https://firstojs.com/index.php/JDW/issue/feed
การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ และนานาชาติ (วารสารธรรมวิชญ์)
2024-09-25T15:32:36+00:00
ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
phisit1955@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารธรรมวิชญ์ เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา พัฒนาสังคม เศรษฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรม และรัฐศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารธรรมวิชญ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารธรรมวิชญ์ (Journal of Dhammawit) อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารธรรมวิชญ์ กำหนด</p> <p> ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ วารสารธรรมวิชญ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารธรรมวิชญ์</p>
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1305
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่
2024-09-05T11:53:31+00:00
พระสอนทะวี ทุมประเสริฐ
sonethavy619@gmail.com
<p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (2) เพื่อวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อค้นหาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ในบริบทดังกล่าว</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า (1)<span class="Apple-converted-space"> </span>วิธีการเผยแผ่ในสมัยพุทธกาลรวมถึงการแสดงธรรมและสนทนาธรรม ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละยุคสมัย (2) การเผยแผ่ผ่านสื่อออนไลน์ในปัจจุบันมีข้อจำกัด พระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ Facebook เพื่อเผยแผ่หลักธรรมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ยังคงเผชิญปัญหาเชิงบริบท เช่น การยึดติดกับรูปแบบการเผยแผ่แบบดั้งเดิมและการใช้ภาษาที่ไม่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (3) การวิเคราะห์แนวทางการเผยแผ่ผ่านสื่อออนไลน์เสนอว่า พระสงฆ์ควรมีความเชี่ยวชาญในหลักธรรมและสามารถปรับวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องกับสื่อออนไลน์ เพื่อให้การเผยแผ่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับสาร</p>
2024-09-05T11:53:30+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1351
แนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
2024-09-05T11:56:42+00:00
พระกัมพล อิ่นแก้ว
Kititammo@gmail.com
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ
kititammo@gmail.com
พระครูสิริปริยัตยานุสาสก์ .
kititammo@gmail.com
<p class="p1">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของคัมภีร์ใบลานในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 3) นำเสนอแนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในพื้นที่ดังกล่าว การวิจัยนี้ใช้วิธีผสานทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์และการสำรวจภาคสนาม</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) คัมภีร์ใบลานมีความสำคัญในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มมีการจารึกคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ศรีลังกาในปี พ.ศ. 433 เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการท่องจำ 2) การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในอำเภอแม่วางประสบปัญหาจากทั้งสาเหตุภายใน เช่น การเสื่อมสภาพของวัสดุ และสาเหตุภายนอก เช่น มลพิษ อุณหภูมิ และการขาดการเรียนการสอนอักษรล้านนา 3) แนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในวัดที่สำรวจมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจและสรรหาข้อมูล เตรียมการอนุรักษ์โดยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติการอนุรักษ์ด้วยการทำความสะอาดและจัดหมวดหมู่คัมภีร์ และสร้างความยั่งยืนด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการอนุรักษ์ในพื้นที่ สรุปได้ว่าการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจในชุมชนเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป</p>
2024-09-05T11:49:23+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1341
พระวิษณุกรรมกับการสร้างสรรค์ประติมากรรมแนวประเพณี
2024-09-05T12:01:19+00:00
วรวัฒน์ เขียวติ๊บ
worawatpom@gmail.com
สุชัย สิริรวีกูล
worawatpom@gmail.com
พูนชัย ปันธิยะ
worawatpom@gmail.com
<p class="p1">This research article has three primary objectives: 1) to study the history, beliefs, and characteristics of Vishvakarma in Buddhism; 2) to examine and analyze the forms of Vishvakarma sculptures in Lanna; and 3) to create Vishvakarma sculptures for the preservation of Lanna traditions. This research employs a mixed-method approach, combining qualitative research through in-depth interviews with key informants and focus group discussions with experts in Buddhist art.</p> <p class="p1">The research findings reveal that: 1) The history, beliefs, and characteristics of Vishvakarma in Buddhism depict Vishvakarma as a deity with a significant role in creating various objects and sacred items according to Buddhist legends, showcasing ancient excellence in art and engineering. 2) The analysis of Vishvakarma sculptures in Lanna reveals that these sculptures serve as a medium to convey abstract beliefs into tangible forms. Lanna artisans utilized local materials to create highly valuable artistic works. 3) The creation of Vishvakarma sculptures for the preservation of Lanna traditions developed from studying and synthesizing traditional knowledge, beginning with drafting prototype images and progressing to the casting of Vishvakarma in brass. Additionally, the knowledge and techniques of this creative process have been shared with the public to ensure the sustainable preservation of Lanna traditions.</p>
2024-09-05T09:51:27+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1338
บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
2024-09-05T12:04:41+00:00
พระอธิการศิวดล มหาวีโร
vuttanak5596472@gmail.com
พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ .
vuttanak5596472@gmail.com
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์
vuttanak5596472@gmail.com
สุรีวรรณ ราชสม
vuttanak5596472@gmail.com
<p> บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทและหน้าที่ส่งเสริมสุขภาวะด้านกาย ได้แก่ การจัดตั้งตู้ยาประจำหมู่บ้าน ธรรมะเพื่อสุขภาพ ชมรมออกกำลังกาย เป็นต้น, ด้านจิตใจ ได้แก่ การบรรยายธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การบรรยายธรรมผ่านสื่อวิทยุ, ด้านสังคม ได้แก่ ส่งเสริมทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง, และด้านปัญญา ได้แก่ การให้ความรู้ การสอนหนังสือ การจัดตั้งห้องสมุดประชาชน เป็นต้น 2) หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้พัฒนาส่งเสริมสุขภาวะเป็นแนวทางในการดำเนินการสุขภาวะที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หรือปัญญาเชื่อมโยงกัน เป็นองค์รวม ซึ่งได้แบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ได้จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านจิตใจ มีกิจกรรม ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมของกลุ่มเยาวชน ทําให้เยาวชนในเขตตําบลหนองตอง มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสํานึกที่ดี, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านสังคม ได้จัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมสร้างอาชีพในการทำตุงขาย สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านปัญญา ได้จัดกิจกรรม โครงการผู้สูงอายุเข้าวัด ปฎิบัติธรรมในวันธรรมเสวนะ 3) รูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 รูปแบบการศึกษาและสำรวจข้อมูล เกี่ยวกับบทบาทการดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนองตอง นตอนที่ 2 รูปแบบการตัดสินใจ โดยการจัดเวทีเสมนากลุ่ม เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนา ขั้นตอนที 3 รูปแบบการพัฒนา โดยหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มอาชีพ อสม. และองค์กรอื่น ก่อให้เกิดการร่วมกันวางแผน และดำเนินโครงการกิจกรรมมารองรับการดำเนินงานของการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง ทั้งหมด 4 โครงการ คือ โครงการอบรมคุณธรรมเจริยธรรมของเยาวชน โครงการส่งเสริมรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ โครงการเข้าวัดปฎิบัติธรรมของผู้สูงอายุ</p>
2024-09-05T11:42:37+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1331
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูยุคใหม่ กลุ่มโรงเรียนปางมะค่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
2024-09-06T08:17:20+00:00
ชาตรี สัตพันธ์
chatree001.25251982@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูยุคใหม่ กลุ่มโรงเรียนปางมะค่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษากำแพงเพชร เขต 2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ความเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูยุคใหม่ กลุ่มโรงเรียนปางมะค่า สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ พบว่า ด้านการพัฒนางานวิชาการที่เน้นการเรียนการสอน คือ สถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนงานวิชาการให้ชุมชนและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ด้านพฤติกรรมแบบมุ่งงานวิชาการและมุ่งความสัมพันธ์คือ ครูและผู้บริหารควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน ด้านความคิดริเริ่มและความรู้ความสามารถทางวิชาการคือ ครูควรได้รับการส่งเสริมให้ต่อยอดความรู้ มีความคิดริเริ่มใหม่ วางแผนพัฒนาตนเองจากสื่อต่าง ๆ ด้านการพัฒนาความสามารถทางวิชาการของครูคือ ควรมีการสนับสนุนการพัฒนาทางวิชาการเพื่อมุ่งเน้นให้ครูเป็นครูมืออาชีพ ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้พัฒนาครู ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของครูคือ ครูควรได้รับการชี้ส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพ</p>
2024-09-06T08:17:20+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1306
ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ของศูนย์กิจกรรมและบริการผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
2024-09-06T11:40:07+00:00
เพียงพิศ ศรีมูล
otopnongpakrang55@gmail.com
<p class="p1">This research article aims to: 1) study the lifestyle activities of the elderly in Nong Pa Khrang Subdistrict Municipality, Mueang District, Chiang Mai Province, 2) analyze the application of Buddhist principles in the lives of the elderly in this area, and 3) present Buddhist principles that promote the well-being of the elderly. This qualitative research employed document analysis, review of related studies, and interviews with 25 elderly participants at the Elderly Activity and Service Center of Nong Pa Khrang Subdistrict Municipality.</p> <p class="p1">The research findings revealed that: 1) The lifestyle activities of the elderly focus on promoting physical and mental health, social interaction, and the transmission of knowledge and wisdom. 2) The elderlyís daily practices emphasize the beneficial use of leisure time, with activities that help reduce stress, maintain mental health, and encourage volunteerism. The elderly participate in various activities according to their readiness, such as worshiping, making merit on important religious days, and engaging in community service. 3) The Buddhist principles that support the elderlyís well-being include the Four Brahmaviharas for harmonious social living, the Three Bases of Meritorious Action for fostering good relationships and mutual assistance, the Principles for Longevity that align with holistic health practices, and the Four Sangahavatthus for constructive communication, discerning right actions, and cultivating mental concentration.</p> <p class="p2"> </p>
