านนา 3. คุณค่า ภูมิปัญญา การสืบเนื่องของคติโพธิมณฑล โพธิบูชากับสังคมล้านนาในปัจจุบัน ซึ่งการตีความ ที่เกี่ยวข้องกับคติมหาโพธิมณฑล จุดศูนย์กลางจักรวาลตามคติพุทธ ภายใต้กระบวนทัศน์และบริบทที่หลากหลายจะทำให้เข้าใจโลกทัศน์สภาพสังคมล้านนามากขึ้น</p> พระพงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล, พระมหาวิทยา พลวฑฺฒโน (บุรีเลิศ), พระสุรเกียรติ จนฺทปญโญ (บุญมาตุ่น), ปานลิขิต ลิขิตกาญจน์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1297 Wed, 29 May 2024 08:18:34 +0000 การพัฒนามนุษย์ในยุคดิจิทัล https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1328 <p><span style="font-weight: 400;">บทความวิชาการนี้ มุ่งเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ในยุคดิจิทัล เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคคลที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เป็นการเรียนรู้พัฒนาทักษะสมัยใหม่ เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับบุคคลและทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างเหมาะสม การพัฒนามนุษย์ในยุคดิจิทัลจึงเป็นเส้นทางสำคัญที่ช่วยสร้างสรรค์และปรับปรุงสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ในระยะยาว โดยทั้งรัฐบาล เอกชน และองค์กรต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และทักษะด้านดิจิทัลให้กับประชากรทั่วไปอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยุคดิจิทัลกำลังส่งผลต่อการพัฒนามนุษย์อย่างมีนัยสำคัญจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้มั่นใจถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยข้อสรุปของการศึกษาชิ้นนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะดิจิทัล แนวโน้มและปรากฏการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ ทักษะที่จำเป็นและวิธีการพัฒนามนุษย์ในยุคดิจิทัล การพัฒนามนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ และเสริมสร้างสังคมที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกันเพื่อให้มั่นใจถึงการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืนในยุคดิจิทัล</span></p> พระครูสุนทรมหาเจติยานุรักษ์ มาตย์วงค์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1328 Tue, 25 Jun 2024 07:27:33 +0000 มูลค่าและคุณค่าของ “มูเตลู” ในประเทศไทย ที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1329 <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้ มุ่งเสนอผลการสำรวจมูลค่าและคุณค่าของไสยศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อพยากรณ์ทิศทางของปรากฎการณ์ความเชื่อไสยศาสตร์ในประเทศไทยอันอาจส่งผลต่อสถานะของพระพุทธศาสนาในอนาคต เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติในสังคมไทย ไม่ใช่พุทธบริสุทธิ์ที่เน้นสาระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ หากแต่เป็นพุทธศาสนาที่ผสมผสานความเชื่อแบบไสยศาสตร์อย่างกลมกลืนกับวิถีชีวิตชาวบ้าน มีการสร้างวัตถุมงคล สร้างเรื่องราวตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ เพื่อปลุกเร้าความต้องการให้เกิดการเช่าบูชา จนเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งบางส่วนก็ไม่ปรากฎในระบบรายรับและภาษีอย่างชัดเจน แต่หากผลักดันให้เป็นระบบก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือผลักดัน ซอฟท์ เพาเวอร์ของชาติเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มั่นคงขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในวิถีความเชื่อของคนไทยอยู่แล้ว เนื่องด้วยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ตลาดความเชื่อ เติบโตและฝังแน่นในสังคมไทย ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร เศรษฐกิจจะเฟื่องฟูหรือถดถอย ธุรกิจไสยศาสตร์ไม่เคยซบเซา มูลค่าทางเศรษฐกิจเรื่องนี้สามารถช่วยฟื้นฟูความมั่นคงของชาติได้ คุณค่าของไสยศาสตร์จึงมีประโยชน์ในแง่เป็นเครื่องมือของ ซอฟท์ เพาเวอร์ทางวัฒนธรรม ที่มีโอกาสเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด ตราบที่มนุษย์ยังต้องการความมั่นคงทางใจ และพฤติกรรมมนุษย์สมัยใหม่ที่ใส่ใจตัวเองมากกว่าผู้อื่น คนส่วนใหญ่จึงยึดเหนี่ยววัตถุทางความเชื่อมากกว่าจะพึ่งพิงเพื่อนมนุษย์หรือหลักธรรมของศาสนา หากสังคมยุคใหม่มุ่งใช้ไสยศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการสร้างเศรษฐกิจของชาติ ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในระยะยาว ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดจากซอฟท์เพาเวอร์ไสยศาสตร์อิงพุทธอย่างรู้เท่าทัน และลงมือดำเนินการเผยแผ่คุณค่าของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ เพื่อสร้างสมดุลในคุณค่าของศาสนาให้เป็นที่รับรู้ที่ถูกต้องของชาวพุทธในประเทศไทย และเพื่อจรรโลงของพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป</span></p> ชวนพิศ นภตาศัย, พระครูสิริธรรมเมธี (อุดร ทีปวํโส), พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท (โหลิมชยโชติกุล), พระรัฐพงค์ อาจิณฺณธมฺโม (ทองแปง) ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1329 ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1227 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพัน<br> ต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ <br> เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 196 คน ได้จากกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้<br> ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์<br> ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li class="show">คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ<br> ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเกี่ยวข้องกับสัมพันธ์กับชุมชน สังคม</li> <li class="show">ความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ<br> ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความปรารถนาที่จะรักษาสมาชิกภาพขององค์การไว้</li> </ol> <p>3. ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .817 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ปุญญพัฒน์ จินะ, ภาสกร เรืองรอง ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1227 Thu, 30 May 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านศาลา https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1212 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำพื้นฐาน<br>โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านศาลา<br>ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ<br>SQ5R เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3<br>โรงเรียนบ้านศาลา โดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว<br>เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ<br>และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย<br>ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t - test แบบ Dependent Sample<br>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R<br>ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านศาลา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<br>0.05 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R<br>อยู่ในระดับมากที่สุด</p> อารยา สำราญเพิ่มพูน, ปภัสรา ดีอุโมงค์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1212 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง วันเดือนปี (Days/Months/Years) โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1292 <p>บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง วันเดือนปี (Days Months Years) &nbsp;โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียวเพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง วันเดือนปี (Days Months Years) &nbsp;โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ธนัชพร ยอดคำ, นพรัตน์ กันทะพิกุล ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1292 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1261 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ณัฏฐธิดา พยาคำ, กวินภพ นพมาศนิรันดร์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1261 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1225 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 57 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ควรใช้การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ในกระบวนการความพร้อมของสถานศึกษา ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การวัดและประเมินผลควรกำหนดรูปแบบ/เกณฑ์การประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง</p> วีระศักดิ์ เต๋จ๊ะแยง, ธีระภัทร ประสมสุข, เมืองอินทร์ ชรสุวรรณ, เสกชัย ชมภูนุช ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1225 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1228 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางของการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้แบบสอบถามกับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 93 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>การศึกษาความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ โรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์ สมรรถนะด้านทักษะ มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมา คือ สมรรถนะด้านความรู้</p> บุญบูรพ์ มณีแดง, อ้อมธจิต แป้นศรี ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1228 Thu, 30 May 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดห้วยไร่ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1281 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดห้วยไร่ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ รูปแบบการวิจัย กึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดห้วยไร่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับปานกลาง</p> พุทธิพล เก่งไฉไล, ศุภัทรพงษ์ คุณยศยิ่ง, ชาญวิทย์ อนุรักษ์พงพี ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1281 Thu, 06 Jun 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1289 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษ Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์เขียนภาษาอังกฤษ Capital Letter โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าตัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดล (CIPPA Model) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> อารียา เมืองมูล, พระพิทักษ์ ฐานิสฺสโร ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1289 Thu, 06 Jun 2024 00:00:00 +0000 ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1239 <p><span style="font-weight: 400;">บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรของครู ในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 250 คนซึ่งมาจาก วิทยาลัยเทคนิคลำปาง จำนวน 113 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง จำนวน 46 คน วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง จำนวน 20 คน วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง จำนวน 27 คน วิทยาลัย การอาชีพเถิน จำนวน 13 คน วิทยาลัยเทคนิคการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จำนวน 20 คน และวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม จำนวน 11 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 4 ด้านคือ ด้านงานจัดหาบุคลากร ด้านงานดูแลรักษาบุคลากร ด้านการควบคุมดูแลบุคลากร และด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test)</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 4 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.89 และมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านงานดูแลรักษาบุคลากร (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.938) ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.886) ด้านการควบคุมดูแลบุคลากร (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.882) และด้านงานจัดหาบุคลากร (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.873) 2). ผลการศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล จำแนกตามประเภทบุคลากร พบว่าประกอบด้วยกลุ่มข้าราชการจำนวน 117 คน (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 4.072) พนักงานราชการจำนวน 18 คน (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 4.304) และครูพิเศษสอน จำนวน 115 คน (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.886) มีความพึงพอใจแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จำแนกบุคลากรตามประเภทสถานศึกษาพบว่าประกอบด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 4.331) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 4.173) วิทยาลัยการอาชีพเถิน (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 4.156) วิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.939) วิทยาลัยเทคนิคการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.938) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง (</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 3.810) วิทยาลัยเทคนิคนครลำปาง(</span><span style="font-weight: 400;">X</span><span style="font-weight: 400;"> = 2.921) มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05&nbsp;</span></p> สอาด สุรินทร์, กาญจนา ภาสุรพันธ์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1239 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0000 การทำนาลุ่ม” วัฒนธรรมร่วมของคนไท : กรณีศึกษาคนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย และคนไทอายตอน ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1256 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับ นางขวัญข้าว หรือแม่โพสพ ผู้ปกปักดูแลรักษาข้าวตามความเชื่อของคนไท นับตั้งแต่เมื่อต้นกล้าอนุบาลได้ถูกปักลงบนผืนดินจนให้ผลผลิต นางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ เป็นความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือการบูชาธรรมชาติ (Animism) เพียงอย่างเดียวที่สืบทอดกันมา ที่มีลักษณะเป็นเพศหญิงในบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่คนไทให้ความสำคัญในฐานะแม่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องปากท้องอาหารการกินและความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนหมู่บ้าน ก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาเป็นสายใยหลักของชุมชน ที่นำไปสู่การให้ความสำคัญและยกย่องเพศชายเป็นใหญ่ในฐานะพ่อผู้ปกครอง และผู้สืบทอดศาสนาพุทธและวัฒนธรรมไทได้ดีกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การเคารพบูชานางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ ยังคงมีสืบเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบันแม้ศาสนาพุทธจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในวัฒนธรรมไท แต่นางขวัญข้าว หรือแม่โพสพ ก็ยังคงเป็นความเชื่อที่คนไทยังคงเคารพบูชาเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมข้าวของคนไท วัฒนธรรมข้าวสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทนอกเหนือไปจากการใช้ภาษาไทและวัฒนธรรมประเพณีธรรมเนียมแบบไท ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทมาช้านาน ทำให้วัฒนธรรมข้าวหรือประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนานั้นเป็นเรื่องที่คนไททุกคนมีร่วมกัน