2024-09-06T10:55:45+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1347
วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่นระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ตามหลักไตรสิกขา
2024-09-06T11:46:31+00:00
ทองหล่อ พรมสาส์น
Narong.law2524@gmail.com
<p class="p1">งานวิจัย เรื่อง วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ตามหลักไตรสิกขา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่<span class="Apple-converted-space"> </span>2. วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ 3. เสนอแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ตามหลักไตรสิกขา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Reserch) <span class="Apple-converted-space"> </span>เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และจากการสัมภาษณ์ ทำให้ได้วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของวัยรุ่น ระดับอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล คือ กฎ ระเบียบ สมาธิ คือ การตั้งใจมั่น รู้จักหน้าที่ เป้าหมายของตนเอง<span class="Apple-converted-space"> </span>ปัญญา คือ รู้ทั่ว รู้รอบ ตระหนักรู้เหตุและผล ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง ครอบครัวและสถาบัน</p>
2024-09-06T11:45:17+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1371
การพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
2024-09-06T13:25:01+00:00
สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล
sawat_ake@yahoo.com
<p class="p1">การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 6 คน และการ<span class="s1">สนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน 2. ศึกษาการส่งเสริม</span>พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน และ 3. เพื่อพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน</p> <p class="p1">ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการเลือกตั้งมุ่งเน้นในการกระทำผิดกฎหมายในการลงคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากระบบอุปถัมภ์และระบบทุนนิยมมีอิทธิพลในการตัดสินใจของ 2. การส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน องค์ประกอบในด้านอุดมการณ์ และการกำหนดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งมีความสำคัญ การเลือกตั้งจะอยู่ภายใต้โครงข่ายการพึ่งพาทางสังคมของการเลือกตั้งในพื้นที่ 3. การพัฒนาการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ประชาชนสนใจและตระหนักถึงความสำคัญ ขยายระยะเวลาในการเลือกตั้ง ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้งมีความโปร่งใส ยุติธรรม ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง กำหนด กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ตัดสินใจเลือกตั้งได้ง่าย อำนวยความสะดวกการตัดสินใจ พัฒนาโครงข่ายการทางสังคม</p>
2024-09-06T13:25:01+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1307
บทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท
2024-09-06T13:55:30+00:00
พระมหาสมบูรณ์ สายวรรณ
somboonsaiwan@gmail.com
<p>การวิจัยนี้เรื่อง “บทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ๑) เพื่อศึกษาประวัติของพระอินทร์ในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท และ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท และวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เอกสาร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลในอรรถกถา ธรรมบท ๘ ภาค ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> พระอินทร์หรือท้าวสักกะเดิมเป็นมาณพ ชื่อว่า มฆะ เป็นผู้มีจิตอาสาสร้างสาธารณะประโยชน์ ด้วยความเสียสละ ต่อมามีผู้เห็นว่าสิ่งที่มฆมาณพทำมีประโยชน์ จึงขอเข้าร่วมกลุ่มรวมกัน ๓๓ คน เริ่มสร้างที่สาธารณะประโยชน์ที่ใหญ่ขึ้นคือ คือถนน เป็นระยะหลายโยชน์ มีผู้ไม่หวังดี แจ้งความแก่พระราชาว่า มฆมาณพกับสหายเป็นกบฏ พระราชามิทันพิจารณารับสั่งให้ประหาร โดยให้ช้างเหยียบ มฆมาณพแผ่เมตตาให้ช้างพระราชาและผู้ที่ให้ร้าย ด้วยอานิสงส์เมตตานี้ ช้างไม่ยอมเหยียบ พระราชาทรงแปลกใจ พอทราบความจริง พระราชาจึงประทานช้าง พร้อมกับผู้ที่ให้ร้ายเป็นทาสของมฆมาณพกับสหาย ต่อมาได้สร้างศาลาที่พักสำหรับคนเดินทางไกล โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ถนนหนทาง ขุดสระโบกขรณี สมาทานประพฤติธรรมคือ วัตตบท ๗ ประการ อย่างบริบูรณ์ สิ้นบุญจากชาตินั้น จึงได้มาเป็นพระอินทร์ราชาแห่งเทพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาก พระองค์ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นโสดาบัน อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าพระสงฆ์สาวก ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระองค์จะร้อนเป็นสิ่งบอกเหตุว่า มีผู้เดือดร้อนที่พระองค์ต้องไปช่วยเหลือ พระอินทร์ปกครองแก้ไขปัญหาให้กับพวกเทวดาที่ได้รับความเดือนร้อน เป็นเทพที่มีจิตอาสาทำคุณงามความดี และเป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา</p> <p> บทบาทพระอินทร์ในอรรถกถาธรรมบททั้ง ๘ ภาค ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยพบบทบาทพระอินทร์ ๖ บทบาท คือ ๑)บทบาทในฐานะผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ๒)บทบาทในฐานะผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือผู้ประพฤติธรรมบำเพ็ญบุญ ๓)บทบาทในฐานะผู้มีจิตอาสา ๔)บทบาทในฐานะผู้ใฝ่ธรรม ๕)บทบาทในฐานะผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ ๖)บทบาทผู้ในฐานะปกป้องพระพุทธศาสนา </p> <p> จากบทบาทเหล่านี้ของพระอินทร์ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์เห็นว่า พระอินทร์มุ่งทำคุณงามความดี ด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ทำคุณประโยชน์ รวมจากทุกบทบาทแล้ว พระอินทร์ทำประโยชน์ ๒ อย่าง คือ ๑.ประโยชน์ส่วนรวม ๒.ประโยชน์ส่วนตัว ด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ นี้ พระอินทร์จึงเป็นเทพที่มีอิทธิพลมาทุกสุด ในฐานะเป็นเทพที่มีผู้เอาแบบอย่าง</p>
2024-09-06T13:55:30+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1346
คดีสมัยพุทธกาล กรณีนางจิญจมาณวิกา หมิ่นประมาทพระพุทธเจ้า
2024-09-09T14:51:17+00:00
ณรงค์ เชื้อบัวเย็น
Narong.law2524@gmail.com
<p class="p1"> </p> <p class="p1">This article aims to: 1) explore the historical account of <span class="s1">Ciñcā Māṇavikā,</span> 2) study the principles of defamation law, and 3) analyze the offenses of defamation in civil and criminal law, along with the penalties involved. The findings reveal that: 1) <span class="s1">Ciñcā Māṇavikā</span> falsely accused and slandered the Buddha, causing harm to a revered figure in society. Such actions are considered both a social offense and a violation under the law of karma. 2) Defamation laws are categorized into two types: libel (written defamation) and slander (spoken defamation). If someone is falsely accused, the victim may sue for financial damages, and in some cases, criminal penalties such as fines or imprisonment may apply. Modern legal systems require the accuser to prove the falsity of the allegations and the resulting harm, balancing the importance of human rights and freedom of expression. Current penalties emphasize justice and the protection of all partiesí rights within the legal process. 3) The legal consequences for defamation cases, such as that of <span class="s2">Ciñcā Māṇavikā</span>, differ significantly in the modern era, as legal systems have evolved to prioritize human rights and justice. Such cases are now considered under defamation laws designed to protect individualsí reputations while respecting freedom of speech.</p>
2024-09-06T14:07:54+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1368
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
2024-09-06T15:25:28+00:00
ณัทพงศ์ บุญตัน
aun.nattapong2557@gmail.com
<p class="p1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ๒) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และ ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการวางแผนการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 ระดับประสิทธิภาพการบริการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 หมายความว่า หลักสัปปุริสธรรมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการ และมีค่าสัมประสิทธิ์<br> สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.802 โดยแสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก</p>
2024-09-06T15:25:28+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1471
การส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ตามหลักสัปปุริสธรรม : กรณีศึกษาชุมชนลำไยแปลงใหญ่ ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
2024-09-06T16:25:27+00:00
วันทนีย์ ใจแก้ว
wantanee9407@gmail.com
นพดณ ปัญญาวีรทัต
wantanee9407@gmail.com
อภิรมย์ สีดาคำ
wantanee9407@gmail.com
<p class="p1"><span class="s1"> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการชุมชนต้นแบบของชุมชนลำไยแปลงใหญ่ ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรในชุมชนตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามหลักสัปปุริสธรรม การวิจัยนี้ใช้วิธีการผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 ท่าน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 363 คน</span></p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการชุมชนตามหลักสัปปุริสธรรมในชุมชนลำไยแปลงใหญ่ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากสูงสุด ได้แก่ การรู้ชุมชน (ปริสัญญุตา) การรู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา) การรู้ตน (อัตตัญญุตา) การรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) การรู้จักผล (อัตถัญญุตา) การรู้กาลเวลา (กาลัญญุตา) และการรู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) 2) การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสัปปุริสธรรมส่งผลต่อการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนลำไยแปลงใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการส่งเสริมการจัดการชุมชนต้นแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ได้แก่ การประชุมวางแผนชุมชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม การประเมินเหตุการณ์ในอนาคตและเตรียมรับมือ การวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเทคนิค และการฝึกอบรมเกษตรกรในเทคนิคใหม่ ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ</p>
2024-09-06T16:25:27+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1356
สภาพปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
2024-09-07T12:30:32+00:00
สมยศ ปัญญามาก
somyot_pan@hotmail.co.th
พระเมธีวชิรคุณ .
somyot_pan@hotmail.co.th
พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร
somyot_pan@hotmail.co.th
พระมหากิตติพงษ์ กิตติญาโณ
somyot_pan@hotmail.co.th
นิยม ยากรณ์
somyot_pan@hotmail.co.th
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ในพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการนำเสนอภาพกิจกรรมผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เกิดจาก 1) การขาดความโปร่งใสและการใช้งบประมาณอย่างไม่เหมาะสม 2) การใช้ตำแหน่งหรืออำนาจของตนเพื่อเอื้อต่อการทำผิดกฎหมาย 3) ขาดความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบทางคุณธรรมและจริยธรรม 4) การใช้ช่องว่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ช่องว่างเหล่านี้สร้างโอกาสให้เกิดการกระทำผิดได้ 5) การใช้อำนาจ บารมี และอิทธิพลในท้องถิ่นซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม</p>
2024-09-07T12:30:31+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1494
ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประชาชนตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
2024-09-09T10:53:56+00:00
ธนาวุฒิ พุทธธรรม
suriywutpt@gmail.com
สหัทยา วิเศษ
suriywutpt@gmail.com
สมยศ ปัญญามาก
suriywutpt@gmail.com
<p class="p1">การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในการลดความเหลื่อมล้ำตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดระบบสวัสดิการของภาครัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง<span class="Apple-converted-space"> </span>382 คน และใช้แบบสัมภาษณ์ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ<span class="Apple-converted-space"> </span>9 คน</p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านรายจ่าย ด้านการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสวัสดิการสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อปีที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา สามารถนำมาเป็นแนวทางการจัดระบบสวัสดิการของภาครัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1497
การพัฒนากิจกรรมจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
2024-09-25T14:41:47+00:00
พระภาณณริณทร์ ภูริญาโณ (ธรรมปันโย)
pay-rbac@hotmail.com
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์
pay-rbac@hotmail.com
สหัทยา วิเศษ
pay-rbac@hotmail.com
<p class="p1"><span class="s1">การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการขยะของชุมชน และ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำและกลุ่มชุมชนจำนวน 15 คน 2) กลุ่มภาครัฐ เอกชน พระภิกษุ ผู้ประกอบธุรกิจ และเยาวชน จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</span></p> <p class="p1">ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการขยะของชุมชน เป็นการจัดการขยะที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามบริบทของชุมชน ในอดีตการจัดการขยะของชุมชนมีการจัดการขยะตามวิถีชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันเทศบาลตำบลลวงเหนือได้ส่งเสริมการจัดการขยะในระดับครัวเรือน โดยให้มีการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายที่เป็นมลพิษ 2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก กระเป๋าจากซองกาแฟ และกิจกรรมทำสบู่จากกากกาแฟ ขั้นตอนที่ 4 สรุปและประเมินผลจากกิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 การขยายผลการจัดกิจกรรม</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1499
บทเรียนสำเร็จรูป ชุดวันสำคัญทางศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขียนเขต
2024-09-25T15:32:36+00:00
สุริสา เรืองบุตร
surisa_ruengbut00@gmail.com
<p class="p1"><span class="s1">การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์</span><span class="s2"> 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียน ชั้น</span>ประถมศึกษาปีที่ 3 <span class="s3">โรงเรียนวัดเขียนเขต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80</span> 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป<span class="Apple-converted-space"> </span>ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3<span class="Apple-converted-space"> </span><span class="s3">โรงเรียนวัดเขียน</span><span class="s1">เขต </span><span class="s2">3)<span class="Apple-converted-space"> </span>เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 </span><span class="s1">โรงเรียนวัดเขียนเขต กลุ่มเป้าหมาย<span class="Apple-converted-space"> </span>ได้แก่<span class="Apple-converted-space"> </span>นักเรียน</span><span class="s2">ชั้นประถมศึกษาปีที่ </span><span class="s1">3 </span><span class="s4">โรงเรียนวัดเขียนเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2</span><span class="s2"> ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566จำนวน<span class="Apple-converted-space"> </span>38 คน</span></p> <p class="p2"><span class="s5">ผลการรายงานพบว่า </span>1) ผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา <span class="s6">กลุ่มสาระ</span><span class="s7">การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม</span><span class="s2"> สำหรับนักเรียน</span>ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขียนเขต พบว่า มีประสิทธิภาพ <span class="s6">() มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 85.57/85.77 </span>2)<span class="Apple-converted-space"> </span>ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน<span class="s6">ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขียนเขต </span>พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3)<span class="Apple-converted-space"> </span>ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป<span class="Apple-converted-space"> </span>ชุด วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา <span class="s6">กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม </span>สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขียนเขต พบว่า<span class="Apple-converted-space"> </span><span class="s6">โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด </span><span class="s5">(= 4.74,</span> <span class="s5">= 0.60)</span></p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1344
การจัดการความรู้ในองค์กรตามหลักพุทธรรม
2024-09-06T16:34:40+00:00
อ้อมตะวัน สารพันธ์
aomtawansaraphan@gmail.com
พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ
sathid.pho@mcu.ac.th
ศรีสกุล ชัยเวียง
aomtawansaraphan@gmail.com
<p class="p1">การจัดการความรู้ในองค์กรตามหลักพุทธรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการความรู้ ด้วยìความรู้ î คือ ข้อเท็จจริง ข้อมูล และทักษะ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า ประสบการณ์<span class="Apple-converted-space"> </span>รวมไปถึงถ่ายทอด โดยการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณ และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถจัดเก็บให้เป็นระบบพร้อมที่จะนำมาใช้งานเพื่อพัฒนาองค์การได้ตลอดเวลาผ่านการผสมผสานการทำงานระหว่างองค์ประกอบ คือ คน (Man) กระบวนการจัดการความรู้ (Process) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมุ่งที่ความสามารถของคนในองค์การ มีความคล่องตัวตามสภาวการณ์ การวิจัยใหม่ เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ แล้วนำผลการวิจัยนั้นไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือที่ดี เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การ ผ่านกระบวนการในการจัดการความรู้ มี 5 ขั้น คือ การได้มาซึ่งความรู้ การจัดเก็บความรู้ จัดระบบข้อมูล การแบ่งปันความรู้ และการใช้ความรู้ โดยใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา</p>
2024-09-06T16:30:39+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1369
การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการทำงานของพระสงฆ์ในสังคมไทย
2024-09-06T16:51:22+00:00
ทินกร จูเรือน
tinnakorn_msw22@hotmai.com
ปุระวิชญ์ วันตา
tinnakorn_msw22@hotmail.com
สังวร สมบัติใหม่
tinnakorn_msw22@hotmail.com
สมโภชน์ โว้วงษ์
tinnakorn_msw22@hotmail.com
ชนกันต์ ปัญญาวัธนสกุล