ผ่านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความเชื่อเรื่องนางขวัญข้าวหรือแม่โพสพ พิธีร้องขวัญ การบูชานางขวัญข้าว ความเชื่อเรื่อง “ผีไร่,ผีทุ่ง” อาหารหรือขนมที่ทำมาจากข้าว เป็นต้น</p> Wanlaya Namtham ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1256 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 บทสรุปแนวทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาสู่สากล ด้วยยุทธศาสตร์ SOFT POWER ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1284 <p>บทความวิชาการนี้สรุปแนวทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาสู่สากลด้วยยุทธศาสตร์ SOFT POWER นั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินการหลายประการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้แก่ การจัดงานประชุมและการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับพุทธศาสตร์ล้านนา การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนา เพื่อสร้างนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาใหม่ๆ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อดึงดูดผู้แสวงหาจิตวิญญาณจากทั่วโลก การสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเผยแพร่พุทธศาสตร์ล้านนาในระดับสากล การนำสิ่งของเหลือใช้จากในวัดมาประดิษฐ์และประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาในด้านอื่นๆ เช่น พุทธเกษตรเพื่อการดำรงชีพ พุทธเกษตรเพื่อศึกษาพืชที่ใช้ทำยาสมุนไพร เป็นต้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โดยการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาสู่สากลด้วยยุทธศาสตร์ SOFT POWER นำมาซึ่งประโยชน์มากมาย ได้แก่ การส่งเสริมความเข้าใจในวัฒนธรรมไทย และสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของประเทศไทยในสายตาชาวโลก การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต การพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและการส่งออกนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนา การส่งเสริมสันติภาพและความสามัคคี โดยการเผยแพร่หลักธรรมทางพุทธศาสนาที่เน้นความเมตตาและความเข้าใจ การประดิษฐ์และประยุกต์ สร้างนวัตกรรมใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาในด้านต่างๆ</p> <p>โดยสรุป นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสามารถใช้เพื่อทำให้การปฏิบัติทางพุทธศาสนาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีส่วนร่วมมากขึ้น พร้อมการวิจัยสามารถนำไปสู่การพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในบริบทสมัยใหม่ ความร่วมมือระหว่างวัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม และสถาบันการศึกษาสามารถส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนานวัตกรรม ด้วยประการดังกล่าวจึงสามารถแนะนำเครื่องมือหรือแนวทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้แก่ <em>บทความและบล็อกโพสต์</em> โดยแสดงเนื้อหาประโยชน์ของการปฏิบัติทางพุทธศาสนา หลักธรรมทางพุทธศาสนาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และแสดงนวัตกรรมทางพุทธศาสตร์ล้านนาและศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงโลก <em>วิดีโอและพอดแคสต์</em> โดยการสัมภาษณ์กับพระสงฆ์และผู้ปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับพุทธศาสตร์ล้านนา การสอนการปฏิบัติทางพุทธศาสนาแบบง่ายๆ การสำรวจวัดและศูนย์ปฏิบัติธรรมในล้านนา <em>อินโฟกราฟิกและภาพ</em> โดยข้อมูลเกี่ยวกับการเติบโตของพุทธศาสนาในระดับโลก ประโยชน์ของการปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่ได้รับการสนับสนุนจากการวิจัย ภาพที่สวยงามของวัดและสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาในล้านนา</p> นพรัตน์ กันทะพิกุล, อรรถพล วิชัยศรี, ธวัชชัย ชื่นชมพฤกษา ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1284 Fri, 27 Sep 2024 06:23:15 +0000 การบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับการเมืองสมัยใหม่ในสังคมไทย https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1268 <p>บทความนี้ต้องการศึกษาแนวคิดและองค์ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบในฐานะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอย่างที่ยั่งยืน โดยการบูรณาการให้เข้าศาสตร์ทางการเมืองเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่การเมืองสมัยใหม่แบบโลกตะวันตกด้วยอุดมการณ์และแนวคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวรับรู้ประชาธิปไตยใหม่ แต่ไม่ว่าศาสตร์สาขาวิชาใดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อการก้าวไปข้างหน้าของประเทศ พุทธศาสนาเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตในสังคมไทยเพราะสถาบันที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของทั้งปัจเจกบุคคล และสังคมโดยส่วนรวม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพลังสร้างสรรค์สังคม ถ่ายทอด ปลูกฝัง วัฒนธรรมและจริยธรรมทางสังคมก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมและความรู้สึกเป็นชาติ ระหว่างสมาชิกในสังคม นอกจากนี้ยังจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและค่านิยมรวมถึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ และการกระทำต่อกันระหว่างสมาชิกในสังคมไทย ทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมอีกด้วย พุทธศาสนาไม่เพียงเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปัญหาทางศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันทางสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นการนำองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาไปปรับใช้กับการเมืองสมัยใหม่ในสังคมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ พุทธศาสนากับการเมือง คือโจทย์ที่สำคัญของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงด้านศาสนาและการเมืองที่ควรให้ความสนใจนำมาปรับใช้มากกว่าจะนำมาเป็นญัตติแห่งอุดมการณ์เพียงเท่านั้น และเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญ เพราะศาสตร์แห่งธรรมนั้นสอดคล้องต่อสิ่งแวดล้อมทุกชนิด และที่สำคัญคือการมองปัญหาทางการมืองสมัยต้องใช้หลักธรรมมาช่วยแก้ไขและโอกาสให้โอกาสประชาชนต่อการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธี เราจึงต้องทำความเข้าใจและอธิบายให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนา กับการเมืองสมัยใหม่สู่วัตกรรมองค์ความรู้ทางการเมือง เป็นแนวทางสู่การพัฒนายกระดับวิชาการด้านพุทธศาสนา และศาสตร์ของการปกครองต่อไป</p> วีรนุช พรมจักร์, ไทยปัก เลี้ยงธนารักษ์ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1268 Sun, 22 Sep 2024 00:00:00 +0000 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรเรียนห้วยโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1208 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา( content Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย&nbsp; ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง&nbsp; พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความกล้าเสี่ยง&nbsp; ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง&nbsp; ด้านความกระตือรือร้น&nbsp; ด้านความทะเยอทะยาน&nbsp;&nbsp; ด้านความมีเอกลักษณ์&nbsp; และด้านการวางแผน&nbsp; ตามลำดับ&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มห้วยโป่ง พบว่า ในแต่ละด้านมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้ ด้านความกระตือรือร้น&nbsp; ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ มีภาวะผู้นำในการบริหาร และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง บริหารงานได้ทันตามกำหนดและตรงต่อเวลา ด้านความทะเยอทะยาน&nbsp; ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้านความกล้าเสี่ยง&nbsp; ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นบุคคลที่ กล้าคิด กล้าปฏิบัติ กล้าตัดสินใจ และกล้าเผชิญความท้าทาย ด้านการวางแผน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา และรายงานผลการปฏิบัติงาน ด้านความมีเอกลักษณ์&nbsp; ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะที่โดดเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเอง&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>คำสำคัญ : แรงจูงใจ,การปฏิบัติงาน,ผู้บริหารสถานศึกษา, กลุ่มโรงเรียนห้วยโป่ง</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;</p> รพีพร ไพรคติภพ, จันทรฉาย ยมสูงเนิน, ธีระภัทร ประสมสุข, เสกชัย ชมภูนุช ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1208 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1216 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต3&nbsp; ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 60 คนประกอบไปด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน รักษาการตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คนและครูผู้สอน จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณณา<strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า </strong>1) การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp; เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดิจิทัล และ 2) แนวทางการพัฒนาได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบสามารถตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลได้และสอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมให้ใช้ระบบสาระสนเทศ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยบันทึกข้อมูลโดยการใช้ระบบQ-infoเข้ามาช่วย ผู้บริหารควรเสริมสร้างความรู้ทักษะแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วมและ ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมการวางแผนพัฒนากระบวนการการเรียนการสอน มีการวิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> แวววลี พุทธิมา, สาโรจน์ แก้วอรุณ, สุดา เนตรสว่าง ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1216 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1219 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สภาพการบริหาร และเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากร ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2566 ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 คน และครู/ผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 75 คน รวมทั้งหมด 87 คน และ ครูผู้ดูแลเด็กที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี ในการสัมภาษณ์ ลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong> การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านสื่อและนวัตกรรมการจัดประสบการณ์ ส่วนด้านการจัดประสบการณ์/การจัดกิจกรรมประจำวัน อยู่ในระดับน้อย แนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คือ ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้ดูแลเด็กควรเขียนแผนการจัดประสบการณ์และผลิตสื่อและนวัตกรรมการจัดประสบการณ์โดยยึดหลักสูตรของสถานศึกษาเป็นหลัก การวัดและประเมินผลควรกำหนดรูปแบบ/เกณฑ์การประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง ควรใช้การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (PDCA) ในกระบวนการความพร้อมของสถานศึกษา</p> ณัฏฐนิตย์ พันธุรักษา, ธีระภัทร ประสมสุข, เสกชัย ชมภูนุช, จันทรฉาย ยมสูงเนิน ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1219 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 ทักษะการบริหารสถานศึกษายุคศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มนิมิตศิลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 1 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1223 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ และ แนวทางพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษายุคศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มนิมิตศิลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 52 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong>พบว่า ทักษะการบริหารสถานศึกษายุคศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มนิมิตศิลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลพบุรี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ทักษะด้านความรู้ความคิด ด้านเทคนิควิธี ด้านการสอนงาน ด้านมนุษย์ และ ด้านความคิดรวบยอด ตามลำดับ</p> ปัทมนันท์ ตั้งกาญจนศรี, ธีระภัทร ประสมสุข, เมืองอินทร์ ชรสุวรรณ์, พงษ์ไทย บัววัด ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1223 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1211 <p>บทความวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรสถาน และ แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน&nbsp; กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู จำนวน 140 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน&nbsp; โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา&nbsp; ด้านการดำเนินการใช้หลักสูตร&nbsp; ด้านการวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตร&nbsp; ด้านการนิเทศกำกับติดตาม&nbsp; และ ด้านการประเมินผลการใช้หลักสูตร ตามลำดับ</p> <p>แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีดังนี้ ศึกษาสภาพปัญหาของโรงเรียนเพื่อจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน บรรจุหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลงในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจัดเก็บข้อมูลนักเรียนให้เป็นปัจจุบันเข้าถึงได้ง่าย ให้มีการวางแผนการนิเทศในการใช้หลักสูตรขอสถานศึกษาให้เป็นขั้นเป็นตอน ให้มีการการติดตามการใช้หลักสูตรในเชิงบวกโดยสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่ได้รับการนิเทศ และให้มีการสะท้อนผลการนิเทศ สถานศึกษามีการกำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยมีอิสระในการบริหารหลักสูตรเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่งตั้งคณะกรรมการการนิเทศภายในเพื่อติดตามและทบทวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา มีการนำผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษานั้นนำไปพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา</p> สุรพิมพ์ แก้วแปงจันทร์, สุดา เนตรสว่าง, สาโรจน์ แก้วอรุน, ธรรมรส โชติกุญชร ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1211 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น ซอฟต์พาวเวอร์ของชุมชน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1249 <p style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 36.0pt; margin: 0cm -1.15pt 0cm 0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: black; letter-spacing: -.2pt;">การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตน การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม หรือเพื่อประโยชน์แห่งความรอบรู้ของตน โดยอาจ ได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสม จำเป็นต้องมีการวางแผนมีการสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะ หลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะแห่งศตวรรษที่ </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif; color: black; letter-spacing: -.2pt;">21 <span lang="TH">โดยใช้ทักษะ </span>CPMD <span lang="TH">ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (</span>Creative Thinking) <span lang="TH">ทักษะการแก้ปัญหา (</span>Problem Solving) <span lang="TH">การจัดการตลาด (</span>Marketing management) <span