tinnakorn_msw22@hotmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของพระสงฆ์ผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในสังคมในฐานะบทบาทผู้นำทางจิตใจหรือจิตวิญญาณ ผู้ที่คอยแนะแนวทางการดำเนินชีวิตอันดีงาม ผู้บำเพ็ญประโยชน์สงเคราะห์แก่สังคม และเป็นการปฏิบัติไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ซึ่งกำหนดให้พระสงฆ์สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน สังคม การส่งเสริมช่วยเหลือเกื้อกูลที่เป็นประโยชน์แก่สังคมเรื่อยมา โดยการนำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ให้เข้าใจความเป็นจริงของสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของสังคมไทยก็เริ่มเบี่ยงเบนไป สาเหตุเหล่านี้เป็นแรงจูงใจให้พระสงฆ์ศึกษาหาความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ เพื่อช่วยให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับบริบททางสังคมที่ก้าวหน้าได้ และได้มีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ บูรณาการหลักธรรมะในการพัฒนา 4 ด้าน คือ กายภาวนา<span class="Apple-converted-space"> </span>สีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา ให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป</p>
2024-09-06T16:51:22+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1358
การปรับตัวของบุคลากรทางการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม ในสังคมร่วมสมัย
2024-09-06T17:04:02+00:00
พระทรงพล คุณพโล (ทิพย์คำ)
thinnakorn.ju@mcu.ac.th
พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ
srisakun.chai@mcu.ac.th
เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์
srisakun.chai@mcu.ac.th
อำนาจ ขัดวิชัย
srisakun.chai@mcu.ac.th
ทินกร จูเรือน
srisakun.chai@mcu.ac.th
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมเชิงพหุวัฒนธรรมในปัจจุบันที่มีกระแสเกี่ยวกับการเปิดกว้างมากขึ้นทางความคิด การแสดงออก ที่นำไปสู่การลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีปรากฎในระบบการศึกษาของสังคมไทย จึงส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษาต้องปรับความคิด ภาครัฐได้ออกกรอบนโยบายที่รองรับกับสังคมเชิงพหุวัฒนธรรมอย่างเหมาะสมไม่ให้ล้าสมัย และไม่สามารถหลีกพ้นการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ดังนั้น กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่สามารถวางนโยบายที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการยอมรับในวงกว้างของประเด็นทางพหุวัฒนธรรมในระบบการศึกษาของสังคมไทย ร่วมกับการสนับสนุนการจัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องพหุวัฒนธรรมแก่บุคลากรทางการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งสามารถทำให้การวางนโยบายทางด้านความต่างทางวัฒนธรรมได้ประสบความสำเร็จอย่างตรงประเด็น ท้ายที่สุดนำไปสู่การลดลงของปัญหาในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่แฝงอยู่ในการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมของสังคมร่วมสมัย</p>
2024-09-06T17:04:02+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1337
การพัฒนาแนวทางการบริหารการศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่าง ฉับพลัน ด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2024-09-06T17:11:37+00:00
พระสุพรรณวชิราภรณ์ .
prapai.non@mcu.ac.th
วรวิทย์ นิเทศศิลป์
woravit.n99@gmail.com
พระปลัดสมพร กิตฺติโสภโณ
somphon.pho@mcu.ac.th
พงศ์ศธร พิมพะนิตย์
prapai.non@mcu.ac.th
พระมหาสิริ์ยส สิริยโส
wisdomsiyot@gmail.com
<p>ในยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruption) ที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้ระบบการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการบริหารที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การศึกษานี้มุ่งเน้นการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการบริหารการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยการศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสำรวจแนวคิดและหลักการของพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน</p> <p>การศึกษาพบว่า หลักพุทธธรรมที่สำคัญ เช่น อริยสัจ 4 และไตรลักษณ์ สามารถนำมาใช้ในการสร้างกรอบแนวคิดในการบริหารการศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และการคิดเชิงวิพากษ์ให้กับผู้เรียน การนำหลักอริยสัจ 4 มาใช้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาได้อย่างลึกซึ้ง ส่วนหลักไตรลักษณ์ช่วยให้เกิดการปรับตัวและการเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลง</p> <p>นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การนำหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมาใช้ในการบริหารจัดการการเรียนการสอน สามารถช่วยเสริมสร้างสติและสมาธิในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง</p> <p>สรุปได้ว่า การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการบริหารการศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ไม่เพียงแต่ช่วยให้ระบบการศึกษาสามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว</p>
2024-09-06T17:10:50+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1377
การสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาล้านนาสู่เวทีโลก : กลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรัฐประศาสนศาสตร์
2024-09-06T17:22:33+00:00
นพดณ ปัญญาวีรทัต
nopphadon.pan@mcu.ac.th
ประเสริฐ ปอนถิ่น
nopphadon.pan@mcu.ac.th
อภิรมย์ สีดาคำ
nopphadon.pan@mcu.ac.th
เดชา ตาละนึก
nopphadon.pan@mcu.ac.th
เทพประวิณ จันทร์แรง
nopphadon.pan@mcu.ac.th
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรัฐประศาสนศาสตร์ในการสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาล้านนาสู่เวทีโลก โดยจะทำการสำรวจลักษณะ ประเภท และโอกาสในการต่อยอดภูมิปัญญาล้านนา พร้อมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการจัดการความรู้เชิงรัฐประศาสนศาสตร์และบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา</p> <p class="p1">บทความจะนำเสนอแนวทางการจัดการความรู้ที่ครอบคลุมตั้งแต่การรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาล้านนา รวมถึงการพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาให้สอดคล้องกับยุคสมัยและสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ยังจะกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการส่งเสริมภูมิปัญญาล้านนา</p> <p class="p1">บทความจะสรุปด้วยการนำเสนอบทเรียนที่ได้จากการศึกษาและวิจัย พร้อมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการสืบสานภูมิปัญญาล้านนาในอนาคต โดยจะยกตัวอย่างโครงการหรือกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จในการสืบสานภูมิปัญญาล้านนาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ</p>
2024-09-06T17:22:33+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1348
เกมแห่งกรรมและการชดใช้: บทสะท้อนอภิปรัชญาและพุทธจริยศาสตร์จากซีรีส์เกมท้าตาย
2024-09-06T17:27:30+00:00
พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส วงศ์ษา
resurrection2566@gmail.com
พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ วงค์ใส
wisitwongsai934@gmail.com
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) วิเคราะห์แนวคิดทางอภิปรัชญาเรื่องกรรมและการชดใช้จากซีรีส์เรื่อง เกมท้าตาย 2) วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ ในแง่ของการกระทำ ผลกรรม และการรับผิดชอบต่อการกระทำ 3) วิเคราะห์แง่คิดที่ซีรีส์นำเสนอเกี่ยวกับกรรมและการชดใช้</p> <p class="p1">ผลการศึกษาพบว่าซีรีส์เรื่อง ìเกมส์ท้าตายî ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับกรรมและการชดใช้ผ่านตัวละคร เหตุการณ์ และบทสรุปของเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจตนา การกระทำ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ ผ่านการนำเสนอบททดสอบอันโหดร้ายที่ตัวละครต้องเผชิญ สอดคล้องกับทัศนะเรื่องกรรมหลักอนัตตาและไตรลักษณ์ในพุทธปรัชญา สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการกระทำของตัวละครกับผลลัพธ์ที่ตามมา ขยายความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องกรรมและการชดใช้ในบริบทของสื่อบันเทิงสมัยใหม่ กระตุ้นให้เกิดการศึกษาพุทธศาสนา และเป็นสื่อกลางที่นำเสนอแนวคิดทางปรัชญาที่ซับซ้อนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นทางจริยศาสตร์และบทบาทของสื่อในการส่งเสริมคุณธรรมและสร้างสรรค์สังคม</p>