lang="TH">ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ </span><span style="background: white;">(Digital literacy) </span><span lang="TH">ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น รวมทั้งทักษะการขายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นซอฟต์พาวเวอร์ของชุมชน ซึ่งลักษณะของซอฟต์พาวเวอร์ ของแต่ละชุมชนขึ้นอยู่กับบริบทพื้นที่ชุมชนการนำเอาเอกลักษณ์ที่มีในชุมชนมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์รวมทั้งสืบทอดวัฒนธรรมของชุมชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไป</span></span></p> ปรียาภรณ์ วิทยเวทย์, เรืองนิตย์ สิ้นภัย, ยงยุทธ อ้ายเกี๋ยง ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1249 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารสถานศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่ข่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1207 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารการศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่ข่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 6 คน&nbsp; ครูผู้สอนจำนวน 76 คน รวมทั้งหมด 82&nbsp; คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong><strong>1) </strong>การบริหารสถานศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่ข่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการบริหารงานงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับมากและด้านการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารการศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่ข่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ด้านบริหารงานวิชาการควรส่งเสริมให้มีการจัดกระบวนการเรียนการ สอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลายและเกิดความคิดสร้างสรรค์ ด้านบริหารงานงบประมาณควรมีความรู้และเข้าใจ มองเห็นคุณค่าของการใช้สื่อเทคโนโลยีในการบริหารงานงบประมาณที่ผิดพลาดไม่ได้ ด้านบริหารงานบุคคลควรมีการใช้โปรแกรมหรือเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงานบุคคล ด้านบริหารงานทั่วไปควรมีการนำเทคโนโลยีมาจัดการบริหารในโรงเรียน เช่น ระบบการติดต่อสื่อสารทางราชการทั้งภายในและภายนอก ด้วยการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศโดยใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;</p> ธิดารัตน์ แสนปัญญา, ธีระภัทร ประสมสุข, เสกชัย ชมภูนุช ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1207 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1210 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ แบบเจาะจง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong> การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมาก ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก</p> <p>แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 คือ สถานศึกษาควรจัดให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มากขึ้น มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และส่งเสริม ให้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีส่วนร่วมในการปรับปรุงระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดผลและประเมินผล ส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งครูที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาชาวิชาจากโรงเรียนขนาดใหญ่ไปช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก จัดทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชนและพัฒนาพื้นที่โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้วย</p> รุ่งนภา เจริญธรรม, สิทธิชัย มูลเขียน, สุรัตน์ ศรีดาเดช, ประกอบ สาระวรรณ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1210 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนปกครองท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1224 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 103 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li class="show">การบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตร ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล และด้านการสรุปผลการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับ มาก</li> <li class="show">แนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตร ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้ ควรมีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ และร่วมกันจัดทำหลักสูตร ใช้กระบวนการ PLC ร่วมกันวิเคราะห์บริบท ร่วมกันออกแบบแผนการเรียนรู้ กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง มีการวิเคราะห์ร่วมกัน สำรวจความต้องการ ความจำเป็นพื้นฐานด้านอาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร แต่งตั้งผู้รับผิดชอบการบริหารหลักสูตรเป็นช่วงชั้น มีการกำกับ ติดตามให้มีการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นระบบ มีการกำหนดปฏิทินในการนิเทศอย่างชัดเจน รายงานผลการใช้หลักสูตรเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเป็นปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ</li> </ol> มณีวรรณ์ สุระเสียง, สุรศักดิ์ สุทธสิริ, สังวาร วังแจ่ม, ทัศนีย์ บุญมาธิ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1224 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1232 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการทางการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าติ้ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> รัชพล วิทิยศ, พรทิพย์ แสงสรทวีศักดิ์, เกศรา พะยิ ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1232 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English โดยวิธีการจัดการเรียนรู้เเบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1293 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0<em>.</em>05 2) นักเรียนมีความเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด</p> กมล เกตุรัตนสมบูรณ์, พระพิทักษ์ แฝงโกฎิ, พระมหาพิเศษ สุขสมาน ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1293 Sat, 28 Sep 2024 02:50:16 +0000 การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จาก E-book โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1291 <p style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา ก่อนเรียนและหลังเรียน2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนป่าแป๋วิทยา โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample</p> <p><span style="font-weight: 400;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทาง</span><span style="font-weight: 400;">การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (</span><span style="font-weight: 400;">Brain-Based Learning) </span><span style="font-weight: 400;">ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ </span><span style="font-weight: 400;">3</span><span style="font-weight: 400;"> โรงเรียนป่าแป๋วิทยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span><span style="font-weight: 400;">2</span><span style="font-weight: 400;">) ผลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ </span><span style="font-weight: 400;">3</span><span style="font-weight: 400;"> ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้</span><span style="font-weight: 400;">แบบสมองเป็นฐาน (</span><span style="font-weight: 400;">Brain-Based Learning) </span><span style="font-weight: 400;">อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> อาฟู อุดมธัญญกิจ, พิรุณ จันทวาส ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1291 Sat, 28 Sep 2024 02:55:43 +0000 การเรียนรู้ภาวะผู้นำในนักเรียนแกนนำเยาวชนผ่านโครงการผลิตสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อรู้เท่าทันโทษกัญชา กัญชง ในกลุ่มเยาวชน พื้นที่ชุมชนและครอบครัวโรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1288 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในนักเรียนแกนนำเยาวชนผ่านการทำกิจกรรมโครงการเสริมสร้างความรู้เท่าทันโทษของกัญชา กัญชง ในกลุ่มเด็กและเยาวชนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด และ 2) เพื่อให้นักเรียนเป็นแกนนำเยาวชนผลิตสื่อและเผยแพร่เพื่อเสริมความรอบรู้เกี่ยวกับโทษของกัญชา กัญชงในกลุ่มเด็กและเยาวชนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด โดยการดำเนินการวิจัย มีประชากรที่ทำวิจัยคือ นักเรียนแกนนำเยาวชนจำนวน 20 คน และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเกรด 9-12 และ ครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน จำนวนรวม 90 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) นักเรียนแกนนำเยาวชนเกิดภาวะผู้นำผ่านการใช้โครงการผลิตสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อรู้เท่าทันโทษกัญชา กัญชง ในกลุ่มเยาวชน พื้นที่ชุมชนและครอบครัว โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด&nbsp; โดยเรียนรู้ภาวะผู้นำได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม&nbsp; การนำโครงการ&nbsp;&nbsp; 2) นักเรียนแกนนำเยาวชน สามารถผลิตสื่อและเผยแพร่ไปยังนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ดที่เป็นนักเรียนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการใช้กัญชาในเด็กและเยาวชน ตลอดจนพื้นที่ชุมชนและครอบครัว 3)นักเรียนแกนนำได้รับความรู้และมีภาวะผู้นำในการนำโครงการเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนในการใช้กัญชา กัญชง ภาวะผู้นำที่เกิดขึ้นกับนักเรียนแกนนำสามารถเสริมทักษะการเป็นผู้นำ ด้านกิจกรรมวิชาการในอนาคต และยังสามารถนำผลไปสู่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกรด 9-12 และ ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงโรงเรียนและชุมชนร้านค้าใกล้โรงเรียนให้ความร่วมมือ และโรงเรียนยังสนับสนุนจนนำไปสู่การออกนโนยายและการประกาศของโรงเรียนชี้นำความถูกต้องให้กับสังคม ชุมชนพื้นที่และครอบครัวที่อยู่ใกล้เคียงโรงเรียนได้อีกด้วย</p> จอห์นนพดล วศินสุนทร, วณิชญา นาวะลัง ##submission.copyrightStatement## https://firstojs.com/index.php/MBU/article/view/1288 Thu, 26 Sep 2024 00:00:00 +0000