2024-09-06T17:27:30+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1383
ความเท่าเทียมทางเพศในยุค AI
2024-09-06T17:37:12+00:00
อภิชญา ฤาชัย
thipprajongmali@gmail.com
มะลิ ทิพพ์ประจง
thipprajongmali@gmail.com
กิตติพงษ์ โคตรจันทึก
thipprajongmali@gmail.com
<p class="p1">ความเท่าเทียมทางเพศจะถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในแต่ละช่วงยุคสมัย จะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศก็จะมุ่งสร้างความเท่าเทียมทั้งด้านโครงสร้างการบริหารจัดการพัฒนาประเทศ การให้ประชาชนทุกเชื้อชาติศาสนาไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมให้กับประเทศได้ในทุกมิติของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองการแสดงถึงสิทธิ์หน้าที่ของพลเมืองของแต่ละประเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน บางประเทศก็มีการออกกฏหมายมารับรองแต่ก็มีบางประเทศที่ยังไม่ได้ประกาศในกฏหมายก็ยังมีอยู่</p>
2024-09-06T17:37:12+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1357
ฆราวาสธรรม 4 กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
2024-09-06T17:46:02+00:00
กิตติ์ ขวัญนาค
hoho_wat@HOTMAIL.COM
อำนาจ ขัตวิชัย
Kittkhwannak@gmail.com
จักรินทร์ ฮุงอวน
Kittkhwannak@gmail.com
ณัฐพรหมเสน ลึกสิงห์แก้ว
Kittkhwannak@gmail.com
อุเทน ลาพิงค์
Kittkhwannak@gmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการนี้ต้องการนำเสนอ ประเด็นหลักธรรมฆราวาสธรรม 4 การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวปัจจุบันนั้น ซึ่งหลักธรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนำไปใช้แก้ปัญหานี้ และเป็นธรรมะสำหรับฆราวาสหรือคฤหัสถ์ผู้ที่อยู่ครองเรือนสำหรับธรรมะที่จะนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ 1. สัจจะความซื่อสัตย์ต่อกัน 2. ทมะ การข่มจิตใจตัวเอง3. ขันติ ความอดทน4. จาคะ การเสียสละเพื่อครอบครัวเพื่อสังคมจึงจะทำให้สังคมนั้นอยู่กันอย่างมีความสุข ข้อเสนอแนะในการนำบทความวิชาการไปใช้ประโยชน์มหาวิทยาลัยควรนำองค์ความรู้ดังกล่าวพัฒนาลงในหลักสูตรการเรียนการสอน และนำไปพัฒนาศึกษาวิจัยผลในระดับชุมชนหรือกรณีศึกษาเพื่อหาผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป</p>
2024-09-06T17:46:02+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1382
ดาบล้านนา : ภูมิปัญญาด้านศาสตร์และศิลป์
2024-09-06T17:55:30+00:00
พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์ (โสภาราช)
krisadadgooth76@gmail.com
พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร (ทาอินทร์)
Krisadadgooth76@gmail.com
พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช (สุระโพธา)
krisadadgooth76@gmail.com
พระอำนาจ ถิรวิริโย (ขันตา)
Krisadadgooth76@gmail.com
กฤษฎายุทธ เต๋จ๊ะดี
Krisadadgooth76@gmail.com
<p class="p1">ภูมิปัญญาล้านนาเป็นศาสตร์หนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตและคุณค่าของความเป็นล้านนา อันเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดเองโดยธรรมชาติ สัมผัสผ่านทางตาเห็นรูป เกิดเป็นความรู้สึกว่าชอบ ยินดี เพลิดเพลิน อิ่มใจ ในวัตถุสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ภูมิปัญญาล้านนาจึงเป็นแขนงที่ศึกษาแสวงหาความรู้และวิเคราะห์เกี่ยวกับภูมิปัญญาคืออะไร ใช้ทฤษฎีตัดสินคุณค่าของภูมิปัญญาอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลเพื่อวิเคราะห์มิติภูมิปัญญาในดาบล้านนา มุมมองในศาสตร์ที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์รู้สึกที่น่าพึงพอใจ ความรู้สึกชอบ มีเสน่ห์ ลุ่มหลงในมนต์ที่มีอัตลักษณ์ที่ปรากฏในดาบล้านนา ซึ่งดาบล้านนาสามารถพบได้ในจังหวัดภาคเหนือของไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ต่อมาภายหลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงกลายเป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยตอนบน มีมรดกตกทอดและอัตลักษณ์นั่นคือ ดาบล้านนา ประกอบด้วย 2 มิติ คือ ìรูปธรรมî ความงามในองค์ประกอบของดาบล้านนามีรูปร่าง รูปทรง สัดส่วนสมบูรณ์ ที่สามารถจับต้องได้ และ ìนามธรรมî เป็นความงาม ความเชื่อ เชิงจิตวิญญาณที่ไม่สามารถจับต้องได้ ต้องใช้ความรู้สึกทางอารมณ์ในการเข้าถึงคุณค่าในดาบล้านนาโดยอาศัยจิตวิญญานของคนล้านนาสมัยโบราณสะท้อนออกให้เกิดทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ให้มิติของความงามทั้งวัตถุและความรู้สึก</p>
2024-09-06T17:55:30+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1376
นวัตกรรมขับเคลื่อนพัฒนาสังคม: บทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
2024-09-07T06:06:24+00:00
ประเสริฐ ปอนถิ่น
nopphadon.pan@mcu.ac.th
นพดณ ปัญญาวีรทัต
nopphadon.pan@mcu.ac.th
อภิรมย์ สีดาคำ
nopphadon.pan@mcu.ac.th
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์
nopphadon.pan@mcu.ac.th
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของนวัตกรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบทความจะอธิบายถึงนิยามและประเภทของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม รวมถึงยกตัวอย่างนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังจะอธิบายถึงหลักการและมิติต่างๆ ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่ออนาคต และบทบาทของ อปท. ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกฎหมาย อำนาจ หน้าที่ และบทบาทที่กำหนดไว้</p> <p class="p1">บทความจะนำเสนอแนวทางและกลยุทธ์ที่ อปท. สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรม รวมถึงศึกษาค้นคว้ากรณีศึกษาของ อปท. ที่ประสบความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาพัฒนาสังคม เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ อปท. อื่นๆ ในการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง</p>
2024-09-07T05:52:13+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1381
ผลกระทบของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นต่อความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมในประเทศไทย
2024-09-07T06:59:42+00:00
พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช (สุระโพธา)
Krisadadgooth76@gmail.com
พระมหาจตุรงค์ จตุวโร (ร้อยกา)
Krisadadgooth76@gmail.com
ทรงวุฒิ รัตนะ
Krisadadgooth76@gmail.com
กฤษฎายุทธ เต๋จ๊ะดี
Krisadadgooth76@gmail.com
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระจายอำนาจไปสู่ระดับท้องถิ่นในประเทศไทย โดยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่อำนาจและการตัดสินใจส่วนใหญ่ได้ถูกนำไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น บทความนี้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว การศึกษานี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและความคิดเห็นของประชากรต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระจายอำนาจท้องถิ่น</p> <p class="p1">ผลการศึกษาพบว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมีผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศไทย ดังนี้ 1) ด้านบวก การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ โดยเฉพาะในชนบท ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และสาธารณูปโภค ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ และ 2) ด้านลบ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างท้องถิ่น อาจนำไปสู่ปัญหาการทุจริต อาจสร้างภาระงานและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้กับท้องถิ่น</p> <p class="p1">ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา พบว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมีผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศไทยทั้งด้านบวกและด้านลบ<span class="Apple-converted-space"> </span>ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายและกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ<span class="Apple-converted-space"> </span>กลยุทธ์สำคัญๆ ได้แก่ พัฒนาระบบการเงินท้องถิ่นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างท้องถิ่น ส่งเสริมธรรมาภิบาลและการตรวจสอบการใช้อำนาจของท้องถิ่น สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-09-07T06:59:42+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1340
ภาวะผู้นำพุทธบูรณาการ : การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
2024-09-07T07:23:33+00:00
พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ .
rinriwrif@hotmail.com
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์
rinriwrif@hotmail.com
ประเสริฐ บุปผาสุข
rinriwrif@hotmail.com
นพดณ ปัญญาวีรทัต
rinriwrif@hotmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการเรื่อง ìภาวะผู้นำพุทธบูรณาการกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนî มีวัตถุประสงค์ในการเขียน คือ การนำหลักพุทธธรรมในทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทั่วไป ชี้ให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดความสมดุล เนื่องจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องคุณธรรม ความดีงาม และความสุข เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกัน ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่าสังคมเป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันและเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด นอกจากนั้นการพัฒนาสังคมที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้บุคคลได้ยึดหลักแนวคิดการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตน เพื่อให้ได้มีทัศนะที่ดี มีเหตุมีผล รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดการยับยั้งชั่งใจ รู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในสังคมสืบไป</p>
2024-09-07T07:23:33+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1339
พระแผงไม้เมืองเชียงใหม่: รูปแบบ จารึก และคติความเชื่อ
2024-09-07T09:02:13+00:00
ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตร
sak_api18@hotmail.com
พูนชัย ปินธิยะ
sak_api@hotmail.com
ศิววงศ์ รักษ์วงศ์วริต
sak_api@hotmail.com
เกรียงไกร เมืองมูล
sak_api@hotmail.com
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ จารึก และคติความเชื่อของพระแผงไม้ที่พบในเมืองเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบพระแผงไม้ที่พบจำนวน 43 แผง จำแนกได้ 6 รูปแบบ ได้แก่ ซุ้มทรงกรอบซุ้ม ซุ้มทรงปราสาท ซุ้มทรงเรือนแก้ว ซุ้มทรงวิมาน ซุ้มทรงบรรพ์แถลง และซุ้มทรงเบ็ดเตล็ด ในส่วนของเทคนิคการประดับตกแต่งพบทั้งการเขียนลายคำ ลายรดน้ำ การปิดทองลายฉลุ การปั้นรักสมุกประดับกระจกจืน ทาชาด และปิดทองทึบหรือทาสีทองทึบ ทั้งนี้จำนวนพระพิมพ์มีตั้งแต่ 1-104 องค์ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปมารวิชัยในซุ้ม 2) จารึกบนพระแผงไม้พบจำนวน 13 แผง จาก 43 แผง โดยจารึกที่เก่าที่สุด คือ พ.ศ. 2334 ใหม่ที่สุด คือ พ.ศ. 2564 นอกจากในจารึกจะระบุปี พ.ศ. ที่สร้างแล้ว ยังระบุรายชื่อบุคคลที่สร้าง ชื่อวัดที่ผู้สร้างได้ถวายพระแผงไม้ไว้ และคำปรารถนาของผู้สร้าง 3) คติความเชื่อที่ปรากฏในงานพระแผงไม้สะท้อนเรื่องพระพุทธเจ้า โดยจำนวนพระพิมพ์บนพระแผงไม้ยังมีนัยสัมพันธ์กับคติการสร้างพระคู่อายุเพื่อการสืบชะตา นอกจากนี้ยังพบคติความเชื่อเรื่องการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา 5,000 ปี การบูชาพระพุทธศาสนาของคนและเทวดา พระศรีอาริยเมตไตรย นิพพาน และการอุทิศบุญกุศลที่สร้างให้กับบรรพชน</p>
2024-09-07T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1384
พุทธวรรณกรรมล้านนา
2024-09-07T09:50:44+00:00
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ .
thepprawin.chan@mcu.ac.th
พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์ .
thepprawin.chan@mcu.ac.th
เทพประวิณ จันทร์แรง
thepprawin.chan@mcu.ac.th
อภิรมย์ สีดาคำ
thepprawin.chan@mcu.ac.th
พัลลภ หารุคำจา
thepprawin.chan@mcu.ac.th
วิโรจน์ วิชัย
thepprawin.chan@mcu.ac.th
<p class="p1">พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองควบคู่กับอาณาจักรล้านนามาตลอด เมื่อพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นผู้ปกครองส่งเสริมทะนุบำรุง พระพุทธศาสนาก็มีความเจริญอย่างมาก การบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา และการอธิบายหลักธรรมคำสอนนั้น ล้วนเป็นผลที่สืบเนื่องประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาที่มีการส่งเสริมการศึกษาอย่างจริงจังดังในยุคทองของล้านนา จนสามารถรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีขึ้นเป็นจำนวนมาก มรดกทางวรรณกรรมล้านนาเป็นองค์ความรู้ผลงานทางวรรณกรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของดินแดนล้านนา มีหลากหลายประเภทและสะท้อนถึงความเชื่อ ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวล้านนา มรดกทางวรรณกรรมล้านนามีความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสังคมของชาวล้านนา</p>
2024-09-07T09:50:44+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1343
พุทธวิธีการบริหารจัดการศึกษาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
2024-09-07T10:48:20+00:00
พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ
sathid.pho@mcu.ac.th
อ้อมตะวัน สารพันธ์
sathid.pho@mcu.ac.th
วสันต์ ปานสังข์
sathid.pho@mcu.ac.th
<p class="p1">การบริหารจัดการศึกษาตามพุทธวิธี มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ ด้วยหลักการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาทั้งระบบการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น (Getting things done through other people) การบริหารตน การบริหารคน บริหารงาน ตามหลักธรรมธรรมที่มีอุปการะมาก (สติ สัมปชัญญะ) ธรรมที่คุ้มครองโลก (หิริ โอตตัปปะ) อิริยสัจ 4 ศีล 5 กัลยาณมิตร 7 หลักอธิบาทธรรม และสัปปุริสธรรม 7 หากยึดมั่นในหลักพุทธธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว ในการบริหารและการจัดการศึกษา และตามทฤษฎีทางการบริหารแนวคิด คติฐาน และข้อยุุติโดยทั่วไป ประกอบด้วยมโนทัศน์ คติฐานเบื้องต้น และหน้าที่หลักของทฤษฎี ทฤษฎีเป็นเครื่องช่วยให้ค้นคว้าการเรียนรู้ หากตั้งมั่นในการปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่องก็จะส่งเสริมให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน</p>
2024-09-07T10:41:17+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1373
ภูมิปัญญาการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมล้านนาสู่การส่งอิทธิพลและความสัมพันธ์ในพหุวัฒนธรรม
2024-09-07T11:42:48+00:00
สุชัย สิริรวีกูล
suchai6630@gmail.com
กตัญญู เรือนตุ่น
suchai9700@gmail.com
จีรศักดิ์ ปันลำ
suchai9700@gmail.com
พันตำรวจโท ชาญวิสุทธิ์ ต้นมณี
suchai9700@gmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการสร้างงานพุทธศิลปกรรมล้านนา 2) วิเคราะห์หลักการและการนำงานพุทธศิลปกรรมล้านนาไปใช้ทางพหุวัฒนธรรมทั้งในอดีตและในบริบททางวัฒนธรรมร่วมสมัย</p> <p class="p1">ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิปัญญาการสร้างงานพุทธศิลปกรรมล้านนาพัฒนาขึ้นจากการรับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาและพุทธศิลปกรรมจากแหล่งอารยธรรมที่สำคัญและพัฒนาขึ้นด้วยปัจจัยที่ส่งเสริมและพัฒนาขึ้นสู่ยุครุ่งเรืองที่สุด 2) คุณค่าทางภูมิปัญญาที่ปรากฏในงานพุทธศิลปกรรมล้านนาสะท้อนหลักการที่สำคัญทางพระพุทธศาสนารวมทั้ง มีพัฒนาการทั้งในด้านวิธีวิทยาในการสร้างสรรค์ส่งผลให้เกิดงานพุทธศิลปกรรมที่มีคุณค่าและถูกนำไปใช้และส่งอิทธิพลในสังคมแบบพหุวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตและในบริบททางวัฒนธรรมร่วมสมัย</p>
2024-09-07T11:42:24+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1352
มรดกทางสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวง: เอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
2024-09-07T12:10:31+00:00
อำนาจ ขัดวิชัย
kingkongamnat168@gmail.com
ปฏิเวธ เสาว์คง
kingkong_emmi@hotmail.com
รุ่งทิพย์ กล้าหาญ
kingkong_emmi@hotmail.com
กิตติ์ ขวัญนาค
kingkong_emmi@hotmail.com
จันทรัสม์ ตาปูลิง
kingkong_emmi@hotmail.com
<p class="p1">บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษา ìมรดกทางสถาปัตยกรรมวิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวงî ที่สะท้อนเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างล้านนา วิหารล้านนาในวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของพุทธสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความงดงามและความศรัทธาเข้าไว้ด้วยกัน ตัววิหารถูกออกแบบให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการบำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์ ด้วยการใช้แสงธรรมชาติและการจัดวางพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังสะท้อนสุนทรียภาพทางทัศนศิลป์และสัปปายะสถาน ซึ่งเป็นจุดเด่นของสถาปัตยกรรมล้านนา</p> <p class="p1">บทความยังอธิบายถึงความสำคัญของวิหารล้านนาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของวัด ซึ่งได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่องตลอดประวัติศาสตร์ ทำให้วิหารนี้ยังคงมีความสมบูรณ์ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการคิดและการสร้างสรรค์ของช่างล้านนาในแต่ละยุคสมัย ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการออกแบบและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในปัจจุบัน</p>
2024-09-07T12:09:04+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1354
หลักสูตรการศึกษาที่นำไปสู่กระบวนการสร้างพลโลกผ่านวิถีชุมชน
2024-09-07T13:46:20+00:00
ไพศาล ศรีวิชัย
srisakun.chai@mcu.ac.th
ศรีสกุล ชัยเวียง
srisakun.chai@mcu.ac.th
พลสรรค์ สิริเดชนนท์
srisakun.chai@mcu.ac.th
สุชาวดี สุพรรณสาร
srisakun.chai@mcu.ac.th
อาเดช อุปนันท์
srisakun.chai@mcu.ac.th
<p class="p1"><span class="s1">ผวนทางด้านสังคมและมีอิทธิพลตามบริบทที่เปลี่ยนไปของพลวัตสังคมโลก ส่งผลทำให้ระบบการศึกษาจึงถูกกำหนดกระบวนการสร้างพลเมืองสู่ความเป็นพลโลกโดยจำเป็นต้องอิงตามหลักการแนวนโยบายของภาครัฐผ่านระบบหลักสูตรการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับต่าง ๆ ของการเรียนรู้พลเมืองในสังคม อีกทั้งการสะท้อนจากคุณภาพทางการศึกษาของพลเมืองในสังคมที่ได้รับการเรียนรู้จากระบบการศึกษาที่มีการปรับปรุงมาหลายยุคสมัย แม้ปัจจุบันหลักสูตรทางการศึกษายังมีการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตามกรอบระยะเวลาทางการศึกษา แต่ผลลัพธ์ของพลเมืองที่ตามมากลับไม่ได้แปรผันตามกระบวนการที่ระบบการศึกษากำหนดไว้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การทบทวนกระบวนการสร้างพลเมืองสู่ความเป็นพลโลกอาจต้องมีการปรับปรุงและส่งเสริมซึ่งต้องได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริงและตรงประเด็นที่จะมุ่งแก้ไขในส่วนที่เป็นอุปสรรค โดยสามารถเริ่มจากหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่ใกล้ตัวพลเมืองที่สุดผ่านวิถีชุมชน เพื่อให้พลเมืองตระหนักถึงความเหมาะสมทางสังคมของตนเองที่มีความต่างกันไปในแต่ละชุมชน รวมทั้งไม่สามารถนำกระบวนสร้างพลเมืองจากบริบทสังคมหนึ่งยกมาใช้ได้ทั้งหมดของอีกสังคมหนึ่ง หลักสูตรที่มีการจัดผ่านวิถีชุมชนจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้หลักสูตรทางการศึกษานำไปสู่การเกิดกระบวนการสร้างพลโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป</span></p> <p class="p2"> </p>
2024-09-07T13:46:19+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1387
โครงสร้างภูเขาจักรวาลในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี
2024-09-07T14:13:45+00:00
ปฐมพงศ์ บูชาบุตร
Pathompong.butara@gmail.com
<p class="p1">This academic article aims to study the structure of the cosmic mountain as described in the <span class="s1">Cakkavāḷadīpanī</span> scripture. The findings reveal that the cosmological content of the <span class="s2">Cakkavāḷadīpanī </span>concerning the structure of the universe appears in the first section, which presents the cosmic diagram, and the second section, which details the mountains that form the components of the cosmic structure. These mountains include Mount Sineru, the seven surrounding mountains, Mount Himavanta, and the cosmic mountain.</p> <p class="p1">The <span class="s2"><em>Cakkavāḷadīpanī</em> </span>scripture provides a detailed explanation of the components of the universe, including their locations, standard measurements, proportions of the universe, and the relative sizes of the mountains. All of this content is abstract, and the cosmological concepts serve as the foundation for creating Buddhist artworks. Historically, these cosmological ideas in Buddhism have been materialized in the design of temple layouts and stupas. Thus, this article serves as a model for those interested in Buddhist cosmology, offering a framework for accurately applying these concepts to the creation of Buddhist art in line with Buddhist cosmological principles.</p> <p class="p2"> </p>
2024-09-07T14:11:34+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1487
วิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย
2024-09-09T17:27:33+00:00
พระมหาสงกรานต์ จิรวฑฺฒโน (จันทาพูน)
kanzazag1212@gmail.com
ธนวิชญ์ กิจเดช
kanzazag1212@gmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการเรื่อง ìวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายî มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาของพระธาตุดอยตุง และวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายพบว่า พระธาตุเจดีย์องค์แรก เป็นสถานที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์ที่สอง เป็นสถานที่บรรจุพระอรหันตธาตุ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ดังนั้น พระธาตุดอยตุงจึงเป็นลักษณะเจดีย์คู่มาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๔ ชาวจังหวัดเชียงรายมีการส่งเสริมวิถีประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยตุงขึ้นทุกปี ผ่านการส่งเสริม ๗ กิจกรรมได้แก่ ๑.การเดินจาริกแสวงบุญตามรอยครูบาศรีวิชัย ๒.พิธีตักน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ ๓.พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๔.พิธีทำบุญตักบาตร ๕.พิธีสืบชาตาหลวงล้านนา ๖.พิธีถวายเครื่องสักการะ ๗.พิธีสรงน้ำและห่มผ้าพระธาตุดอยตุง ดังนั้น ถือเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวิถีประเพณีอันสำคัญของจังหวัดเชียงรายให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและคงอยู่คู่กับจังหวัดเชียงรายต่อไป</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1488
สถานภาพสัตตภัณฑ์ เครื่องสักการบูชาล้านนาของชาวไทยวน เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
2024-09-07T17:30:41+00:00
พระธีทัต แจ้ใจ
Ntamoo2013@gmail.com
พระนคร ปัญญาวชิโร
Ntamoo2013@gmail.com
เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร
Ntamoo2013@gmail.com
พระอำนาจ พุทธอาสน์
Ntamoo2013@gmail.com
<p class="p1">บทความนี้ศึกษาบทบาทของ ìสัตตภัณฑ์î ในชุมชนชาวไทยวนเมืองเมียวดี ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องสักการบูชาและสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนา การศึกษาเน้นที่ 1) ลักษณะสัตตภัณฑ์ในพุทธศาสนา 2) รูปแบบสัตตภัณฑ์ในชุมชนชาวไทยวน 3) บริบทการใช้สัตตภัณฑ์ โดยใช้กรอบแนวคิดด้านวัฒนธรรมและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกับการสังเกตและสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สัตตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีรูปแบบสามเหลี่ยม ทำจากไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ด้วยลวดลายดั้งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงตามศิลปกรรมของเมียนมา 2) บริบทการใช้สัตตภัณฑ์ยังคงสถานะเป็นเครื่องสักการบูชาและสัญลักษณ์วัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทยวนในรัฐกะเหรี่ยง 3) การอนุรักษ์สัตตภัณฑ์เน้นการดูแลรักษาตามสภาพการใช้งาน บทความเสนอแนวทางการอนุรักษ์สัตตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยวนผ่านการจัดการผู้ถ่ายทอด ผู้ใช้ และผู้ดูแลรักษา รวมถึงการสร้างพื้นที่เรียนรู้และเครือข่ายผู้อนุรักษ์ เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและอนุรักษ์สัตตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ มั่นคง และยั่งยืน</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1490
บทบาทของครูบาศรีวิชัยกับการส่งเสริมและพัฒนาวัดตามภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมล้านนา
2024-09-09T07:37:47+00:00
พระครูโกวิทอรรถวาที .
kowitatthawatee1@gmail.com
จันทรัสม์ ตาปูลิง
Chantarat_Tapuling@gmail.com
ไพรินทร์ ณ วันนา
phairinNawanna@gmail.com
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ โดยมุ่งเน้นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของครูบาศรีวิชัยในฐานะ ìต๋นบุญî ผู้มีอิทธิพลอย่างยิ่งในภูมิภาคล้านนา ผ่านการผสมผสานแนวคิดตำนานพื้นถิ่นและท้องถิ่นนิยมเข้าไปในการตีความ บทความนำเสนอการเชื่อมโยงครูบาศรีวิชัยกับตำนานเลียบโลก ซึ่งเป็นตำนานพื้นถิ่นที่สะท้อนถึงการเดินทางและการเผยแผ่ธรรมของพระพุทธศาสนาในล้านนา บทบาทของครูบาศรีวิชัยไม่ได้ถูกวิเคราะห์เพียงในมิติศาสนา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรมล้านนาผ่านการเชื่อมโยงกับตำนานและความเชื่อท้องถิ่น เขาไม่เพียงเป็นผู้เผยแผ่ศาสนา แต่ยังเป็นผู้เสริมสร้างและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความเชื่อและตำนานที่ฝังรากลึกในสังคมล้านนา</p> <p class="p1">ในส่วนที่สอง บทความนี้วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดในล้านนาภายใต้การนำของครูบาศรีวิชัย โดยใช้แนวคิดท้องถิ่นนิยมมาประยุกต์ในการสร้างและบูรณะสถาปัตยกรรม เช่น โบสถ์และวิหาร ซึ่งแฝงไปด้วยสัญลักษณ์และรูปแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานและภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาปัตยกรรมไม่ได้เป็นเพียงการก่อสร้างทางกายภาพ แต่เป็นการถ่ายทอดความเชื่อและค่านิยมของชุมชนล้านนาผ่านการสร้างสรรค์ที่มีความหมายทางจิตวิญญาณ</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1372
การท่องเที่ยวภูมิปัญญาศิลปะยุคทองของล้านนา : ร่องรอยและอิทธิพลของพุทธศาสนา
2024-09-09T10:08:54+00:00
ธีระพงษ์ จาตุมา
Ponwon2511@gmail.com
วรวิทย์ นิเทศศิลป์
Ponwon2511@gmail.com
ปฎิเวธ เสาว์คง
Ponwon2511@gmail.com
พลสรรค์ สิริเดชนนท์
ponwon11@gmail.com
สุวิน มักได้
Ponwon2511@gmail.com
<p class="p1">บทความวิชาการ เรื่องการท่องเที่ยวภูมิปัญญาศิลปะยุคทองของล้านนา ร่องรอยและอิทธิพลของพุทธศาสนายุคทองของล้านนา กล่าวถึง คือ รูปแบบทางศิลปกรรมของอาคารมหาวิหาร นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่รับอิทธิพลของพุทธคยาในประเทศอินเดียและขณะที่นักวิชาการบางส่วนสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลศิลปะพุกามจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในส่วนของบริบทแหล่งท่องเที่ยวภูมิปัญญาศิลปะยุคทองของล้านนา ตำแหน่งที่ตั้งของศิลปะสัตตมหาสถานจำลอง 7 แห่ง ณ วัดโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างในดินแดนที่เลื่อมใสพุทธศาสนาซึ่งสะท้อนถึงการผสานศรัทธากับการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง ความเป็นมาและความสำคัญของภูมิปัญญาศิลปะยุคทองของล้านนา<span class="Apple-converted-space"> </span>ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ที่เป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา ศิลปกรรม วรรณกรรม ตลอดจนการเมือง การทหารที่สำคัญที่สุดยุคหนึ่งของเชียงใหม่และล้านนา รวมทั้งร่องรอยและอิทธิพลของพุทธศาสนาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนต่างถิ่นผ่านคติความเชื่อที่มีร่วมกัน</p>
2024-09-09T10:08:53+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1492
สัญลักษณ์เหนือธรรมชาติ : ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ ในนวนิยายเรื่องนาคราช
2024-09-09T10:07:22+00:00
พระครูธรรมธรอังคาร จิราภรณ์กานดา
rachata.kat@mcu.ac.th
พระรชต มาตรสอน
rachata.kat@mcu.ac.th
พระมหาชรันดร์ สาระกูล
rachata.kat@mcu.ac.th
<p class="p1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัญลักษณ์เหนือธรรมชาติ: ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายเรื่องนาคราช ของแก้วเก้า โดยศึกษาผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีคติชนวิทยา ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์: สัญลักษณ์แห่งตำนานบนความเชื่อเหนือธรรมชาติ พบว่าเป็นการถ่ายทอดความเชื่อพิธีกรรมบูชาพญานาคที่เป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองมายด้วยการผูกเรื่องเชื่อมโยงกับความเชื่อ พิธีกรรม เรื่องเล่าที่มีความเหนือธรรมชาติ 2) พญานาค: สัญลักษณ์วัตถุแห่งความศักดิ์สิทธิ์ พบว่าเป็นการนำเสนอความเชื่อเรื่องพญานาคที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองมาย <span class="Apple-converted-space"> </span>โดยมีเรื่องเล่าและตำนานเกี่ยวกับพญานาคที่มีมาตั้งแต่โบราณ 3) พญานาค: สัญลักษณ์ตำนานสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ พบว่านำเสนอความเชื่อเรื่องพญานาคโดยยึดโยงโลกทัศน์เดิมกับความมหัศจรรย์ของพิธีกรรมทางศาสนา<span class="Apple-converted-space"> </span>เป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณในพื้นที่ทางวัฒนธรรม ตามความเชื่อของกลุ่มคนที่ให้ความเคารพกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล 4) ตำนานเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์: การล่มสลายของเมืองมาย พบว่ามีสาเหตุการล่มสลายเนื่องจากเจ้าฟ้าเมืองมายในสมัยก่อนต้องการจะลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค โดยไม่มีการบวงสรวงบูชาพญานาคเช่นในอดีต ท้ายที่สุดแล้วเมืองมายก็ล่มสลายลงตามคำสาปของพญานาค</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1493
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมเมืองเชียงตุง : การศึกษาและสงเคราะห์ประชาชน
2024-09-09T10:28:14+00:00
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ
rinriwrif@hotmail.com
พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ .
rinriwrif@hotmail.com
พระนคร ปรังฤทธิ
rinriwrif@hotmail.com
<p class="p1">บทความนี้ เป็นการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมเมืองเชียงตุง โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาและการสงเคราะห์ประชาชน พระสงฆ์ในเมืองเชียงตุงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทเขินผ่านการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า บทบาทของพระสงฆ์ด้านการศึกษาได้แก่ การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนปริยัติธรรม ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน การปฏิบัติธรรม และการรักษาความรู้ทางศาสนาให้คงอยู่ในชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมภาคฤดูร้อนสำหรับเยาวชน สอนวิปัสสนากรรมฐาน การอ่าน-เขียนภาษาไทเขิน และการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตและการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต นอกจากนั้นพระสงฆ์เมืองเชียงตุง ยังมีบทบาทในด้านการสงเคราะห์ประชาชน โดยการแจกข้าวของและสิ่งของจำเป็นแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อยของผู้คนในชุมชน ตลอดจนสร้างความหวังและกำลังใจให้แก่ผู้ประสบปัญหา บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมเมืองเชียงตุง มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน พระสงฆ์ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่ยังเป็นผู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางด้านการศึกษาและสังคม การประยุกต์ใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##
https://firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1498
ภัยรอบตัวของการศึกษาในยุค New normal
2024-09-25T14:51:34+00:00
มะลิ ทิพพ์ประจง
thipprajongmali@gmail.com
กิตติพงษ์ โคตรจันทึก
thipprajongmali@gmail.com
พระครูปลัดอภินันท์ .
thipprajongmali@gmail.com
พระครูปลัดอภินันท์ โชติธีโร (สุนทรภักดี)
thipprajongmali@gmail.com
พระใบฏีสุชินนะ อณินฺชิโต
thipprajongmali@gmail.com
อภิชญา ฤาชัย
thipprajongmali@gmail.com
<p class="p1">การศึกษาย่อมมีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดหรืออายุเท่าไหร่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้คนต่างต้องการให้บุตรหลานของตนเองนั้นได้รับการศึกษาอย่างดีและมีคุณภาพเพื่อสร้างอนาคตในวันข้างหน้าแต่การศึกษาในยุค New normal ที่เรียกว่ายุคใหม่จะเห็นได้ว่าการศึกษาจะมีความก้าวหน้าอย่างไรแต่ก็มีภัยที่ต้องรับรู้และทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้รู้เท่าทันและหาแนวทางมาแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีหรือว่าไม่อย่างนั้นก็จะตกเป็นเหยื่อซึ่งยุคปัจจุบันจะมีการนำเทคโนโลยีและสื่อต่างๆเข้ามาสร้างการรับรู้ทั้งทางดีและทางไม่ดีถ้าไม่มีก็จะเกิดการเลียนแบบตามสื่อ ทั้งสถานการณ์ของโรงเรียนก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของสังคมจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการกระทำความรุนแรงหรือว่าการกระทำต่อผู้ที่อ่อนแอกว่าตนในโรงเรียนก็ยังไม่ให้เห็นอยู่เรื่อยๆ เช่น การบลูลี่ การด่า การทำร้าย การข่มขู่ ข่มขีน การลักขโมย ยาเสพติด การแบ่งระดับความเป็นพี่น้อง การแย่งแฟนหรือว่าคนที่ตนเองต้องการก็มี ตลอดถึงการเดินทางไปศึกษาก็มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยอยู่เรื่อยๆ</p>
2024-08-17T00:00:00+00:00
##submission.copyrightStatement##